การใช้ IP Phone ทั่วโลก


การใช้ IP Phone ทั่วโลก

การใช้ IP Phone ทั่วโลก

  เป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกนตัวอีกต่อไป การที่จะให้ใช้งาน IP Phone ได้ทั่วโลก ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้เกิดการใช้งาน IP Phone ได้ทั่วโลก

หลักพื้นฐานของเครือข่าย TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ

  1.TCP (Transmission Control Protocol) มีหน้าที่ในการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ส่งและผู้รับ ให้ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนโดยมีการแจ้งกลับไปยังปลายทางทราบว่าได้รับแพ็คเก็ตแล้วหรือยังไม่ได้รับแพ็คเก็ต

  2.IP(Internet Protocol) โดยมีหลัการทำงาน คือ ทำการแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็คเก็ตเล็กๆ แล้วทำการส่งข้อมูลออกไปบนเครือข่ายไอพีบนเส้นทางที่เหมาะสม ซึ่งแพ็คเก็ตแต่ละแพ็คเก็ตสามารถไปได้หลายเส้นทางโดยไม่จำกัดว่าจะต้องไปเส้นทางเดียวเสมอเพราะบางครั้งอาจเกิดปัญหากับเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งก็ยังสามารถส่งข้อมูลถึงปลายทางได้

 

 

Voip(Voice Over Internet Protocol)

 

   Voip เป็นเทคโนโลยีสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี โดยจะแปลงสัญญาณเสียงอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลผ่านอุปกรณ์เครือข่าย แล้วส่งไปยังผู้รับผ่านเครือข่ายไอพี จากนั้นทำการแปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณอนาล็อกผ่านอุปกรณ์เครือข่ายเพื่อให้ปลายทางได้ยินเสียงที่ส่งจากต้นทาง ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการใช้งานโทรศัพท์ได้อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งหากองค์กรของท่านมีหลายสาขาสามารถโทรศัพท์ติดต่อผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ทางไกล หรือมีสาขาอยู่ต่างประเทศก็สามารถโทรหาสาขาได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ เสียค่าใช้จ่ายเฉพาะอุปกรณ์ที่ลงทุนในช่วงแรกและค่าบริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน หรือจะโทรผ่านผู้ให้บริการที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งต้องเสียค่าบริการตามอัตราที่กำหนดของแต่ละผู้ให้บริการซึ่งหากโทรข้ามประเทศจะลดค่าใช้จ่ายได้มากเพราะเสียค่าบริการตามพื้นที่นั้นๆ เช่น หากโทรจากจีนมาประเทศไทยผ่าน Voip ก็จะเสียค่าโทรตามค่าบริการพื้นที่ของไทยโดยไม่เสียค่าโทรทางไกล เพราะผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมายัง Proxy Server ในไทยแล้วทำการโทรออกไปยังเลขหมายปลายทางจาก Proxy Server ในประเทศไทย ทำให้ไม่เสียค่าโทรทางไกล

ข้อดีของการนำ Voip มาใช้งาน

1.ประหยัดงบประมาณในการลงทุน โดยสามารถใช้อุปกรณ์เครือข่ายที่มีอยู่เดิมได้เลย

2.เพิ่มมูลค่าอุปกรณ์ ทำให้ใช้งานเครือข่ายที่มีอยู่เกิดประโยชน์สูงสุด

3.ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร หากองค์กรที่เคยโทรทางไกลทั้งในประเทศและต่างประเทศจะพบว่าค่าใช้จ่ายลดลง

4.ลดค่าใช้จ่ายในการส่งโทรสาร (FAX) โดยสามารถส่งทางไกลทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งระบบ Voip สามารถนำเอาคุณสมบัตินี้จาก Voip มาใช้งานได้

การทำงานของ Voip

   Voip ใช้ใช้โปรโตคอล Internet Protocol ในการส่งสัญญาณเสียง ซึ่งสัญญาณเสียงนั้นจะถูกแบ่งออกเป็นแพ็คเก็ต โดยสัญญาณเสียงที่ส่งไปมักนิยมส่งแบบ UDP มากกว่าแบบ TCP เพราะการส่งแบบ UDP นั้นจะมีการส่งข้อมูลได้เร็วกว่า จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ในการส่งข้อมูลเสียงบนโครงข่ายอินเตอร์เน็ต การส่งข้อความเสียงนั้นจะต้องอาศัยโปรโตคอลหลักที่ใช้ในการส่งสัญญาณเสียงระหว่างต้นทางและปลายทาง เช่น โปรโตคอล SIP(Session Initiation Protocol) จึงทำให้ต้นทางและปลายทางสามารถสื่อสารกันได้ ปกติการใช้งานโปรโตคอล SIP จะมีการใช้พอร์ตสื่อสารแบบ UDP ที่ 5060 ซึ่งจำเป็นต้องทราบเพราะหากหน่วยงานท่านมี Firewall จะต้องเปิด port หรืออนุญาติให้ใช้งาน port UDP:5060 ด้วยจึงจะสามารถใช้งานโปรโตคอล SIP ได้

มาตรฐาน SIP (Session Initiation Protocol)

   มาตรฐาน SIP เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลในเทคโนโลยี Voip ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจบัน เนื่องจากมีผู้ผลิตโปรแกรมและอุปกรณ์ต่างผลิตอุปกรณ์ของตนออกมารองรับกับโปรโตคอล SIP กันมากขึ้น เช่น มือถือโนเกีย E-Series ก็จะรองรับโปรโตคอล SIP มาแล้วจากโรงงาน หรือโปรแกรม X-Lite ซึ่งเป็น Softphone ที่ใช้โปรโตคอล SIP ในการติดต่อสื่อสาร และ ATA(Analog Telephone Adapter) ของ Linksys รุ่น PAP2T ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่รองรับโปรโตคอล SIP จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้สามารถใช้งานได้กับเครื่องโทรศัพท์ทั่วไปที่เป็นอนาล็อกไม่ใช่ IP Phone ก็สามารถใช้งานได้ผ่านอุปกรณ์ตัวนี้

 

ภาพ ATA Linksys PAP2T

 

ภาพโปรแกรม X-Lite ที่รองรับโปรโตคอล SIP

 

ส่วนประกอบของโปรโตคอล SIP สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วน คือ user agents และอีกส่วนคือ SIP Server

1.User Agents สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วนย่อยคือ User Agent Client(UAC) และ User Agent Server(UAS) ในการสื่อสารของ Voip นั้นจะมีการทำงานและติดต่อสื่อสารในลักษณะ Client-Server โดยเริ่มจาก UAC จะทำการส่ง SIP Requests messages ไปยัง UAS เมื่อ UAS ได้รับข้อมูลก็จะส่งสัญญาณตอบกับในรูปแบบของ SIP response messages

2.SIP Server สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

   2.1 Proxy Server มีหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง SIP Client ที่ต้องการติดต่อสื่อสารกัน โดยสร้างกระบวนการระหว่าง SIP Clients ทั้งสองเพื่อรายงานสถานะการทำงาน เมื่อติดต่อกันได้แล้ว ก็จะส่งข้อมูลเสียงหรือข้อมูลการสนทนากันเองระหว่าง SIP Client ทั้งสองฝั่งผ่านโปรโตคอล RTP(Real-time Transport Protocol)

 

จากภาพที่ 3 จะเห็นว่ามีการอธิบายเป็นขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร Voip โดยใช้โปรโตคอล SIP ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันโดยเริ่มตามขั้นตอนดังนี้

   1.SIP Client ทำการลงทะเบียนกับ Server เรียบร้อย

   2.SIP Client จากต้นทางทำการเรียกไปยัง SIP Client ปลายทางผ่าน SIP Proxy Server

   3.จากนั้น SIP Proxy Server ทำการดูว่า SIP Client ปลายทางอยู่ที่ใดแล้วทำการเชื่อมต่อไปยังปลายทาง

   4.SIP Client ปลายทางจะได้ยินการเรียกเข้าที่เครื่องโทรศัพท์จาก SIP Proxy Server

   5.เมื่อปลายทางรับสายหรือได้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างปลายทางและต้นทางแล้ว SIP Proxy Server จะปล่อยให้ SIP Client ทั้งสองฝั่งเปิด RTP Session สามารถติดต่อส่งข้อมูลเสียงถึงกันโดยตรงโดยไม่ผ่าน SIP Proxy Server

   2.2 Registrar Server จะมีหน้าที่ในการรับการลงทะเบียน SIP Client เพื่อทราบว่า SIP Client หมายเลขดังกล่าวมาจากที่ใด เมื่อมี SIP Client อื่นๆติดต่อเข้ามาจะสามารถส่งข้อมูลไปยัง SIP Client ดังกล่าวได้

   2.3 Redirect Server เป็นเซอร์ฟเวอร์ที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนหรือกำหนดเส้นทางโดยอาศัยข้อความ (Request Message) เพื่อส่งต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ปลายทางที่ต้องการ

 

ภาพจาก Juniper Networks, Inc.

 

   การใช้งาน IP Phone ผ่านโปรโตคอล SIP เพื่อให้เข้าใจถึงการใช้งานและการประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ท่านต้องเปรียบเทียบกันอัตราค่าบริการของแต่ละแห่งโดยในประเทศไทยมีดังนี้

1. http://www.totnetcall.com/

2. http://www.mouthmun.com/

3. http://www.truenettalk.com/th/index.html/

4. http://www.callcafe.info/

   ซึ่งผู้ให้บริการแต่ละรายก็จะจัดโปรโมชั่นมาแข่งขันกัน ท่านควรดูรายละเอียดหรือลองดูการให้บริการของหลายๆรายโดยสมัครเพื่อทดสอบใช้งานก่อนได้ หรือสมัครซื้อบัตรเติมเงินน้อยๆเพื่อใช้งานเปรียบเทียบกันหลายๆราย

คำสำคัญ (Tags): #voip
หมายเลขบันทึก: 308096เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2009 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ ^^ ได้ความรู้ทำ Project พอดีเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท