นักศึกษาแพทย์กับการวัดปริมาณรังสี


นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้ ได้รับทราบถึงเครื่องมือในการตรวจวัดปริมาณรังสี ที่อาศัยหลักการของการแตกตัวของอากาศเป็นประจุไฟฟ้า เมื่อได้รับรังสีเอกซ์

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพจากการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ หัวข้อหนึ่งที่ผมได้กล่าวถึง คือ คุณสมบัติของรังสีที่ทำให้อากาศแตกตัวเป็นประจุ จากหลักการนี้เองที่ได้มีการประยุกต์และนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการสร้างมาตรสำรวจหรือตรวจวัดปริมาณรังสีแบบเคลื่อน (Survey meter) เพื่อใช้ในการสำรวจว่ามีรังสีรั่วออกมาจากเครื่อง แหล่งกำเนิดรังสีไปสู่พื้นที่ต่างๆของห้องตรวจวินิจฉัยหรือไม่

 

ภาพบนแสดงรังสีที่ออกมาจากแหล่งกำเนิด ทำให้อากาศแตกตัวเป็นประจุในพื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู (สีส้ม) ABCD เมื่ออากาศแตกตัวเป็นประจุ ประจุลบจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วบวก ประจุบวกจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วลบ ทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า

 

ภาพซ้ายมือ (ล่าง) บริเวณลูกศรชี้ คือ ตำแหน่งของกระบอกที่ภายในบรรจุอากาศ เป็นส่วนที่รับรังสี แล้วต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า ส่งต่อไปยังเข็มที่ด้านหน้า เมื่ออากาศในกระบอกได้รับรังสี จะทำให้เข็มชี้บอกว่ามีปริมาณรังสีที่ได้รับมากน้อยเพียงใด 

 

รังสีที่รั่วไหลออกมานอกพื้นที่ควบคุม เป็นความเสี่ยงภัยของผู้ปฏิบัติงานหรือผู้เกี่ยวข้องอย่างหนึ่ง ที่ต้องให้ความสำคัญในการกำกับดูแล

แพทย์เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งตรวจหรือใช้บริการทางรังสีวิทยา การส่งผู้ป่วยมารับการตรวจทางรังสีนั้น แพทย์ต้องพิจารณาว่า มีความจำเป็น ผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการใช้รังสีเอกซ์สำหรับการวินิจฉัยโรค  

 

หมายเลขบันทึก: 308794เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2009 07:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท