หอผู้ป่วยซีเอพีดี


กระบวนการดูแลผู้ป่วยซีเอพีดี

      บริการผู้ป่วยซีเอพีดีที่มีคุณภาพ 

         หอผู้ป่วยพิเศษรวม 9A  ได้ Zoning ให้ผู้ป่วยซีเอพีดี  ซึ่งพยาบาลในหอผู้ป่วยเป็นพยาบาลใหม่ร้อยละ
65  เนื่องด้วยดิฉันในฐานะหัวหน้าหอผู้ป่วยและเป็น APN:CAPD      จึงเห็นว่าน่าจะพัฒนาการดูแลผู้ป่วย
ซีเอพีดีให้เป็นหอผู้ป่วยนำร่อง  จึงได้พัฒนาสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยซีเอพีดีให้กับพยาบาล  ด้วยการให้
ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย  การปลูกฝังเจตคติที่ดีในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง  การนิเทศอย่างสม่ำเสมอ  
ทำให้ผลการดูแลผู้ป่วยดี  เป็นที่ยอมรับของทีม  กิจกรรมในการดูแลผู้ป่วย
        1.  การประเมินปัญหาผู้ป่วย   พยาบาลจะเข้าไปประเมินปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในครั้งนี้ 
             - การควบคุมระดับความดันโลหิต  สมดุลน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย
             - ภาวะโภชนาการ  และภาวะซีด
             - การับรู้ต่อปัญหาการเจ็บป่วย 
             - ด้านจิตสังคม  สัมพันธภาพในครอบครัว  ความรู้สึกต่อการรักษา  ภาวะจิตใจ
             - การดูแลตนเอง
         2. การวินิจฉัยการพยาบาลและวางแผนการพยาบาล
             ได้มีการจัดทำแนวทางการวางแผนการพยาบาลไว้ให้พยาบาลในหอผู้ป่วย  ในการวางแผนการ
พยาบาลได้ง่ายขึ้น   ซึ่ง APN จะเข้าไปติดตามประเมินอีกครั้งและทำการนิเทศหากพบว่าประเมินปัญหา
ไม่ครอบคลุมในกรณี Infected CAPD มี Care map การดูแล
ในข้อ 1-2 หอผู้ป่วยรับประกันว่าควรทำได้สมบูรณ์ ภายใน 24 ชั่วโมง  และปฏิบัติควบคู่ไปกับการวางแผน
การจำหน่ายผู้ป่วย  ซึ่งแผนการจำหน่านรับประกันว่าจะมีการประเมินและบันทึกภายใน 48 ชั่วโมง
         3.  การปฏิบัติการพยาบาล  
              เมื่อวางแผนการพยาบาลแล้ว  ต้องมีการแจ้งแผนการรักษาให้ผู้ป่วยและญาติทราบ 
และเป้าหมายการพยาบาลที่ตั้งไว้คือ
             - ระดับความดันโลหิต < 140/90 mmHg
             - เกลือแร่อยู่ในเกณฑ์ปกติ   ไม่มีภาวะขาดน้ำหรือน้ำเกิน
             - ไม่มีอาการและอาการแสดงภาวะติดเชื้อ
             - สภาพจิตใจปกติ
             - ดูแลการล้างไตได้ถูกต้อง เหมาะสม
             - รับประทานอาหารได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
APN จะทำหน้าที่ติดตามประเมินว่าได้มีการดูแลผู้ป่วยเป็นไปตามแผนการพยาบาล  หรือ Care map หรือไม่ 
ถ้าปฏิบัติไม่ได้เพราะเหตุใด  หากไม่ถูกต้องเหมาะสมในส่วนของพยาบาลจะดำเนินการแก้ไขทันที  ในส่วน
ของแพทย์จะมีการประสานงานไปยังอายุรแพทย์โรคไตเพื่อพิจารณาแก้ไข  หรือปรับการักษาให้เป็นไปตาม
แนวทางที่กำหนดไว้ 
         4. การประเมินผล   การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล  พยาบาลประเมินผลโดยลงในบันทึกทาง
การพยาบาลในแต่ละเวร  แต่การประเมินผลตามดัชนีชี้วัด  APN เป็นผู้ติดตามเก็บข้อมูล  ได้แก่  LOS 
อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน  ความพึงพอใจ  ค่าใช้จ่ายในการรักษา
         ผลการดำเนินงานใน 1 ปีที่ผ่านมา  ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา  ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน Infected
CAPD)  ร้อยละ 100     LOS 6.7  วัน    ระดับความพึงพอใจในการดูแล  ร้อยละ 98
        สิ่งที่ต้องพัฒนาต่อ การส่งต่อและเชื่อมโยงการดูแลกับศูนย์บริการสุขภาพใกล้บ้านผู้ป่วย  การสร้าง
เครือข่ายการดูแล  และการเยี่ยมบ้าน 
หมายเลขบันทึก: 307962เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2009 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเป็นกำลังใจค่ะ
  • ขอบคุณบันทึกดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ ขอให้โชคดี ขอให้มีสุข ขอให้ไร้ทุกข์ และสุขภาพแข็งแรงค่ะ
  • สวัสดีปีใหม่คุณบุษราค่ะ

    ขอบคุณที่แวะมาส่งกำลังใจค่ะ อย่ลืมแวะมาเยี่ยมชมอีกนะค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท