การจัดการความรู้: ระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจร 1


ระบบ Automatic Emergency Vehicle Priority สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มาก

ผู้เขียนไม่ค่อยได้เขียน Blog ของตัวเองเลย เพราะมัวแต่ไปอ่านและแสดงวิสัยทัศน์ใน Blog ของอาจารย์ท่านอื่นๆ เมื่อสักครู่นี้ก็เพิ่งแวะไป Blog ของท่านอาจารย์ JJ มา ในบันทึก Emergency 2 http://gotoknow.org/archive/2006/05/24/17/39/15/e30756

เลยอดไม่ได้ที่จะต้องยกเอามาไว้ที่นี่ด้วย เพื่อนำมาบริหารจัดการ (ขยายผล) ต่อไป

ผมเขียนไว้ดังนี้ครับ

  • ทีมฉุกเฉินของฝรั่งดูเหมือนพร้อมว่าบ้านเราครับ
  • อย่างกรณีของเจ้าหญิงไดอาน่า หมอ (ไทย) ท่านนึงเล่าว่า ในขณะที่ Stand by อยู่ในห้องพักแพทย์นั้น ก็มีเสียงประกาศว่า อีกประมาณ 5 นาที จะมีผู้ป่วย vVIP เข้ามา
  • พอเจ้าหญิงมาถึง ทีมงานก็อยู่ในห้องผ่าตัดกันแล้ว
  • ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่บ้านเราจะได้ขนาดนี้
  • รถพยาบาลต้องมี พยาบาล ที่คอยดูแลและประเมินสภาพผู้ป่วย และประสานงานกับทางโรงพยาบาล (ถ้าจำเป็นเช่น) เช่น ผู้ป่วยชาย อายุประมาณ 20 ปี มาด้วยอาการ compound multiple fracture เสียเลือดมาก มี fracture ตรงไหนบ้างก็ว่าไป Vital sign เป็นอย่างไร BP pulse ให้เตรียมห้องผ่าตัด กระดูก (เชื่อว่าคงเป็นคนละห้องกับผ่าตัดช่องท้อง)  หรือผ่าสมอง อะไรก็ว่าไป
  • เพื่อให้บุคคลากร ที่เกี่ยวข้องใน ER และ OR ได้เตรียมตัว scrub มือและแต่งตัวกันพลางๆ

ที่สำคัญ ระบบควบคุมการจราจรควรมี ระบบ Automatic Emergency Vehicle Priority

  • บางท่านอาจแย้งในใจ "ก็รถฉุกเฉินฝ่าไฟแดงได้อยู่แล้ว"
  • แต่ถ้าบนถนนมีรถเยอะ และรถคันข้างหน้าไม่ชิดซ้ายหรือหลีกทางให้ล่ะ รถพยาบาลจะฝ่าไปแดงไปยังไง
  • ระบบ Automatic Emergency Vehicle Priority สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มาก เช่น ในกรณี shock เสียเลือดมาก เส้นเลือดในสมองแตก ลิ่มเลือดอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย มีของอุดหลอดลมเด็ก ฯลฯ
  • ถ้าท่านมีโอกาส Request เพื่อจะทำอะไรเพื่อผู้ป่วยได้รอดชีวิตมากขึ้น นอกจากระบบสาธาณสุขแล้ว อย่าลืมนึกถึงระบบควบคุมจราจรด้วยนะครับ
  • ระบบสัญญาณไฟจราจร (ไฟเขียว-ไฟแดง) บ้านเราเกือบทั้งหมดทุกทางแยก เป็นเพียงแค่นาฬิกาตั้งเวลา ให้แดงกี่วินาที เขียวกี่วินาที ก็ว่ากันไป
  • เราจึงพบว่า บ่อยครั้งที่เราต้องหยุดรอ ทั้งๆ ที่ในทิศทางอื่นๆ ไม่มีรถ
  • เมื่อเป็นเช่นนี้ คน (ผู้ขับรถ) จำนวนหนึ่งก็เลยพยายามฝ่าไฟแดง แต่บังเอิญว่าในทิศทางที่ตั้งฉาก (กับคันที่ฝ่าไฟแดง) เป็นไฟเขียว รถคันหนึ่งก็เลยมาด้วยความเร็วสูงด้วยความกลัวว่าจะไม่ทันไฟเขียวรอบ (Cycle Time) นี้
  • ความหายนะก็เกิดขึ้นในบัดดล
  • คนขับรถพยาบาล ทีมรถมูลนิธิฯ หมอ ER หมอรังสี หมอศัลย์ หมอดมยา พยาบาล เวรเปล ก็เหนื่อยกันถ้วนหน้า
  • แต่ถ้าทุกท่านที่กล่าวมา ช่วยกันผลักดัน (Request) ระบบควบคุมจราจร ที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบันคือ  Adaptive System ที่จังหวะของสัญญาณไฟสัมพันธ์กับปริมาณรถ ณ เวลาจริง (Real Time) อุบัติเหตุ ที่เกิดบริเวณทางแยกคงลดลงบ้างอย่างมีนัยสำคัญ
  • ถามว่าราคาแพงไหม TDRI ประมาณว่าความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร เมื่อมีผู้เสียชีวิต 1 รายนั้นมีมูลคาประมาณ 4.75 ล้านบาท
  • ความสูญเสียทางเศรษฐกิจเนื่องจากอุบัติภัยจราจรhttp://www.geocities.com/jarajorn_hadyai/econloss.html
  • Adaptive Traffic Signal System ราคาประมาณแยกละ 2 ล้านบาทครับ นับว่าถูกมาก ถ้าเทียบกับชีวิตคน 1 คน
  • ดังนั้นถ้าแยกไฟแดงไหนมีคนตาย ก็เปลี่ยนระบบให้ดีขึ้นเถอะครับ
  • สุดท้ายนี้ขอให้ทุกชีวิตบนถนน ถึงบ้านอย่างปลอดภัยครับ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30794เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • แม้ไม่ค่อยได้เขียน แต่ก็เป็นผู้ช่วยเติมเต็ม และกระตุ้นให้ผู้อื่นเขียนครับ
  • ขอขอบคุณที่ได้เข้าไป ลปรร. ในหลายบล็อก และหลายบันทึกครับ
  • ขอบคุณอาจารย์เช่นครับ
  • ที่แวะมาอ่านและมีส่วนช่วยให้ผมต้องเขียน
  • เห็นข่าวน้ำท่วมทางเหนือแล้วทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะต้องเขียนอะไรสักหน่อย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท