เรียนรู้การห้อยแขวนคำพิพากษาจากหนังเรื่อง “Adam’s Apple”


การดำเนินเรื่องของหนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยการชักจูงชี้นำให้คนดูคล้อยตามที่จะพิพากษาในตัวละครแต่ละตัว

หนังสัญชาติเดนมาร์กเรื่องนี้ผมได้มาจาก Lotus Express สาขาหมู่บ้านสินธร ย่านบางพูน มาในราคา 9 บาท เท่านั้นเอง แค่ราคาต้นทุนแผ่นยังไม่ได้ด้วยซ้ำ ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นหนังที่ขายไม่ออกแล้วนำมาลดราคา ดีกว่านำไปทิ้ง  แต่เท่าที่ผมได้อ่านเรื่องย่อ ผมคิดว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นหนังที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง หนังเรื่องนี้ใช้ชื่อภาษาไทยว่า “พระเจ้าแสบป่วน แอปเปิ้ลอดัม” เรื่องย่อของปกหนังกล่าวไว้ดังนี้

 

“อดัม แอปเปิ้ล ภาพยนตร์ตลกแฝงแง่คิด ของชายหนุ่มที่ชื่อ อดัม เขาถูกส่งตัวไปช่วยงานสังคมที่โบสถ์ ที่อีวานเป็นพระประจำโบสถ์ อีวานได้มอบหมายให้อดัมรับผิดชอบทำพายแอปเปิ้ล โดยให้ใช้ผลแอปเปิ้ลจากต้นแอปเปิ้ลที่อยู่ข้างหน้าโบสถ์ อดัมคิดอยู่ในใจว่า เรื่องกล้วยๆเแต่หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดพายุกระหน่ำ ฟ้าผ่าต้นแอปเปิ้ลที่อดัม หมายตาไว้จนเกือบตาย ทั้งยังมีนกและ.แมลงมากัดแทะผลแอปเปิ้ลจนเสียหาย อีวานคิดว่านี่คือเการกระทำของพวกปีศาจที่ต้องการจะกลั่นแกล้ง แต่อดัมกลับคิดว่ามันคือเบททดสอบความพยายามของอดัมที่พระเจ้าต้องการพิสูจน์”

 

ธีมของเรื่องจะเน้นให้เห็นเรื่องของการเรียนรู้ และแนวทางดำเนินชีวิตของแต่ละคน  โดยเฉพาะเรื่องการห้อยแขวนคำพิพากษา ซึ่งแสดงออกให้เห็นอยู่หลายตอน เช่น การที่อดัมทำร้ายร่างกายกันเนอร์เพื่อนร่วมห้องที่เขาคิดว่าเป็นคนขโมยโทรศัพท์ของเขา และมองว่าเป็นคนติดเหล้า แต่มารู้ภายหลังว่าเป็นการจิบยาแก้ไอ อีวานยังได้ทำร้ายบาทหลวงอีวานที่ไม่เชื่อหรือคล้อยตามความบอกเล่าของเขาว่า กันเนอร์เขาเป็นคนไม่ดี   บทบาทของบาทหลวงอีวาน เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของแนวคิดทางจิตวิญญาณ ทั้งๆ ที่อดีตที่ผ่านมาเขาต้องประสบกับเหตุการณ์เรื่องร้ายๆ มาตั้งแต่เกิด มาแม่ก็ตาย โตมาก็ถูกพ่อข่มขืน เขาเป็นคนที่มีขันติสูง ขันติโดยธรรมชาติ มองโลกในแง่บวกอย่างเข้าใจไม่ใช่มาจากการอดกลั้น จึงทำให้คิดว่าสิ่งที่จะทำให้อีวานโกรธนั้นไม่มี มีแต่ความเข้าใจผิดเท่านั้น  เป็นคนที่น่านับถือศรัทธา ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความเป็นผู้นำ ที่นำแบบไม่นำแต่ทำได้แนบเนียน จนสุดท้ายก็เป็นที่ยอมรับของอดัมในที่สุด

 

ผมคิดว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นหนังเรื่องหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงแนวคิดไปยังเรื่อง ”U Theory” ได้อย่างแนบเนียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Inner Voice  ต่างๆ  ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ตรงตามหลังของพุทธศาสนาในเรื่องความ “หลง” เช่น หลงเพราะลำเอียง หลงเพราะกลัว หลงเพราะอิจฉาริษยา เป็นต้น เรื่องการเรียนรู้ Open Herat/ Open Mind/ Open Will

 

การดำเนินเรื่องของหนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยการชักจูงชี้นำให้คนดูคล้อยตามที่จะพิพากษาในตัวละครแต่ละตัว ถ้าเราดูด้วยการพินิจพิเคราะห์พิจารณาและใช้สติใคร่ครวญอย่างดีแล้ว จะพบว่าสุดท้ายแล้ว ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ตรงตามหลักพุทธศาสนาที่ว่าไว้ว่า ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกอย่างไม่มีตัวตน (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

 

ภาพและข้อมูลบางส่วนจาก http://www.rottentomatoes.com/m/adams_apples/ และ www.impawards.com/2007/adams_apples.html

หมายเลขบันทึก: 306867เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2009 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท