ครูจีรพงษ์ แข็งแรง
ครูจีรพงษ์ แข็งแรง ครูจีจี้ แข็งแรง

ความรู้เกี่ยวกับมอเตอร์ไซด์


ความรู้เกี่ยวกับมอไซค์

1. การบำรุงรักษามอไซค์ให้อยู่กับเราไปนานฯ

  ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ในการเดินทางคงคุ้นเคยกับศัพท์เหล่านี้มาบ้างแต่เคยตั้งใจที่จะอ่านเพื่อ ให้รู้แน่ว่ามันคืออะไรกันบ้างไหม เผื่อบ้างทีมีโอกาสคุย กับคนอื่นจะได ้ไม่ต้องทำแค่ยืน ทำตาปริบๆ
ขนาด
ในที่นี้ก็คือ ความกว้าง ความยาว ความสูงของตัวรถ โดยความสูงจากพื้นนั้น จะวัดจากพื้นขึ้น ไปจนถึงจุดต่ำสุดของตัวรถ ส่วนความกว้างนั้น จะวัดกันที่ปลายแฮนด์ด้าน หนึ่งไปจนถึง ปลายแฮนด์อีกด้านหนึ่ง ส่วนความสูงของตัวรถนั้น วัดจากจุดที่ล้อแตะพื้นจนถึงจุด ที่สูง ที่สุดของตัวรถ (ไม่รวมกระจกมองหลัง) ช่วงห่างล้อ นั้นวัดที่แกนล้อหน้าถึงแกนล้อหลัง ส่วนความยาวของรถวัดขากขอบยางหน้า จนถึงขอบยางหลัง หรือบังโคลนท้าย
น้ำหนัก
มีการชั่งอยู่ 2 แบบ คือ
     1. น้ำหนักสุทธิ เป็นน้ำหนักตัวรถล้วนๆ ไม่รวมของเหลวที่เติมเข้าไป เช่น น้ำมัน น้ำมันเครื่อง น้ำยาหล่อเย็น(สำหรับหม้อน้ำ) หรือน้ำกลั่น ซึ่งข้อมูลรถส่วนใหญ่ จะบอก น้ำหนักสุทธิเป็นส่วนมาก
     2. น้ำหนักรถ เป็นน้ำหนักรวมของรถเมื่ออยู่สภาพพร้อมใช้งานจริง คือของเหลวทุก จุดมีการเติมเรียบร้อยเหมือนการใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้น้ำหนักที่ได้จะมากกว่าน้ำหนักสุทธิ
เครื่องยนต์
ซึ่งจะมีทั้งแบบ 4 จังหวะ และแบบ 2 จังหวะ
ระบบระบายความร้อน
ระบบระบายความร้อนในมอเตอร์ไซค์นั้นมีหลายระบบดังนี้
     1. ระบายความร้อนด้วยน้ำ คือการใช้น้ำไปหมุนเวียน และนำความร้อนที่เกิดจาก เครื่อง ยนต์มาถ่ายเทสู่บรรยากาศที่บริเวณแผงรังผึ้ง
     2. ระบายความร้อนด้วยอากาศ ระบบนี้นิยมกันมากในรถเล็ก เนื่องจากเครื่องยนต์ มีความร้อนไม่มากนั้น บริเวณเสื้อสูบก็จะมีครีบสำหรับเพิ่มพื้นที่ถ่ายเทความร้อนสู่บรรยากาศ
     3. ระบายความร้อนด้วยน้ำมันเครื่อง หรือที่รู้จักกันในนาม ออยล์คูลเลอร์ หลักการคล้ายๆ หม้อนน้ำ คือมีการหมุนเวียนของน้ำมันเครื่องที่เกิดความร้อนจากการหล่อลื่น ไปสู่งแผงรังผึ้ง ระบายความร้อน ถ่ายเทความร้อนสู่บรรยากาศ จากนั้น น้ำมันเครื่องที่เย็นตัวลง จะกลับเข้า สู่เครื่องยนต์เพื่อหล่อลื่นเครื่องยนต์ต่อไป ซึ่งน้ำมันเครื่องเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้วนั้น จะส่ง ผลต่อประสิทธิภาพต่อการหล่อลื่นโดยตรง คือจะลดความหนืดลงไป (ใสขึ้น) ทำให้การ หล่อลื่นด้อยลง
ระบบวาล์ว
จะมีในสเปกเครื่องยนต์ 4 จังหวะ โดยมีระบบต่างๆ ดังนี้
     OHV  ( โอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ) หรือที่รู้จักกันในนาม เครื่องตะเกียบ คือแคมชาร์ฟ (เพลาราวลิ้น หรือเพลาลูกเบี้ยว)จะอยู่บริเวณตีนเสื้อสูบ ขับวาล์วโดยการ ใช้ก้านกระทุ้ง (ที่มาของคำว่าเครื่องตะเกียบ) ไปกระทุ้งวาล์ว ที่อยู่บริเวณฝาสูบ มักจะพบในรถรุ่นเก่าๆ และรถ ฮาร์เลย์ เดวิดสัน
      OHC  (โอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ) หรือ SOHC (ซิงเกิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ) ก็คือ แคมชาร์ฟ อยู่เหนือลูกสูบ คืออยู่ที่ฝาสูบ ขับวาล์วโดยตรง ( direct drive) หรือใช ้กระเดื่อง กดวาล์ว แต่รถจักรยานยนต์ส่วนมากจะใช้กระเดื่องกดวาล์วเป็นส่วนใหญ่ ระบบนี้พบได้ทั่วไป ในรถเล็ก เช่น ฮอนด้า ดรีม ฮอนด้า โซนิก เป็นต้น
     DOHC  (ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ) คือมีแคมชาร์ฟ จะมี 2 แท่ง อยู่ที่ฝาสูบ อาจจะขับวาล์วโดยตรง หรือใช้กระเดื่องกดวาล์ว(ในรถรุ่นเก่า) ระบบนี้จะทำให้สามารถ ใช้วาล์วได้มากกว่าระบบอื่น
      ส่วนจำนวนวาล์วนั้น ก็จะมีตั้งแต่ 2 วาล์ว(ไอดี 1 ไอเสีย 1) 3 วาล์ว(ไอดี 2 ไอเสีย 1) 4 วาล์ว(ไอดี 2 ไอเสีย 2) 5 วาล์ว(ไอดี 3 ไอเสีย 2) หรืออาจจะมีถึง 8 วาล์ว(ไอดี 4 ไอเสีย 4) ในรถฮอนด้า เอ็นอาร์ 750 แต่ลูกสูบจะเป็นแบบวงรี จึงทำให้มีพื้นที่ในการบรรจุวาล์วมาก
ในรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะนั้น ระบบที่นิยมในปัจจุบันคือ รีดวาล์ว หคือแคร้งเครสรีดวาล์ว มีลักษณะเป็นแผ่นลิ้นบางๆ ติดตั้งอยู่ที่ช่องทางไหลของไอดี และจะเปิดทางให้ไอดี ผ่าน เข้าสู่เครื่องยนต์ในจังหวะดูด และรีดวาล์วจะปิดช่องทางไอดีไม่ให้ไหล ย้อนกลับด้วยแรงอัด ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลง
ขนาดความจุกระบอกสูบ (ซี.ซี.)
แสดงให้เห็นถึงขนาดของเครื่องยนต์ โดยสามารถวัดขนาดของ ซี.ซี. ได้จากการคำนวณ ปริมาตรลูกสูบในช่วงเคลื่อนที่ในกระบอกสูบ คือ จากศูนย์ตายบนถึงศูนย์ตายล่าง สำหรับ เครื่องยนต์ 2 สูบ ขึ้นไป ให้รวมจำนวน ซี.ซี. ทั้งหมดเข้าด้วยกัน
ระบบจุดระเบิด
เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดประกายไฟแรงสูงที่เขี้ยวหัวเทียน เพื่อจุดระเบิดไอดี สำหรับรถผู้หญิงและรถสกูตเตอร์นั้น มักจะใช้ระบบจุดระเบิดแบบ C.D.I.
ระบบน้ำมันหล่อลื่น
มี 2 ระบบคือ
ระบบน้ำหมันหล่อลื่นแบบใช้ปั๊ม (รถ 4 จังหวะ) ซึ่งจะใช้น้ำมันเครื่อง เป็นตัวหล่อลื่นเครื่องยนต์ทั้งระบบ ตั้งแต่เพลาราวริ้น กระบอกสูบ ชุดข้อเหวี่ยง จนไปถึงชุดเกียร์และคลัทช์(กรณีเป็นแบบคลัทช์เปียก)
ระบบหล่อลื่นแบบแยกส่วน หรือใช้ออโตลูป (รถ 2 จังหวะ) คือจะแยกส่วนการหล่อลื่นกัน โดยชุดเกียร์และคลัทช์นั้น จะใช้น้ำมันเกียร์หล่อลื่น ส่วนการหล่อลื่นกระบอกสูบและข้อเหวี่ยงนั้น จะใช้น้ำมันออโตลูปเป็นตัวหล่อลื่น โดยจะรวมมากับไอดีและจะถูกเผาไหม้ไปพร้อมกับไอดี
ระบบคลัทช์
มีทั้งคลัทช์เปียกหลายแผ่นซ้อนกัน (แช่ในน้ำมันเครื่อง) ซึ่งรถใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ระบบนี้ และคลัทช์แห้งหลายแผ่นซ้อนกัน ซึ่งจะไม่มีน้ำมันเครื่องมาเกี่ยวข้องเลย นิยมใช้ในรถแข่ง เนื่องจากเสียงการทำงานดังมาก และสึกหรอเร็ว แต่ให้ประสิทธิภาพการจับตัวของแผ่นคลัทช์ดีกว่าคลัทช์เปียก
ระบบสตาร์ท
มี 2 แบบ คือ ระบบสตาร์ทไฟฟ้า คือใช้มอเตอร์เป็นตัวสตาร์ท เช่นในรถครอบครัว และระบบสตาร์ทเท้า ใช้เท้าเหยียบคันสตาร์ท
แรงม้าสูงสุด
คือแรงที่เครื่องยนต์สามารถฉุดลากรถให้วิ่งไปได้ในระยะทางและในระยะเวลาหนึ่งๆ โดยที่ “ 1 แรงม้า จะเท่ากับ งานที่เกิดจากการเคลื่อนวัตถุหนัก 75 กก. ไปได้ระยะทาง 1 เมตร ภายใน 1 นาที ” ใช้เปรียบเทียบแสดงค่าหน่วนวัดเป็นแรงม้า ซึ่งในขณะที่ เครื่องยนต์ทำงานเต็มที่ แรงม้าที่ได้ก็คือแรงม้าสูงสุด ซึ่งจะเกิดขึ้นในรอบเครื่องยนต์ที่ต่าง กันไป เช่น แรงม้าสูงสุดของรถสปอร์ต 150 ซี.ซี. คันหนึ่งเท่ากับ 35 PS ที่ 10500 รอบ/นาที แต่ถ้าเป็นรถที่เน้นการใช้งานในรอบต่ำๆ เช่นรถ ชอปเปอร์ หรือ ครูสเซอร์ แรงม้าก็จะมาที่รอบต่ำกว่า เช่น 25 PS ที่ 4500 รอบ/นาที เป็นต้น ซึ่งจะขับขี่ได้ง่ายกว่า รถสปอร์ต แต่ความแรงก็จะน้อยกว่าเช่นกัน และหน่วยของแรงม้านั้น มีหลายหน่วยที่ใช้วัด เช่น PS PS(DIN) HP หรือ กิโลวัตต์ ซึ่งวิธีวัดก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละระบบ
แรงบิดสูงสุด
แรงบิด(torque) ก็คือแรงฉุดลากของเครื่องยนต์ หรือกำลังของเครื่องนั่นเอง ไม่ใช่ความเร็ว ซึ่งจะส่งผลไปถึงอัตราเร่งนั่นเอง โดยเป็นแรงบิดของเพลาข้อเหวี่ยง คือ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานเพลาข้อเหวี่ยงจะหมุนในอัตรา…รอบ/นาที และจะเกิดแรงบิดขึ้น ซึ่งในขณะเครื่องยนต์ทำงานเต็มที่นั้น แรงบิดที่ได้ก็คือ แรงบิดสูงสุด ซึ่งจะเกิดในรอบ เครื่องยนต์ที่ต่างกัน เช่นเดียวกับแรงม้าสูงสุด เช่น 2.75 กก.-ม.(กิโลกรัม-เมตร)/6500 รอบ/นาที ซึ่งหมายถึง เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไป 6500 รอบ/นาที เกิดแรงบิดขึ้น 2.75 กก.-ม. (1 กก.-ม. หมายถึงงานซึ่งเกิดจากการหมุนวัตถุที่มีรัศมี 1 เมตรไปได้โดยใช้แรง 1 กก.) ซึ่งในรถที่มีแรงบิดมาในรอบต่ำๆ เช่น 5000 รอบ ก็จะทำให้การขับขี่ไม่ต้องใช้คันเร่งมาก เช่นในรถชอปเปอร์ ส่วนรถสปอร์ตนั้น แรงบิดมาที่รอบค่อนข้างสูง เช่น 8000 รอบ/นาที ขึ้นไป โดยจะอยู่ในรอบใกล้เคียงกับแรงม้าสูงสุด
รัศมีวงเลี้ยวแคบสุด
หมายถึง การหักเลี้ยวของรถไปด้านใดด้านหนึ่งจนสุด ในขณะที่รถอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับพื้น แล้วหมุตรอบตัวเองเป็นวงกลม รัศมีของวงกลมนั้นก็คือ รัศมีวงเลี้ยวแคบสุดของรถคันนั้น
มุมไต่
เป็นมุกที่แสดงให้เห็นว่าในขณะที่รถอยู่ในตำแหน่งเกียร์ต่ำ จะสามารถไต่ขึ้นเนินได้เท่าไหร่ ซึ่งส่วนใหญ่รถ 1 จังหวะจะมีมุมไต่ที่ดีกว่า รถ 2 จังหวะ เนื่องจากเครื่องยนต์ 4 จังหวะ มีแรงบิดในรอบต่ำที่ดีกว่ารถ 2 จังหวะ ที่มีความจุเท่ากัน
อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
การคำนวณพิจารณาจากการใช้น้ำมัน 1 ลิตร รถจะวิ่งไปได้ไกลกี่กิโลเมตร เช่น 100 กม./ลิตร (ค่าที่ได้จากการทดสอบ ความเร็วที่ 30 กม./ชม.) คือ เมื่อรถวิ่งด้วยความเร็วคงที่ 30 กม./ชม. บนทางเรียบจะสามารถไปได้ไกล 100 กม. โดยใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 1 ลิตร นั่นเอง
ขนาดยาง
การบอกขนาดความกว้างของหน้ายางนั้น มีทั้งบอกขนาดเป็น "นิ้ว" เช่น 2.75 นิ้ว ขอบ 17 คือใช้กับวงล้อขอบ 17 นิ้ว และบอกขนาดยางเป็นมิลลิเมตร เช่น 100/70 ขอบ 17 คือ หน้ายางกว้าง 100 มม. แก้มยางสูงเป็น 70 % ของหน้ายาง คือ 70 มม. ใช้กับขอบล้อขนาด 17 นิ้ว โดยที่ 1 นิ้ว = 2.54 ซม.
ขนาดล้อ
คือขนาดความกว้างกระทะล้อ มักจะบอกเป็นนิ้ว เช่น กระทะล้อกว้าง 2.5 นิ้ว คือความกว้าง ของกระทะล้อ ส่วนที่ใส่ยางนอกนั่นเอง และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของล้อ ก็จะบอกขนาด เป็นนิ้วเช่นกัน เช่น 17 นิ้ว 18 นิ้ว เป็นต้น
มุมแคสเตอร์/ระยะเทรล
มุมแคสเตอร์ คือ มุมซึ่งอยู่ระหว่างแนวแกนช็อคอัพหน้ากับเส้นที่ลากตั้งฉากกับพื้นถึงคอรถ
ระยะเทรล คือ ระยะห่างระหว่างเส้นตั้งฉากที่ลาด จากพื้นดินผ่านจุดศูนย์กลาง ของแกนล้อ หน้ากับ เส้นที่ลากต่อขนานออกจากแกนช็อคอัพหน้าตัดกับพื้นดิน ระยะทั้ง 2 มีความ สัมพันธ์กันคือ ถ้ามุมแคสเตอร์ยิ่งมีองศามากขึ้น ระยะเทรลก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ยกตัวอย่างรถที่มีมุมแคสเตอร์และระยะเทรลมาก เช่น รถชอปเปอร์ และรถครูสเซอร์ เป็นต้น ซึ่งจะมีผลดีต่อการทรงตัวในทางตรง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามุมแคสเตอร์น้อยลง ระยะเทรลก็จะน้อยลงไปด้วย เช่นในรถสปอร์ต ซึ่งจะมีความมั่นคงในทางโค้งมากขึ้น
ตัวถัง 
มีหลายลักษณะ คือ
     - แบบทวินสปาร์ เช่น ในรถ ฮอนด้า เอ็นเอสอาร์ เป็นต้น
     - แบบดับเบิ้ลเครเดิล หรือทรงเปลคู่ เช่น ในรถ ยามาฮ่า อาร์เอ็กแซด เป็นต้น
     - แบบอันเดอร์โบน หรือแบ็คโบนพื้นต่ำ เช่นในรถครอบครัว
     - แบบไดมอน หรือทรงเปลเดี่ยว เช่น พวกรถคัสตอม หรือรถจักรยานยนต์รุ่นเก่าๆ     (เช่นฮอนด้า วิง)
ระบบกันสะเทือน
ในด้านหน้า มีทั้งแบบ เทเลสโคปิก ซึ่งก็คือช็อคอัพหัวตั้งแบบที่ใช้งานกันทั่วไป และ แบบเทเลสโคปิก อัพไซด์ดาวน์ หรือ ช็อคหัวกลับนั่นเอง นอกจากสองระบบดังกล่าวแล้ว ยัง มีระบบอื่นๆ อีกหลายแบบ เช่น ระบบสวิงอาร์ม เช่นเดียวกับล้อหลัง เช่น ในรถ บิโมต้า เทซี่ หรือแบบเทเลเลเวอร์ โดยจะมีแขนยึดและช็อคอัพแยกตัวออกไป แบบในรถ บีเอ็มดับบลิว
ส่วนในด้านหลังนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ระบบสวิงอาร์ม จุดหมุนเดียว และมีทั้งแบบช็อคอัพคู่และ ช็อคอัพเดี่ยว ซึ่งในรถที่ใช้ช็อคอัพเดี่ยวนั้น ก็จะแยกออกเป็นแบบ โมโนช็อค คือ กระบอกช็อคยึดกับสวิงอาร์มโดยตรง เช่น ยามาฮ่า วีอาร์ ทีแซดอาร์ เจอาร์ เป็นต้น (ไม่ใช่ระบบโมโนครอส ตามที่ยามาฮ่าระบุมาแต่อย่างใด) กับแบบใช้กระเดื่องทดแรง เช่น ในรถ คาวาซากิ เคอาร์ ซูซูกิ อาร์จีวี และ อาร์จี แกมม่า เป็นต้น และนอกเหนือจากนี้ ยังมีแบบโฟร์บาร์ลิ้งค์เกจ ซึ่งก็จะเป็นระบบคล้ายๆ กับระบบกันสะเทือนแบบปีกนก 2 ชั้น ในรถยนต์นั่นเอง (หาดูได้จากช่วงล่างด้านหน้าของรถกระบะ) ดังเช่นในรถ โมโตกุซซี่ บางรุ่น และระบบโปรอาร์ม(ชื่อเรียกเฉพาะของฮอนด้า) หรือสวิงอาร์มแขนเดี่ยว เช่นในรถ ฮอนด้า เอ็นเอสอาร์ 150 เอสพี
ระบบเบรค
ส่วนใหญ่จะใช้อยู่ 2 ระบบก็คือ
     1. ดรัมเบรค ทำงานโดยใช้ระบบกลไกล และสายเคเบิล
     2. ดิสก์เบรค ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้แบบไฮดรอลิก 100 % คือใช้น้ำมันไฮดรอลิก ไปดันลูกสูบ คาลิเปอร์ แต่ก็มีระบบอื่นๆ อีกเช่น สายถึงไฮดรอลิก (พบในรถรุ่นเก่าๆ) คือใช้สายเคเบิล ส่งแรงไปกดแม่ปั๊มที่คาลิเปอร์ และแบบใช้สายเคเบิลอย่างเดียว ซึ่งระบบนี้จะ ให้ประสิทธิภาพที่ต่ำสุด โดยใช้กลไกที่คาลิเปอร์ไปดันลูกสูบ ซึ่งส่วนใหญ่จะ มีใช้ในรถ ที่ความเร็วต่ำๆ หรือในรถ ATV บางรุ่น

ต่อไปนี้เมื่อใครพูดถึงเรื่องของมอเตอร์ไซค์ ท่านสามารถที่จะร่วมวงสนทนา ได้อย่างสนุกสนานอย่างแน่นอน...........ขอให้สนุกกับการสนทนานะครับ

                          2. ครบเครื่องเรื่องมอไซค์

  เรื่องดีๆที่ผู้ใช้ควรทราบ

รถจักรยานยนต์เป็นหนึ่งในยานพาหนะยอดนิยม ยิ่งในยุคน้ำมันแสนจะแพงอย่างเช่นทุกวันนี้ตามเมืองใหญ่ๆที่จราจรติดขัด ดูเหมือนรถจักรยานยนต์จะเป็นพาหนะที่น่าใช้มากที่สุด เพราะอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลืงจะประหยยัดกว่ารถยนต์มาก เมื่อมีผู้หันมาใช้รถจักรยานยนต์มากขึ้น แต่ยังขาดเรื่องของการดูแลรักษาอาจจะยังไม่เข้าใจ จึงนำเสนอการดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมงานใช้เสมอมาฝาก

ล้อและยาง

เริ่มต้นกันที่ " ลมยาง" การเติมลมทุกครั้งควรมีการวัดลมยางให้ได้ตามที่สเป็คกำหนดเพื่อยืดอายุการใช้งานของยาง อีกทั้งช่วยในการทรงตัวและลดแรงกระแทก สำหรับแรงดันลม ยางหน้าใช้ 28 ปอนด์ ยางหลัง 30-32 ปอนด์ (ขึ้นอยู่กับรุ่นและน้ำหนักบรรทุก) และเพื่อความแน่นอนควรมีเกจ์วัดแรงดันลมแบบพกพาเอาไว้เพื่อได้ค่าที่ถูกต้อง

ระบบไฟ และ แบตเตอร์รี่

ระบบไฟและแบตเตอร์รี่ ที่เราต้องคอยดูแลบำรุงรักษาเป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องระบบไฟ โดยเแพาะแบตเตอร์รี่แบบเติมน้ำกลั่น ต้องหมั่นตรวจระดับของน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับที่กำหนดเสมออย่าปล่อยให้น้ำกลั่นแห้ง ส่วนถ้าแบตเตอร์รี่แบบแห้งไม่ต้องดูแลมาก แค่เช็คที่ขั้วของแบตเตอร์รี่อย่าให้สกปรกเป็นพอ

หัวเทียน

สำหรับเรื่องของ " หัวเทียน " ควรเลือกใช้ให้ตรงตามสภาพการใช้งานและเครื่องยนต์ อย่าได้คิดเป็นอันขาดว่าเมื่อใช้หัวเทียนแบบที่ใช้ในรถแข่งแล้วรถจะแรง เพราะรถแข่งในสนามได้ผ่านการโมดิฟายมาแล้ว ไม่เหมือนรถบ้าน

กรองอากาศและไส้กรอง

ซึ่งรับหน้าที่ในการกรองฝุ่นละอองที่ปะปนอยู่ในอากาศไม่ให้เข้าไปภายในตัวเครื่องยนต์ แต่เมื่อใช้งานผ่านไปนานๆกรองอากาศจะตัน มีส่วนทำให้ส่วนผสมไอดีเปลี่ยนไป เครื่องยนต์จะกินน้ำมันมากขึ้นและวิ่งไม่ค่อยออก ฉะนั้นควรทำความสะอาดไส้กรองทุกๆ 4,000 กม. และเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 12,000 กม. แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานด้วย หากเป็นที่มีฝุ่นมากๆ การทำความสะอาดต้องบ่อยมากขึ้น

น้ำมันเครื่องของรถ 4 จังหวะ

สำหรับรถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องควรเปลี่ยนตามเวลาที่ทางผู้ผลิตได้กำหนดไว้ แต่หากว่ารถมีการใช้งานหนักหรือว่าจอดติดไฟแดงบ่อยๆนานๆ การเปลี่ยนถ่ายก็ต้องเร็วกว่าเดิมเพื่อรักษาชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์
สหรับรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์บ้าง เพราะน้ำมันหล่อลื่นเมื่อใช้ไปนานๆประสิทธภาพการหล่อลื่นจะลดลง ส่งผลให้คลัทช์และชุดเกียร์ตัดส่งกำลังไม่ได้ดีเหมือนเดิม

ออโต้ลูป สำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ

ซึ่งสำคัญมากในระบบการทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ เพราะ จะช่วยให้จังหวะการหล่อลื่น ระหว่างลูกสูบ และกระบอกสูบเป็นไปอย่างต่อเนื่องเต็มประสิทธิภาพ ฉะนั้นผู้ที่ใช้เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ออโต้ลูปจะต้องมีอยู่ในระบบเสมอ

รถจักรยานยนต์เกียร์ ออโตเมติค CVT ( Continous Variable Tranmission )

หรือที่เรียกกันว่า " รถสายพาน " ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมของ ผู้ที่ใช้รถจักรยานยนต์ทุก ระดับชั้น สำหรับการดูแลรถสายพานจะแบ่งการดูแลรักษาออกเป็น 2 ส่วน คือ
   - เครื่องยนต์
   - ระบบขับเคลื่อน
ในส่วนของเครื่องยนต์ การดูแลรักษาก็เหมือนกับเครื่องยนต์ 4 จังหวะทั่วไป เช่น การตรวจ เช็คระยะห่างของวาล์ว, เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ,ทำความสะอาดกรองอากศ เป็นต้น
อีกส่วน คือ ระบบขับเคลื่อน ซึ่งจะแตกต่างไปจากรถที่ใช " ้โซ่ " เพราะในชุดสายพาน มีกลไก การทำงานที่ต้องดูแลรักษาพอๆ กับเครื่องยนต์เลยทีเดียว เริ่มจาก
- ไส้กรองอากาศชุดสายพาน ให้ทำความสะอาดทุกๆ 3,000 กม.
- สวิงอาร์มตรวจสอบการหลวมคลอน และอัดจาระบีทุกๆ 24,000 กม.
- การรั่วซึมของน้ำมันเฟืองท้ายเมื่อครบ 1,000 กม.แรก และ ทุกๆ 3,000 กม.
- เปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้ายเมื่อครบ 1,000 กม.และทุกๆ 10,000 กม.
- สายพาน V ให้ตรวจสอบการชำรุดเสียหายและสึกหรอเมื่อครบ 7,000 กม. และทุกๆ 3,000 กม.
- ตัวสายพานควรเปลี่ยนใหม่เมื่อครบ 25,000 กม.

 

http://tarad.com/motorcyc

หมายเลขบันทึก: 307778เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2009 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ต้องการสอบถามเกี่ยวกับระบบแสงสว่าง(ไฟหน้ารถมอเตอร์ไซด์)ไฟติดแต่ไม่ค่อยสว่างไมีทราาบเกิดจากอะไร(honda cela l)

สวาสดีคับพี่ๆๆ

คือผมอยากทราบว่า รถผมมันสะตาสติยากมาก

มันเปนกับอะไรคับ

รถ เวป 125 R

นะคับ

ช่วยตอบที่นะคับ

ขอบคุนคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท