งานวิจัย


การพัฒนาการเรียนการสอนวิชาเคมี

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนวิชาเคมี เรื่องหน่วยความเข้มข้น

            โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 

ผู้วิจัย                                     นายวีรศักดิ์   จันเสนา

คณะ                                       ประกาศนียบัตรบัณฑิต

มหาวิทยาลัย                       มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ปีการศึกษา                           2552

 

 

บทคัดย่อ

 

                การวิจัยครั้งนี้เพื่อ  (1)  เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย  วิชาเคมี  เรื่องหน่วยความเข้มข้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5(2)  เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย  วิชาเคมี  เรื่องหน่วยความเข้มข้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5

ที่มีค่าดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ร้อยละ  70 (3)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย  วิชาเคมี  เรื่องหน่วยความเข้มข้น

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 ก่อนและหลังเรียน  (4)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย  วิชาเคมี  เรื่องหน่วยความเข้มข้น

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  (5)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย วิชาเคมี เรื่องหน่วยความเข้มข้น

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5

                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 / 5 โรงเรียนร่องคำ

 จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1 ห้องเรียน 45 คน

                ผลการวิจัยพบว่า  (1)  ผลการวิจัยทำให้ได้เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องหน่วยความเข้มข้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 ที่มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.7 และสามารถนำไปใช้สอนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้เป็นอย่างดี

(2)  ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index) ของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  พบว่า  มีค่าเท่ากับ  0.84 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเรียนบทเรียนสำเร็จรูป ร้อยละ 84  

(3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่องหน่วยความเข้มข้น  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ  70 

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  (4)  ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาเคมี พบว่า ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 36.2/81.15 จะเห็นว่า คอมพิวเตอร์สอน ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ คือ 50/70 (5)  นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง หน่วยความเข้มข้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยรวม  อยู่ในระดับดีมากที่ค่าเฉลี่ย  3.65

 

คำสำคัญ (Tags): #การสอนเคมี ม5
หมายเลขบันทึก: 307372เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2009 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เนื้อหาดีแต่ให้ใครทำให้หรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท