ครูชนบท


คันสิถ่มน้ำลายให้เหลี่ยวเบิ่งป่อง คันสิเต้นข้ามฮ่องให้เหลียวเบิ่งหนาม

 

 

คนอีสานมีคำคม สุภาษิตสำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในฮีตคอง (จารีต- ประเพณี) ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คำคมเหล่านี้รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึงปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด, คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง (wisdom, philosophy, maxim, aphorism.)

ผะหยา หรือ ผญา เป็นคำภาษาอีสาน สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากคำว่า ปรัชญา เพราะภาษาอีสานออกเสียงควบ "ปร" ไปเป็น  เช่น คำว่า เปรต เป็น เผต โปรด เป็นโผด หมากปราง เป็น หมากผาง ดังนั้นคำว่า ปรัชญา อาจมาเป็น ผัชญา แล้วเป็น ผญา อีกต่อหนึ่ง

ปัญญา ปรัชญา หรือผญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงกัน ใกล้ เคียงกันหรือบางครั้งใช้แทนกันได้ ซึ่งหมายถึง ปัญญา ความรู้ ไหวพริบ สติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง หรือบางท่านบอกว่า ผญา มาจากปัญญา โดยเอา  เป็น  เหมือนกับ เปรต เป็น เผด โปรด เป็น โผด เป็นต้น ผญาเป็นลักษณะแห่งความคิดที่แสดงออกมาทางคำพูด ซึ่งอาจ จะมีสัมผัสหรือไม่ก็ได้

-     ผญา คือ คำคม สุภาษิต หรือคำพูดที่เป็นปริศนา คือฟังแล้วต้องนำมาคิด มาวิเคราะห์ เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นจริงและชัดเจนว่า หมายถึงอะไร

-     ผญา เป็นคำพูดที่คล้องจองกัน ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีสัมผัสเสมอไป แต่เวลาพูดจะ ไพเราะสละสลวย และในการพูดนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะหนักเบาด้วย

-     ผญา เป็นการพูดที่ต้องใช้ไหวพริบ สติปัญญา มีเชาวน์ มีอารมณ์คมคาย พูดสั้นแต่กิน ใจความมาก

    การพูดผญาเป็นการพูดที่กินใจ การพูดคุยด้วยคารมคมคาย ซึ่งเรียกว่า ผญา นั้น ทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความรู้และความคิดสติปัญญา ความสนุกเพลิดเพลิน ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เกิด ความรักด้วย จึงทำให้หนุ่มสาวฝนสมัยก่อน นิยมพูดผญากันมาก และการโต้ตอบเชิงปัญญาที่ทำ ให้แต่ละฝ่ายเฟ้นหาคำตอบ เพื่อเอาชนะกันนั้นจึงก่อให้เกิดความซาบซึ้ง ล้ำลึกสามารถผูกมัด จิตใจของหนุ่มสาวไม่น้อย ดังนั้น ผญา จึงเป็นเมืองมนต์ขลัง ที่ตรึงจิตใจหนุ่มสาวให้แนบแน่น ลึกซึ้งลงไป

ภาษิตโบราณอีสานแต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้าง ตื้นบ้าง หยาบก็มี ละเอียด ก็มี ถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบ ๆ โปรดได้เข้าใจว่า คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น ภาษิตประจำ ชาติใด ก็เป็นคำไพเราะเหมาะสมแก่คนชาตินั้น คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป็นของดี ส่วนคน ในชาติอื่น อาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้ ความจริง "ภาษิต" คือรูปภาพของวัฒนธรรม แห่งชาติ นั่นเอง

คันได้กินลาบซิ้นอย่าลืมแจ่วแพวผัก ได้กินพาเงินพาคำอย่าลืมกระเบียนฮ้าง

คันเจ้าได้อยู่ยอดฟ้าผาสาทประดับมุข อย่าได้ลืมเฮียมทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

 คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มสัปทน อย่าได้ลืมคนจนผู้แห่นำตีนซ้าง 
ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้วก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง
ลาบซิ้น = ลาบเนื้อ,   แจ่ว = น้ำพริกปลาร้า,   แพวผัก = ผักข้างรั้ว,   พาเงินพาคำ = ภาชนะเงิน,ทองคำ 
กระเบียนฮ้าง = กระด้งผุๆ,   กั้งฮ่ม = กางร่ม,   สัปทน = ร่มผ้าสีแดง เป็นเครื่องยศของขุนนาง

 

       เก้าสิฆ่าสิบสิฆ่าให้เอาแก่นคะยูงตี มาซ่างเอาหัวใจตีเน่านูมในเนื้อ 
      ตายกะบ่ตายแท้พอทรงวิบาก อยากกะกินบ่ได้คาแค้นคั่งทวง
     ขอให้หาหมอส้องทำขวัญให้แน่ จั่งสิหายพยาธิฮ้ายคายส้องบ่ให้เสีย

    จะฆ่าให้ตายก็ฟาดด้วยไม้เนื้อแข็ง อย่าตีด้วยความรักความสงสารเลย
ครับสำหรับ ผญา ถือได้ว่าเป็นสุภาษิตคำสอนของคนอีสานทีมีมาแต่โบราณที่ผมนำมาให้ทุกท่านได้ศึกษาเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นถ้าหากมีโอกาสผมจะนำมาให้ท่านได้ศึกษาในครั้งต่อไป

หมายเลขบันทึก: 308079เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2009 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท