ดิฉันพร้อมด้วยครูรสาพร หม้อศรีใจ ครูเกวลิน อุตมะ และครูปวีนา ทองคำฟู ได้เข้ารับการอบรมการพัฒนาบุคลากรผู้ดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2549 ณ โรงแรมฮอลิเดย์การ์เด้น จ. เชียงใหม่ จัดโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ ในครั้งนี้กศน.เกาะคา ได้นำเสนอการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิตบ้านทุ่งขาม โดยการจัดนิทรรศการในรูปของรูปภาพ และ Mind Map ไว้ในแฟ้มสอดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ศึกษา จำนวน 5 แฟ้ม
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการประชุม
1เข้าใจงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
โดย ดร.สินธุ์ สโรบล เป็นผู้บรรยาย
ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างงานวิจัยท้องถิ่นกับงานพัฒนา ทำให้รู้ว่า
การที่กศน.เกาะคาได้จัดทำโครงการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้มีเศรษฐกิจพอเพียง
และพ้นความยากจนบ้านทุ่งขามนั้น
แท้ที่จริงแล้วเป็นการทำวิจัยท้องถิ่นด้วย
เนื่องจากว่าเป็นปัญหาของชุมชน
ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่การวิเคระห์หาสาเหตุของปัญหา มีการกำหนดปัญหา
ความต้องการในการแก้ปัญหา จนมาถึงการจัดทำแผนชุมชน
หาแนวทางและรูปแบบการแก้ปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตลอดจนได้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อคนในชุมชน
2. ดร.สมบัติ
สุวรรณพิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
มาให้แนวคิดในการทำงานกศน.มิติใหม่ ที่ต้องทำงานกศน.ควบคู่กันงานวิจัยท้องถิ่นโดยให้ทำเป็นเนื้องานเดียวกัน
โดยไม่ต้องทำแบบแยกส่วน เพราะเป้าหมายงานกศน.คือเรียนในชีวิตจริง นำมาใช้จริงได้
มุ่งเน้นชีวิตการเรียนรู้
การทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน
การทำงานกศน.ต้องใช้กระบวนการวิจัย
เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ของการทำงานกศน.
สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป
1.กลับมาทบทวนบทบาทหน้าที่การทำงานกศน.ของสถานศึกษา
2.วางแผนการดำเนินงานในชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการวิจัย
โดยเริ่มจากจุดที่เป็นไปได้ในตำบลนำร่อง
และตำบลที่ได้ไปดำเนินการจัดเวทีประชาคม
และรู้ปัญหาของชุมชนแล้ว
3.ทำความเข้าใจกับบุคลากรให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับงานวิจัยท้องถิ่น
4. เขียนรายงานกรณีศึกษาบ้านทุ่งขาม
ที่ได้ดำเนินการร่วมกับชุมชนจนได้แผนชุมชนบ้านทุ่งขาม
ณราวัลย์
24 พฤษภาคม 2549
ไม่มีความเห็น