NB
โครงการพัฒนาเด็กซีซีเอฟหนองบัวลำภู โครงการพัฒนาเด็กซีซีเอฟจังหวัดหนองบัวลำภู ซีซีเอฟหนองบัวลำภู

NB_2354


เราอยากให้ท่ารู้จักเรา โครงการพัฒนาเด็กซี.ซี.เอฟจังหวัดหนองบัวลำภู

โครงการพัฒนาเด็ก ซี.ซี.เอฟ. จังหวัดหนองบัวลำภู 

NONGBUALUMPHU CHILD

DEVELOPMENT CENTERS

ประวัติความเป็นมาของโครงการ 

 

                ปี 2525  มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ. ในประเทศไทย  ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้เข้ามาช่วยเหลือเด็กและครอบครัวที่ยากจนขัดสน เด็กด้อยโอกาส ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู โดยผ่านหน่วยงานราชการเป็นผู้รับผิดชอบ   คือ  นิคมสร้างตนเองโนนสัง และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู  โดยให้ความช่วยเหลือเด็กจำนวน  200 คน

    ปี 2546  มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ.          ในประเทศไทย  มีนโยบายในการบริหารโครงการ  โดยเน้นการบริหารแบบชุมชนมีส่วนร่วม  “เริ่มใช้ตั้งแต่ วันที่  1 กรกฎาคม  2546   โดยระบบคณะกรรมการบริหารโครงการ

 

 

1. เด็กปฐมวัยมีสุขภาพแข็งแรงและมีพัฒนาการตามวัย

2.เด็กวัยเรียนและเยาวชนมีสุขภาพแข็งแรง ได้รับการศึกษา มีทักษะชีวิต มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกและมีส่วนร่วมในการพัฒนา

3.ครอบครัวเด็กมีทักษะด้านอาชีพและดำรงชีวิตอย่างพอเพียง

 

 

            1.เพื่อให้เด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียนและเยาวชนมีสุขภาพแข็งแรงมีพัฒนาการตามวัย ได้รับโอกาสทางการศึกษามีความมั่นใจในตัวเองกล้าแสดงออกและมีส่วนร่วมในการพัฒนางานโครงการ

                2. เพื่อให้ครอบครัว ซี.ซี.เอฟ.  มีทักษะด้านอาชีพมีแหล่งอาหารที่มั่นคงช่วยลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวเกิดการพึ่งตนเองนำไปสู่การดูแลบุตรหลานอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

                3. เพื่อให้เจ้าหน้าที่โครงการและคณะกรรมการมีความสามารถในการบริหารงานโครงการ งานพัฒนา/คุ้มครองเด็กร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภาคีได้

2546 พื้นที่ดำเนินงานของโครงการในปัจจุบัน  อยู่ใน     2  อำเภอ  คือ   อำเภอโนนสัง  และอำเภอสุวรรณคูหา  ประกอบด้วย   4   เขตบริการ ดังนี้

 

เขตบริการ/ตำบล

ระบบผู้อุปการะ 

จำนวนเด็ก

ในประเทศ

ต่างประเทศ

 

เขตบริการโคกเจริญ

    ต.นิคมพัฒนา

    ต.กุดดู่

    ต.บ้านถิ่น

เขตบริการหนองจาน

    ต.ปางกู่

    ต.บ้านค้อ

เขตบริการโนนเมือง

    ต.โนนเมือง

    ต.โคกม่วง

เขตบริการต่างแคน

    ต.บ้านโคก

 

123

39

109

 

270

165

 

296

200

 

15

 

146

52

18

 

43

11

 

-

85

 

70

 

269

91

127

 

313

177

 

296

285

 

85

รวม

1,216

425

1,643

โครงการพัฒนาเด็ก ซี.ซี.เอฟ. จังหวัดหนองบัวลำภู   #  2354

 

ที่ตั้ง 

                โครงการพัฒนาเด็ก ซี.ซี.เอฟ. จังหวัดหนองบัวลำภู  ตั้งอยู่ที่ บ้านศรีสมบูรณ์  หมู่ที่ 11 ตำบลกุดดู่  อำเภอโนนสัง  จังหวัดหนองบัวลำภู  โทรศัพท์/โทรสาร 042 – 356348  สำนักงานอยู่ห่างจากตัวจังหวัดหนองบัวลำภู ประมาณ 47 กิโลเมตร  และห่างจากสำนักงานมูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ. ในประเทศไทยฯ ประมาณ 729 กิโลเมตร  เดินทางโดยรถยนต์/รถทัวร์ 8 ชั่วโมง  เดินทางโดยเครื่องบิน 1 ชั่วโมง ลงเครื่องที่จังหวัดอุดรธานี และต่อด้วยรถยนต์จากจังหวัดอุดธานีถึงโครงการใช้เวลาเดินทาง  2 ชั่วโมง

ขนาดที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ

                จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ที่แยกตัวออกมาจากจังหวัดอุดรธานี

           อำเภอโนนสังเป็นหนึ่งในหกอำเภอของจังหวัดหนองบัวลำภู มีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

ทิศเหนือ            ติดต่อกับอำเภอเมือง           จังหวัดหนองบัวลำภู

ทิศใต้               ติดต่อกับอำเภออุบลรัตน์   จังหวัดขอนแก่น

ทิศตะวันออก     ติดต่อกับอำเภอหนองวัวซอ    จังหวัดอุดรธานี

ทิศตะวันตก       ติดต่อกับอำเภอศรีบุญเรือง      จังหวัดหนองบัวลำภู

                โครงการพัฒนาเด็ก ซี.ซี.เอฟ. จังหวัดหนองบัวลำภู มีพื้นที่การดำเนินงานอยู่ใน 2 อำเภอ คือ อำเภอโนนสังและอำเภอสุวรรณคูหา เรียกพื้นที่เป้าหมายว่า “เขตบริการ” ปัจจุบันดำเนินงานในพื้นที่ 8 ตำบล 59 หมู่บ้าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ของจังหวัดหนองบัวลำภูเป็นที่ราบสูง ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้และภูเขา และลาดเอียงไปทางทิศใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทราย และลูกรัง  ไม่สามารถเก็บหรืออหุ้มน้ำได้ดี  ลำน้ำที่หล่อเลี้ยงผู้คนในจังหวัดหนองบัวลำภูคือ ลำน้ำพะเนียงที่มีต้นน้ำอยู่ที่อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ไหลผ่านอำเภอนาวัง  อำเภอนากลางและอำเภอโนนสัง  ปลายน้ำจะไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์  จังหวัดขอนแก่น สภาพพื้นที่ตอนกลางค่อนไปทางตอนใต้ของจังหวัดเป็นเทือกเขาภูเก้า ภูพานคำ ซึ่งเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ

สภาพความเป็นอยู่และการทำมาหากินของผู้คน

                ประชากรกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ ร้อยละ 65 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำไร่  เกษตรกรที่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง 60 % เช่าที่ดินคนอื่น 40 % ประชากรในภาคเกษตรทั้งหมดจะอพยพไปขายแรงงานในต่างจังหวัด และในตัวเมืองหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวร้อยละ 35 เป็นกรรมกรรับจ้างขายแรงงานเพียงอย่างเดียวทั้งในต่างจังหวัดและต่างประเทศอีกร้อยละ  5  ประกอบอาชีพค้าขายและบริการ  การเชื่อมประสานทางสังคมยึดถือ “ฮีตสิบสอง”  เป็นประเพณีของภาคอีสานโดยทั่วไป  อาหารการกินอาศัยแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และป่าในเขตภูเก้าและภูพานคำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กบ หน่อไม้ เห็ด แมลง ฯลฯ  และพืชผักตามธรรมชาติ  อีกส่วนหนึ่งได้จากการเพาะเลี้ยงในครัวเรือน เช่น ปลา กบ เห็ด พืชผักต่าง ๆ เป็นต้น  และอีกส่วนหนึ่งในสภาพปัจจุบันที่มีทั้งอาหารสำเร็จรูป และวัตถุดิบนำมาประกอบอาหารเองที่บ้าน  ทุกหลังคาเรือนมีไฟฟ้าใช้มีถนนลูกรังเชื่อมทุกหมู่บ้าน  ในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตและลูกรัง  การสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้านด้วยรถมอเตอร์ไซด์  การเดินทางไปในตัวเมืองใช้บริการด้วยรถสองแถว และรถบัสประจำทาง

 

สถานการณ์เด็กและเยาวชน

                กลุ่มคนผู้อยู่ในวัยแรงงานทุกครอบครัว จะมีคนที่อพยพไปขายแรงงานหรือไปทำงานนอกพื้นที่  บางคนไปเป็นบางครั้งบางคราว บางคนก็ไปแบบถาวร  จะกลับมาบ้านปีละ 1 – 2 ครั้ง และบางคนจะไปตามช่วงฤดูกาล  โดยทั้งหมดนี้จะทิ้งลูกหลานไว้กับญาติ เช่น ปู่ย่า ตายาย ที่แก่เฒ่า เด็กและเยาวชนจึงได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง  ขาดการดูแลเอาใจใส่จากพ่อ แม่ ทำให้ก่อเกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย  เช่น เด็กมีพฤติกรรมฟุ่มเฟือย ชอบทำตามใจตัวเอง กินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีพัฒนาการด้านร่างกายไม่เหมาะสมตามวัย เยาวชนมีความก้าวร้าวไม่ค่อยเชื่อฟังผู้หลักผู้ใหญ่  ครู  อาจารย์ ปัญหาครอบครัว แตกแยก มีพฤติกรรมเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และมั่วสุมยาเสพติด จับกลุ่มชกต่อยกัน ตามงานบุญประเพณีต่าง ๆ  มีค่านิยมและความเชื่อที่ฟุ่มเฟือย

 

เด็กในความดูแลของโครงการ

                ปัจจุบันเด็กที่อยู่ในความดูแลของโครงการฯจำนวน 1,684 คน เป็นเด็กในระบบผู้อุปการะต่างประเทศ   473  คน  และเด็กในระบบผู้อุปการะภายในประเทศ  1,211  คน  ตั้งแต่เด็กปฐมวัยจนถึงเด็กที่กำลังศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

กิจกรรมเด็กและเยาวชน

ด้านโภชนาการ

                โครงการฯมุ่งส่งเสริมกิจกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน  โดยร่วมมือกับโรงเรียนและชุมชนเพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กๆ จากครอบครัวที่ยากจน เช่น การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา และการปลูกพืชผักสาวนครัว  ซึ่งผลผลิตที่ได้จะนำมาปรุงเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียน  ตลอดจนสนับสนุนค่าอาหารกลางวัน  อาหารเสริม สำหรับเด็กบางรายที่ขาดแคลนเป็นพิเศษและการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่องการประกอบอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายและถูกสุขลักษณะ 

ด้านสุขอนามัย

                ส่งเสริมให้เด็ก ครอบครัว และชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านสุขอนามัย โดยให้ความรู้ด้านสุขอนามัยเด็ก พัฒนาการและวิธีการเลี้ยงดูเด็ก สุขภาพปากฟัน สนับสนุนอาหารเสริมที่ทีคุณภาพสำหรับเด็กปฐมวัย จัดหาผ้าห่มกันหนาวและชุดวอร์มกันหนาวสำหรับเด็ก

ด้านการศึกษา

                โครงการฯ มุ่งเน้นส่งเสริมพัฒนาการและเตรียมความพร้อมให้เด็กเล็กโดยการจัดกิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมการอ่าน

  สำหรับเด็กโตปัญหาที่พบมากคือ พ่อ แม่ของเด็กขาดการศึกษาและมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก มีฐานะยากจน จึงให้ลูกช่วยหารายได้เพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัว  โครงการฯได้ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาโดยการสนับสนุนชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน หนังสือเรียน กระเป๋าใส่หนังสือเรียน รองเท้านักเรียนค่าพาหนะไปโรงเรียน และจัดหาจักรยานสำหรับเด็กที่อยู่ห่างไกลโรงเรียนเฉพาะโรงเรียนที่ถูกยุบ เพื่อให้เด็กมีพาหนะขับขี่ไปเรียนหนังสือ

กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

รวมทั้งจัดกิจกรรมหลายประเภทเพื่อพัฒนาเด็กทั้งทางด้านสติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม  เช่น ค่ายวิชาการ ค่ายเยาวชน ค่ายฝึกคนทำค่าย กิจกรรมเสาร์สัมพันธ์ เด็กเล่นขายของ ตลาดนัดเกษตรน้อย จักรยานน้องท่องชุมชน  การเตรียมเยาวชนสู่ชีวิตครอบครัว และการสร้างจิตสำนึกคุณธรรมไทย

กิจกรรมพัฒนาครอบครัวและชุมชน

                โครงการฯ มุ่งเน้นปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวและชุมชน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเอง มีทุนสำหรับพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ส่งเสริการศึกษาของบุตรหลาน และดูแลเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ ส่งเสริมให้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ อบรมทักษะชีวิต เช่นการเลี้ยงจิ้งหรีด การทอผ้า การแปรรูปอาหาร การเลี้ยงวัวเกษตรพอเพียง เป็นต้น

 

 

คำสำคัญ (Tags): #งานพัฒนา
หมายเลขบันทึก: 307334เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2009 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท