การลดปวดสำหรับผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง


ผู้ป่วยเนื้องอกในสมองระยะสุดท้าย ให้ยาระงับปวดแล้วไม่ดีขึ้น มีอาการปวดมากตลอดเวลา นอนไม่ได้ หลังให้ dexamethasone และ haloperidol แล้วอาการดีขึ้นมาก

บันทึกประการณ์เยี่ยมบ้าน

ชื่อเรื่อง การลดปวดสำหรับผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

ผู้เล่า คุณศักรินทร์

แก่นของเรื่อง  ผู้ป่วยเนื้องอกในสมองระยะสุดท้าย ให้ยาระงับปวดแล้วไม่ดีขึ้น มีอาการปวดมากตลอดเวลา นอนไม่ได้ หลังให้ dexamethasone และ haloperidol แล้วอาการดีขึ้นมาก

เนื้อเรื่อง

ผป.ชายไทยอายุประมาณ 70 ปี เป็นโรคเก๊าท์ และมีปัญหาเดินลำบาก ทีมเยี่ยมบ้านจึงไปดูแลเรื่องอาการและฝึกเดิน

ต่อมา ผป.ซึมลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ญาติจึงนำส่ง รพ. แพทย์ส่งตรวจ CT Scan พบ Brain tumor ประเมินแล้วไม่สามารถผ่าตัดได้ เมื่ออธิบายให้ญาติและผู้ป่วยทราบจึงแนะนำการดูแลแบบ Palliative  care ในระยะแรกผู้ป่วยอาการปกติดี แต่ 2-3 สัปดาห์ถัดมา ผู้ป่วยเริ่มมีอาการสับสน   ดิ้น  ไม่นอน  พยาบาลไปเยี่ยมบ้านแล้วให้เบอร์โทรส่วนตัวไว้ วันรุ่งขึ้นญาติโทรศัพท์มาหาพยาบาลเยี่ยมบ้านบอกว่า ผู้ป่วยดิ้นมาก  ไม่นอน  ดูแลไม่ไหวแล้ว แต่พยาบาลเพิ่งลงเวรดึกไม่สามารถไปเยี่ยมบ้านได้ จึงแนะนำให้มา รพ. แต่ญาติไม่พาผู้ป่วยมาด้วย เมื่อมาพบแพทย์จึงไม่ได้ยากลับไป ตอนบ่ายวันนั้นพยาบาลเยี่ยมบ้านจึงนำไปปรึกษาแพทย์ แพทย์ให้ยา Dexamethasone 8 mg iv q 12 hr. และ  Hadoperidol 5 mg. IM stat (ฉีดครั้งเดียว) หลังฉีดยา ผป.ดีขึ้น นอนหลับได้ ไม่ทุรนทุราย กินน้ำกินอาหารได้บ้างจึงเปลี่ยน Dexamethason เป็น Prednisolone (5) oral 2 tab q 8 hr. ผู้ป่วยอยู่ได้อีก 2 สัปดาห์ต่อมา ผป.เสียชีวิตอย่างสงบ

ผู้บันทึก  คุณดวงแก้ว ชื่นวัฒนา       วันที่  17 กันยายน 2552

ประเด็นที่น่าสนใจ

  1. ผู้ป่วยเยี่ยมบ้านที่มีแนวโน้มอาการไม่คงที่ควรหาวิธีที่ติดต่อสะดวกไว้ให้ เช่น โทรศัพท์มือถือ/ที่บ้าน เผื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินจะได้ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือประสานงานให้ได้
  2. การเยี่ยมบ้าน การตรวจผู้ป่วยนอก และการนอนโรงพยาบาล เป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ แต่ละอย่างล้วนมีข้อเด่นข้อด้อยในตัวมันเอง การจัดการที่ดีจะช่วยลดภาระโรงพยาบาล ลดความลำบากของญาติ และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยได้ การประสานงานที่ดีระหว่างทีมเยี่ยมบ้านและทีมในรพ.เป็นสิ่งสำคัญมาก มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดความหงุดหงิด และเสียความน่าเชื่อถือได้
  3. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้านนั้นหากทีมเยี่ยมบ้านมีความรู้และความเข้าใจจะได้ผลดีไม่แพ้ รพ.
  4. อาการปวดศีรษะจาก brain tumor มักเกิดจากแรงดันในกะโหลกศีรษะขึ้นสูง Dexamethasone หรือ Prednisolone จะได้ผลดีกว่า morphine  การให้ Haloperidol ใช้ได้หากมีอาการกระวนกระวายมาก

ผู้สรุปประเด็น นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์

 

 

คำสำคัญ (Tags): #brain tumor#home health care#palliative care
หมายเลขบันทึก: 306223เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในการช่วยเรื่อง pain ในผู้ป่วย Brain tumor นั้นอาจใช้การฉายแสงช่วยก็ไได้นะคะ (RT palliative)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท