เสนอผลการดำเนินงานหลัง Mini_UKM3


มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยอาจารย์สมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์

                สภามหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญกับ QA และ KM มาก และได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามดูแลในทุกๆเรื่อง ซึ่งสภาฯจะลงมาติดตามเดือนละ 1-2 ครั้ง

                ด้านการเรียนการสอน ได้ตั้งสำนักศึกษาทั่วไป ซึ่งจะดูแลเรื่องการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการปรับวิธีการสอนทั้งหมด โดยจะเน้นประสบการณ์ตรงและกิจกรรม รวมทั้งมีงบประมาณค่อนข้างมาก เช่น งบประมาณสำหรับอาจารย์ผู้สอน เพื่อเน้นกิจกรรม และสื่อทางการเรียนการสอน

                สนับสนุนให้อาจารย์เขียนตำรา หนังสือ (โดยให้งบอาจารย์จำนวน ห้าหมื่นบาทต่อคน) และจัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์ของ มมส และมีหน่วยงานส่วนกลางที่ทำหน้าที่เผยแพร่ คือกองวิเทศสัมพันธ์ และกองสื่อสารองค์กร

                ด้านหลักสูตร จะเน้นหลักสูตรเชิงบูรณาการ เนื่องจากปัจจุบันนี้มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีหลักสูตรเชิงประยุกต์ เช่น หลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจ เน้นบริหารธุรกิจ อังกฤษ และบูรณาการะหว่างอังกฤษและบริหารธุรกิจ มีหลักสูตรสหศาสตร์  เช่น หลักสูตรภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการทรัพยากร ซึ่งร่วมกันระหว่าง คณะสารสนเทศศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยอาจารย์อุทิศ

                ด้านหลักสูตร มีหลักสูตรสหศาสตร์ และการเปิด ปิด หลักสูตรที่ชัดเจน

               ด้านการเรียนการสอน ใช้ 3 5 model โดยจะใช้โปรแกรม D4L (เป็นโปรแกรมช่วยในการจัดการ เตรียมตัวก่อนค่อยเข้ามาเรียน) ซึ่งได้ทดลองใช้ในหลายๆวิชา พบว่า นิสิตมีความสุขในการเรียนมากขึ้น แต่ตอนนี้กำลังรอผลของเกรดว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ถ้าประสบความสำเร็จ ก็จะตั้งเป็นศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ มีเวทีให้อาจารย์มานำเสนอผลงาน และมีการให้รางวัล

              มีโครงการการประชุมวิชาการ การจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริงในระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 1 การเปลี่ยนผลการเรียนรู้ หรือ Co-Help  ในวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 52 ณ ห้องประชุมศรีเมืองใหม่ อาคารสำนักงานอธิการบดี มอบ.

                ด้านสายสนับสนุน ไม่ได้ทำ KM เพื่อ KM แต่จะนำ KM ไปสู่การทำงานจริง และนำ KM ไปช่วยขับเคลื่อน QA มีการสร้าง COP ทุก COP ต้องสามารถดึง tacit Knowledge ออกมาให้ได้ ไม่ใช่มาฟังบรรยายเท่านั้น  

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยอาจารย์กัลณกา สาธิตธาดา

                ทุกหน่วยงานจะนำ KM มาเป็นเครื่องมือการทำงาน มีการจัดอาศรมวิชาการ (ของสำนักวิชาการ โดยนำอาจารย์มาพูดคุย เรื่องปัญหา แนวทางแก้ไข และการพัฒนา) จัดสนทรียสนทนา (นำ KM มาใช้แก้ปัญหา และสิ่งที่ต้องการพัฒนาต่อไป)แกนกลางหลักๆ คือเจ้าหน้าที่

                กระบวนการจะเน้นที่ Share and Learn มากขึ้น เนื่องจากมีความแตกต่างระหว่างบุคลากร เมื่อใช้กระบวนการ ลปรร. ก็ทำให้เกิดการพูดคุยกันมากขึ้น เช่นการเขียน SAR และมีการนำ KM มาใช้กับ QA และ 5ส.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยอาจารย์ไพฑูรย์

                KM จะอยู่ที่ส่วนแผน ซึ่งเป็นเหมือนฟันเฟืองในการขับเคลื่อน และเข้าไปช่วยคณะหน่วยงานที่ต้องการให้ช่วย (โดยคณะ/หน่วยงานต้องเขียนความประสงค์เข้ามา) และได้นำ KM มาอยู่ในแต่ละหน่วย เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงาน ด้านการเรียนการสอน เน้นสื่อในการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยนครพนม โดยอาจารย์เทอดศักดิ์

                จัดอบรมให้ความรู้เรื่อง KM และได้นำ KM เข้ามาขับเคลื่อนในแต่ละหน่วยงานเน้นรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป้าหมาย คือ มหาวิทยาลัยไม่ได้เน้นที่คะแนนแต่เน้นการพัฒนาคนและพัฒนาองค์กร โดยเชื่อว่าความรู้ฝังลึกมีอยู่ในทุกคน ทุกชุมชนและทุกองค์กร

 น้ำหนึ่ง

24 ต.ค. 52

               

หมายเลขบันทึก: 308159เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2009 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เยี่ยมเลยจ้าน้องหนึ่ง

ปรบมือให้อีกรอบจ้า

งานทุกงาน ถ้าผู้บริหารสูงขององค์กร ได้เข้าใจ และเป็นหนึ่งในการนำพา งานนั้นก็จะดำเนินการได้ดี

...

กระบวนการจัดการความรู้ ควรเน้นธรรมชาติของคนกับวิถีชีวิตของคน

พี่อิ๋วได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการสกัดความรู้จากตัวผู้มีประสบการณ์

ทำให้ทราบอย่างลึกซึ้งว่า อะไรที่เต็มใจทำ เต็มใจให้ นั้นเป็นบริบทของ

การเรียนรู้อย่างแท้จริง ค่ะ โชคดีปีใหม่นะจ้ะ

รัก-คิดถึงเสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท