กีวีฟรุต


                                                                         

กีวีฟรุต (Kiwifruit) เป็นไม้ผลเขตหนาวประเภทเลื้อยเถาที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก ซึ่งมีผลผลิตโดยรวมประมาณ 1.2 ล้านตันต่อปี โดยประเทศที่เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ 5 อันดับได้แก่ ประเทศอิตาลี นิวซีแลนด์ จีน ชิลี และฝรั่งเศส กีวีฟรุตมีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน แต่ได้พัฒนาให้กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจโดยประเทศนิวซีแลนด์และเริ่มปลูกเป็นการค้ามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1952 และได้แพร่ประจายและปลูกเป็นการค้าในหลาย ๆ ประเทศ สำหรับประเทศไทยโครงการหลวงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำพันธุ์กีวีฟรุตจากประเทศนิวซีแลนด์เข้ามาปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ.2519 ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางและพบว่ากีวีฟรุตบางพันธุ์สามารถออกดอกและติดผลได้ดี มีโอกาสที่จะพัฒนาให้เป็นไม่ผลเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงได้ แต่อย่างไรก็ตามที่ผ่านมายังคงไม่สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นอาชีพอย่างแพร่หลายได้ เนื่องจากพันธุ์กีวีฟรุตที่นำมาปลูกส่วนใหญ่เป็นชนิด A.deliciosa ซึ่งต้องการอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็น ผลผลิตกีวีฟรุตโครงการหลวงมีจำหน่ายจึงยังน้อยมาก คือประมาณ3-4 ตันต่อปีเท่านั้น

     ปัจจุบันโครงการหลวงได้วิจัยและพัฒนาพันธุ์กีวีฟรุตได้สายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่สามารถปลูกได้ดีในสภาพอากาศที่ไม่หนาวเย็นนัก กีวีฟรุตจึงนับว่าเป็นไม้ผลที่มีศักยภาพดีชนิดหนึ่งในอนาคต

 

 กีวีฟรุตเป็นผลไม้ใน Genus Actinidia ซึ่งมีอยู่มากกว่า 50 species แต่ที่สำคัญและปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันมีอยู่ species คือ

 

     1. Actinidia deliciosa  เป็นกีวีฟรุตที่ปลูกเป็นการค้ามากที่สุดของโลก ลักษณะโดยทั่วไปผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 100-150 กรัม ผิวผลสีน้ำตาล มีขน เนื้อผลสีเขียว มีปริมาณวิตามิน C 100-200มิลลิกรัมต่อเนื้อผล 100 กรัม พันธุ์ที่เป็นการค้าที่สำคัญของโลก ได้แก่พันธุ์ Hayward สำหรับพันธุ์ที่ปลูกได้ค่อนข้างดีในประเทศไทย คือพันธุ์ Bruno

 

     2. A. chinensis  เป็นกีวีฟรุตชนิดที่เริ่มมีความนิยมที่ปลูกเป็นการค้าใหม่ ๆ ขึ้นมามาก พันธุ์ที่เป็นการค้าที่สำคัญของโลกได้แก่พันธุ์ Hort16A ของนิวซีแลนด์ กีวีฟรุตชนิดนี้ต้องการความหนาวเย็นมากสั้นกว่า A. deliciosa จึงเป็นชนิดที่มีศัยกภาพในการปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย เช่น พันธุ์ Yellow joy จากประเทศญี่ปุ่น และพันธุ์ลูกผสมต่าง ๆ  จากโครงการศึกษาและคัดเลือกพันธุ์กีวีฟรุตของโครงการหลวง ส่วนใหญ่กีวีฟรุตเนื้อผลมีสีเหลืองผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 100-150 กรัม ผิวผลสีน้ำตาล มีขนค่อนข้างสั้น มีปริมาณวิตามิน C ประมาณ 100-200 มิลิลกรัม ต่อเนื้อผล 100 กรัม

 

กีวีฟรุตชนิด A. arguta สายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น ให้ผลผลิตที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

3. A. arguta มีชื่อเรียกว่า Baby Kiwi , Wee-kis หรือ Grape Kiwi เป็นกีวีฟรุตที่มีการปลูกเป็นการค้าแต่ยังไม่มากนักลักษณะโดยทั่วไปผลขนาดเล็ก น้ำหนักผลประมาณ 6-14 กรัม ผิวผลเรียบไม่มีขน รับประทานได้ทั้งเปลือก รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมมีปริมาณวิตามิน C ประมาณ 70-100 มิลลิกรัม ต่อเนื้อผล 100 กรัม พันธุ์ที่เป็นการค้าที่สำคัญของโลก ได้แก่พันธุ์ Ananasnaya สำหรับประเทศไทยมีหลายพันธุ์ที่นำมาจากประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มว่าศักยภาพดี

     จากการวิจัยและพัฒนาของโครงการหลวง ปัจจุบันคาดว่ากีวีฟรุตเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพดีในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นอาชีพได้ เนื่องจาก

     1.มีการวิจัยและพัฒนาได้กีวีฟรุตพันธุ์ใหม่ ๆ ที่สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ ที่สภาพภูมิอากาศไม่หนาวเย็นมากนัก หรือพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1000 เมตร ขึ้นไป ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาการขาดพันธุ์กีวีฟรุตที่เหมาะสมสำหรับส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยเป็นกีวีฟรุต A. chinensis เนื้อสีเหลืองพันธุ์ต่าง ๆ ได้แก่ พันธุ์ Yellow Joy จากประเทศญี่ป่น และพันธุ์ลูกผสมต่าง ๆ ของโครงการหลวง เช่น 10-1-5, และ 15-1-10 เป็นต้น และยังพบว่ากีวีฟรุตชนิด A. arguta หรือ Baby Kiwi บางพันธุ์ จากประเทศญี่ปุ่นก็มัศักยภาพดีเช่นกัน

                         กีวีฟรุตพันธุ์ดีที่มีศักยภาพบนพื้นที่สูง 

                                                                กีวีฟรุตสายพันธุ์ใหม่ของโครงการหลวง

     2. ในทางการตลาดกีวีฟรุตเป็นผลไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค ผลผลิตมีราคาสูง ประกอบกับกีวีฟรุตในประเทศไทยมีฤดูกาลเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ซึ่งไม่ตรงกับประเทศที่ผลิตกีวีฟรุตสำคัญของโลก เช่น นิวซีแลนด์และจีนที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดือนเมษายน - กันยายน  และธันวาคม - มีนาคม จึงมีโอกาสทางการตลาด

     3. ในทางการผลิตกีวีฟรุตเป็นผลไม้ที่ปลูกง่าย ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชน้อยมาก จึงเหมาะสำหรับพื้นที่สูงที่ต้องการให้ความสำคัญในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

     4. กีวีฟรุตเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเป็นแหล่งของวิตามิน C ธรรมชาติที่ดี เนื่องจากในเนื้อผลไม้มีวิตามิน C สูงมากคือประมาณ 100-200 มิลลิกรัมต่อเนื้อผล 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าส้มมาก จึงเป็นลักษณะเด่นทางการตลาดประการหนึ่ง ประกอบกับการใช้สารเคมีในการผลิตน้อยมาก

   

คำสำคัญ (Tags): #กีวีฟรุต
หมายเลขบันทึก: 308670เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2009 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท