การเดินเครื่องและเลิกเครื่องทำความเย็น


การเดินเครื่องและเลิกเครื่องทำความเย็น

การเดินเครื่องและเลิกเครื่องทำความเย็น

โดยปกติแล้วการทำงานของเครื่องทำความเย็นจะถูกตั้งไว้โดยอัตโนมัติกล่าวคือจะตั้งCompressor  ให้ทำงานตามสภาพ  Load  ปริมาณความร้อนที่จะต้องถ่ายเทมาก  (ภาระ Load มาก) การทำงานของ Compressor จะต้องมากตาม ทั่งนี้เพราะความสามารถในการถ่ายเทความร้อนของ Condenser คงที่แต่สภาพการถ่ายเทความร้อนในระบบไม่คงที่ แต่ถ้าหากภาระ Loadเครื่อง Compressor ก็จะไม่ต้องทำงานมาก ก็สามารถถ่ายเทความร้อนออกจากภาระ Load ได้หมด

การทำงานของ Compressor อัตโนมัตินี้จะอาศัยหลักของความแตกต่างของแรงดันของ Suction และ Discharge ของ Compressor ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ด้วย Diffe -rention Switch กล่าวคือ หากความดันในระบบก่อนเข้า Compressor ลดน้อยลงในระดับหนึ่ง Compressor จะทำงานจนด้าน Discharge มีกำลังดันที่เหมาะสมแล้ว Com -pressor จะหยุดทำงานจนกว่าความดันในระบบจะมีความแตกต่างกันตามที่ตั้งไว้Compres- sor จะทำงานอีกเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ

สำหรับการ Start และ Stop  ของเครื่องทำความเย็นระบบอัตโนมัติ การเดินเครื่องเพียง แต่กด Switch Start เมื่อต้องการเดินเครื่องเท่านั้น แล้วตั้งการทำงานไว้ที่ Auto เท่านั้น เครื่องก็จะทำงานตามสภาพของภาระ Load โดยอัตโนมัติ

กรณีที่ต้องการหยุดการทำงานของระบบทำความเย็นเป็นเวลานาน ๆ หรือเพื่อการซ่อมทำควรมีการถ่ายสารทำความเย็นที่มีอยู่ในระบบสู่ถังเก็บน้ำยา Receiver ในที่นี้ก็คือConden ser นั่นเอง วิธีการเก็บสารทำความเย็นนี้เรียกว่า การ Pump Down เพราะหากปล่อยไว้ในระบบอาจจะทำให้สารทำความเย็นบางส่วนรวมตัวกับน้ำมัน เพราะสารทำความเย็นจะมีความ มากกว่าจึงตกลงมา  ส่วนล่างของ Compressor ในที่นี้หมายถึง ห้อง Crank นั่นเองซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตาม มา เช่น Compressor พังระบบมีน้ำมันเข้าไปจับตามท่อทางทำให้ การถ่ายเทความร้อน เป็นไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร เป็นต้น ทั้งนี้เพราะเหตุผล คือ

- น้ำมันเป็นสารที่อัดตัวไม่ได้ ซึ่งแตกต่างจากสารทำความเย็นจึงทำให้เครื่องเสียหายได้

- สารผสมระหว่างน้ำมันกับสารทำความเย็น เมื่อระเหยแล้วจะทำให้มีฟองเกิดขึ้น น้ำมัน จึงมีโอกาสติดไปกับสารทำความเย็นได้

- น้ำมันหล่อลื่นในห้อง Crank หายไปกับระบบทำให้ไม่มีน้ำมันหล่อลื่นที่เพียงพอสำ -หรับ การหล่อลื่น Bearing และลูกสูบของ Compressor

เดินเครื่องทำความเย็น

1.เดินปั๊มน้ำหล่อเย็น Condenser ซึ่งปกติจะเก็บไว้ตลอดเวลาอยู่แล้ว

2. เดิน Blower ของชุด Thermal Fan Units สำหรับระบบปรับอากาศ

3. เปิดวาล์วทาง Suction และ Discharge ของ Compressor

4. Start Compressor ซึ่งขณะเริ่มต้นเดินเครื่องนี้ ภาระของเครื่องยังน้อยอยู่ เพราะน้ำ- ยาในระบบก่อนเข้า Compressor มีน้อย เครื่องจะ Cut Off บ่อยครั้ง ในกรณีที่ตั้ง Auto ไว้ 

5. เปิดวาล์วทางเข้าของ Condenser และค่อย ๆ เปิดวาล์วทางออกของ Condenser

6. ตรวจสอบกำลังดันต่าง ๆ ทั้งทางดูดและส่งของ Compressor ,L.O. Pressure ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติหรือไม่

การเลิกเครื่องทำความเย็น

ก่อนที่จะทำการเลิกเครื่องควรที่จะทำการเก็บน้ำยาทำความเย็นไว้ใน Receiver ก่อน เพื่อรักษาคุณภาพของสารทำความเย็นเอาไว้โดยการ  Pump  Down  เสร็จแล้วให้เลิก Com- pressor และอาจจะเลิกหรือไม่เลิกระบบน้ำหล่อเย็นของ Condenser ก็ได้ สำหรับระบบปรับอากาศให้ทำการเลิก Blower หรือไม่เลิกก็ได้

 

หมายเลขบันทึก: 306107เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 09:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับได้ความรู้เกี่ยวกับแอร์อีกแล้ว

การหยุดเครื่องทำความเย็นแบบสกรู หยุดทันที มีผลเสียอะไรไม๊ครับ เพราะมีการเดินเครื่อง และหยุดเครื่องทุกวันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท