การพัฒนาครูด้วยรูปแบบ SWIPPACA


การพัฒนาครู

 

                                       บทคัดย่อ

ชื่อโครงการ         โครงการการพัฒนาครูด้วยรูปแบบ SWIPPACA  ที่ส่งผล

                          ต่อความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนโรงเรียนวัดสวนพล 

นักวิจัยหลัก         นวลใย  สุทธิพิทักษ์

ปี  พ.ศ.               2552

 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  พัฒนารูปแบบการพัฒนาครู  2)  พัฒนาชุดการเรียนรู้  และ  3)  เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนก่อนและหลังพัฒนา การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน  5  คน  ครูผู้สอนจํานวน  9   คน  นักเรียนจำนวน 86  คน  คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน  จำนวน  8  คนของโรงเรียนวัดสวนพล  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์ผลการพัฒนาครูด้วยรูปแบบ  SWIPPACA และชุดการเรียนรู้ จำนวน  3  ฉบับ และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จำนวน 1 ฉบับ       การวิเคราะห์ข้อมูลใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม  SPSS   และการวิเคราะห์เนื้อหา

       ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

      1. ผลการพัฒนาครูด้วยรูปแบบ SWIPPACA พบว่า ครูมีการดําเนินการเป็นไปตามรูปแบบ SWIPPACA คือ (1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง(S) (2) ครูทุกคนทั้งโรงเรียนร่วมปฏิบัติการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน(W) (3) ครูทุกคนในโรงเรียนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน(I) (4)  ครูทุกคนในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน(P) (5) โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนอย่างเป็นกระบวนการ(P) (6)  ครูในโรงเรียนสามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้(A) (7) โรงเรียนมีการตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาครู ชุดการเรียนรู้  ทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน(C) (8) โรงเรียนนำผลการตรวจสอบและการทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนมาพัฒนา  ปรับปรุง

     2.  ผลการใช้ชุดการเรียนรู้เรื่อง  “ความคิดสร้างสรรค์  พรสวรรค์ที่พัฒนาได้ด้วยครู”  พบว่า  ครูมีความพึงพอใจในชุดการเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้เรื่องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วยตนเอง นำความรู้มาลงมือปฏิบัติจริงโดยครูทุกคนมีโอกาสร่วมคิด  ร่วมวางแผน  ร่วมทำเพื่อพัฒนาผู้เรียน  และมีปฏิสัมพันธ์  มีการตรวจสอบ  นำผลปรับปรุงพัฒนา 

    3. ผลการเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนพบว่าก่อนพัฒนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ38.43  และหลังพัฒนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  46.69  แสดงว่าผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่วางไว้

หมายเลขบันทึก: 307230เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2009 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 03:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท