บันทึก บทความ สัพเพเหระ ทรัพยากร ศิลปะ ทัศนะ เพลงดีๆ ก็ยังได้


“การทำงานให้สำเร็จภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดของทรัพยากร”

บันทึก บทความ  สัพเพเหระ ทรัพยากร ศิลปะ ทัศนะ เพลงดีๆ ก็ยังได้ ห่างไกลเทคโนแคร็ต และสารเสพติดด้วย

วันนี้ ผมอยากจะเริ่มต้นด้วยการพูดถึงเรื่อง  “การทำงานให้สำเร็จภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดของทรัพยากร”  

นำมาซึ่งการคิดอ่าน เรื่อง  การใช้ทรัพยากร อย่างมีจุดมุ่งหมาย ชัดเจน และคุ้มค่ายิ่งขึ้น 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน คน  เพราะคน คือ กำลังที่สามารถ ประยุกต์ใช้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด และพัฒนาได้ในทิศทางที่ต้องการ  และที่สำคัญ คนมีหัวใจ มีความรู้สึก มีชีวิตจิตใจ

ทำอย่างไรนะ คนจะทำงานให้องค์กรอย่างเต็มอกเต็มใจ นี่จึงสำคัญ

ทำอย่างไรนะ ในช่วงจังหวะเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว เราจะนำองค์กรของเรา  (หมายรวมคนของเราด้วย) เข้าสู่โอกาสใหม่ๆ   รู้ตัวหรือรู้สึกกันได้ว่า  สิ่งดีๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในองค์กร ในตัวเรา จากการเปลี่ยนแปลง  ความหาญกล้าของผู้บริหาร ที่จะนำมาซึ่ง ความหาญกล้าของคนในองค์กร คิดถึงพระแสงดาบคาบค่าย นะ  นึกแล้วบ่อน้ำรื้น  ด้วยความตื้นตันในใจ  ไยเรามีแต่นักคิดไทย แบบกล้วยหอม  นอกเหลืองในขาว อ้างอิงแต่ชาวตะวันตก ต่างชาติ อ้าว   คิดเขียนไปนอกเรื่อง 

และมาตามเรื่อง   แน่นอน ว่าไม่ใช่เรื่องยาก (แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย)   เทคนิควิธีนำการเปลี่ยนแปลง คือ อะไรกันบ้างนะ  และคนอย่างฉัน จะนำการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการใดได้บ้าง นี่คงเป็นคำถามในใจของนักบริหารที่สนใจจะบริหารการเปลี่ยนแปลง แค่ฝนตกยังต้องเปลี่ยน เพราะน้ำท่วมแล้วครับ   เอ๊ะ ต่อมนี้ สะกิดฉัน แล้ววันนี้ฉันเปลี่ยนแปลงอะไรให้ตัวเองบ้าง หวีผมเป๋ซ้ายดีกว่า ขวามาทุกวันนานแล้ว  อิ อิ ...

เรามามองดูกันว่าใครบ้างที่อยู่ในนิยามของนักบริหาร  ใครก็ต้องเป็นนักบริหารด้วยกันทั้งนั้น เมื่อเขามีชีวิตหายใจ และประกอบกรรมกับสรรพสิ่ง   ดังนั้น เทคนิคแรกที่ต้องเรียนรู้ให้มาก คือ เทคนิคการประยุกต์ใช้   เราเห็นวิทยากร ชื่อว่า  ใบไม้แห้งร่วง    เราสามารถคิดอะไรได้บ้าง ในหัวข้อการนำมาประยุกต์ใช้   วิธีการนี้เป็นวิธีการเรียนรู้ของโบราณ  ความที่ศึกษาเรียนรู้ของเรา จะถูกนำมา “คิด”  คำนี้ก็เป็นหัวใจของเรื่องที่กำลังพูดถึงเหมือนกัน ซึ่งคำว่า “คิด”  มีผู้คนอธิบายให้ความรู้ความคิด ความเห็นความในใจไว้มากมาย  เราจะพูดถึงเรื่องนี้คงต้องตั้งเรื่องใหม่และพูดกันอีกยาว ลงไปจนถึง brain based ซึ่งพักไว้ไม่กล่าว ไม่วิจารณ์   แต่ในที่นี้ เราถือว่าเรามีข้อมูลเรื่อง “คิด”  อยู่แล้วในระดับที่พอสมควรแก่การบริหาร  เพราะมันสิ่งแรกที่เราจำต้องมี ในทางคณิตฯ เขาเรียกว่ามันเป็นสัจพจน์ของมนุษย์  เหมือนดวงอาทิตย์ที่ต้องมี เราไปนิยามอะไรๆ ให้ไม่ได้อีก มันเป็นข้อมูลพื้นฐานนั่นเอง  เมื่อเราพานพบประสบกับสรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตพูดได้ พูดกับเราก็ได้  สื่อได้ และบางทีพูดกับเราแต่เราฟังไม่รู้เรื่องแต่ดูอาการออก ก็ได้ หรือไม่รู้เรื่องดูอาการไม่ออกแต่เราต้องพยักหน้าเข้าใจไปอย่างนั้นด้วยก็ได้ (ผมเคยพบนะ แต่นอกประเด็น)  และที่ไม่มีชีวิต แต่เราเผอิญ แวบวาบ ขึ้นมา เอ๊ะ ขึ้นมาเมื่อเราเห็นมัน ได้ยินเสียง สัมผัสใดๆ ก็ตาม ภายใน  นั่นคือ ไอเดียเราบรรเจิด  ไอเดียกระฉูด  โอ้โฮ  ใบไม้ร่วง ชีวิตเราร่วงโรยไปทีเดียว ใบไม้ยังได้ปุ๋ยนะนั่น แล้ว เรานั้นมันเปล่าประโยชน์หรือเปล่า   วันนี้เรามาคิดอ่านทำการอะไรกันดีกว่า  นี่ทำให้เรามีกำลังใจที่จะไปทำงาน แล้วบางทีอยากชวนใครไปทำงาน  และบางทีอยากอื่นๆ อีก ตามอำนาจกิเลสด้านดี ๆ   ที่เราอาจจะมี  โอ้ ใบไม้ร่วง  เหนื่อยจัง มันจะร่วงทุกวัน ไหมหนอ อะไรอย่างนี้      ถ้าเป็นครูก็ต้องบริหารเด็ก ถ้าเป็นเด็กก็ต้องบริหารชีวิต ก็ว่ากันไป สนุกสนานดี    สรุปว่า เรื่องนี้ยังมีคำควรถาม คำถามที่ควรคิดทำ อีกเยอะแยะ แนะนำได้

ว่าแต่ เอ วันนี้ผมหรือคุณได้เห็นใบไม้ร่วงบ้างแล้วหรือยัง  ผมนึกไอเดียอะไรออกบ้างไหมนี่ ในจินตนาการ

อ้อ แล้วคงมีโอกาสมาเล่าบางสิ่งที่คิด แลกเปลี่ยนอะไรบางสิ่งในกิจกรรมสังคม มาพบกันในฤดูใบไม้ผลิ ครับ 

อ้อ ผมจะเขียนรูปใบไม้แห้งสีน้ำตาลเก่าๆ สักหน่อย พอไหว จะเอาเพลงอมตะอย่างเขาว่าไว้ คงไม่ไหว แก่แล้ว (มะพร้าวแก่ยังหามันได้ คนแก่ๆ ได้แต่หนังเหี่ยวๆ  อุ๊บอิ๊บ)

   เพลงแม่สาย     (กับใบไม้ร่วง) 

ใบไม้ร่วงควงพลิ้วปลิวผลอย
ขวัญเคลิ้มคล้อยล่องลอยตามลม
ฝันถึงวันถึงคืนรื่นรมย์
โอ้ละหนาอารมณ์ต้องหวานอมขมกลืน
โอ้อดีตหวีดวอนมา เรียกให้ข้าพาไปคืน
คืนใจรักเศร้าสุดฝืน สะอื้นอกตรม
ลมหนาวคลั่งยังพัดพรายพลิ้ว
ขวัญหวามหวิวลิ่วลอยตามลม
มนต์เหมันต์นั้นมีมีดคม
กรีดและคว้านอารมณ์ผ่าอกตรมล้มตาย
โอ้อนาถทาสชีวาอยากบากหน้ามาเชียงราย
คืนใจรักให้แม่สาย ห่มกายฝากเธอ

เพลงของ อาจารย์ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ  อ้างอิงครับ

มีคนเคยดูหนังเรื่อง แม่สาย  อยู่แถวนี้บ้างไหมครับ  พ.ศ.2518

หมายเลขบันทึก: 308505เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2009 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท