"สัจจะ" นิยมสร้าง "สังคม" ให้ “สมดุล” ...


หากบุคคลใดมีความซื่อสัตย์ย่อมเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจของบุคคลทั่วไปนะครับ...

           "สัจจนิยมสร้างสังคมให้สมดุล" เป็นสโลแกนหาเสียงของพรรคชาติไทยเมื่อหลายปีที่แล้วครับ ผมฟังแล้วรู้สึกว่าใช่และประทับใจมาตั้งแต่ครั้งนั้นครับ แม้ความหมายของสโลแกนนี้อาจจะแตกต่างจากความหมายที่ผมสื่อในบันทึกนี้ของผม เพราะสโลแกนนี้อาจจะมีนัยยะถึงปรัชญาสัจจนิยม (Realism) …

 

         มาถึงวันนี้เมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ คำกล่าวนี้มักจะผุดขึ้นในความรู้สึกและความคิดของผมเสมอครับ...

 

          "สัจจะ" ถ้าให้ความหมายตาม วิกิพิเดีย มีความหมายว่า  ความสัตย์ ความซื่อ ถ้าขยายความตามศัพท์แยกได้ 3 ลักษณะคือ มีความจริง ความตรง และความแท้ จริง คือ ไม่เล่น ตรง คือ ความประพฤติทางกาย วาจา ตรงไม่บิดพลิ้ว ไม่บ่ายเบี่ยง แท้ คือ ไม่เหลวไหล

 

                              

 

           ซึ่งหากมองในแต่ละบุคคลแล้ว หากบุคคลใดมีความซื่อสัตย์ย่อมเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจของบุคคลทั่วไปนะครับ แม้แต่ผู้คนใกล้ชิดที่อยู่รอบข้างก็ตาม หากเขาประพฤติตัวของเขาด้วยแนวทางแห่ง "สัจจะ" เขาย่อมได้รับการยอมรับจากทุก ๆ คนครับ...

 

           ในส่วนของสังคมของเราที่ขาด ความไว้เนื่อเชื่อใจกัน (trust) ส่วนหนึ่งที่น่าจะเกิดมาจากแนวทางการดำเนินชีวิตของผู้คนที่ไม่ได้ยึดแนวทางแห่งสัจจะ ดำเนินชีวิตแบบขาดความจริงแท้ ขาดความซื่อตรง บิดพลิ้วไปมาไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจาหรือทางใจนะครับ...

 

            ผมว่า...หากสังคมและผู้คนในสังคมของเราได้ หันมาตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องของ "สัจจะ" คือความจริงแท้แล้วด้วย สังคมของเราคงจะกลายเป็นสังคมที่ "สมดุล" และดำเนินไปภายใต้ความ "พอดี" ได้สักวันนะครับ...

 

หมายเลขบันทึก: 306080เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ถ้าผู้บริหารประเทศเรามีสัจจะ กันบ้าง สังคมคงจะสมดุลกว่านี้ ถ้ามีกันทุกคน ประชาชนส่วนใหญ่คงจะมีความสุขมากเลยค่ะ คุณ direct

สวัสดีค่ะท่าน Direct

สังคมขาดสัจจะและโหยหามัน...เพราะปัจเจกบุคคลไม่ได้ให้ความสำคัญกับสัจจะ...ว่าเป็นพื้นฐานของชีวิตค่ะ ^-^

เห็นด้วยกับท่าน Direct ครับข้อบันทึกในวันนี้

ในส่วนของสังคมของเราที่ขาด ความไว้เนื่อเชื่อใจกัน (trust) ส่วนหนึ่งที่น่าจะเกิดมาจากแนวทางการดำเนินของผู้คนที่ไม่ได้ยึดแนวทางแห่งสัจจะ ดำเนินชีวิตแบบขาดความจริงแท้ ขาดความซื่อตรง บิดพลิ้วไปมาไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจาหรือทางใจนะครับ...

ข้อความที่ยกมาข้างต้น เห็นได้ชัดในนักการเมืองไทยครับ

ขอบคุณครับ

ค่ะ..."สัจจะ" ถือเป็นสมบัติพื้นฐานของสมาชิกในสังคมเลยค่ะ...ทำอย่างไรถึงเราจะได้มา..นี้คือโจทย์ใหญ่โดยเฉพาะคนเป็นครูแบบครูนกในห้องเรียนเราต้องมีการให้สัจจะกันในคาบแรกว่า กติกาและข้อตกลงร่วมกัน...จะตกลงกันอย่างไร แต่หลังจากนั้นทั้งครูและศิษย์ก็ต้องทำตามกติกาและข้อตกลงที่ให้กันไว้

ครับ... คุณ P tukky

เห็นด้วยเลยครับ...

เป็น "คุณธรรม" ที่ผู้คนในสังคมควรมีกันนะครับ...

ขอบคุณครับผม...

ครับ... P คุณ Miss Silvia Irfan Befani

เรื่องของ "สัจจะ" สำคัญที่ปัจเจกนะครับ...

หากบุคคลไม่ให้ความสำคัญกับสัจจะแล้ว สังคมก็ลำบากนะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

ครับ... P คุณ ภราดร พัชรวรรณ

ผมว่าทั้ง "ความไว้เนื้อเชื่อใจ" และ "สัจจะ" หากคนในสังคมมีมากขึ้น น่าจะนำพาสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้นนะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

ครับ... P คุณ noktalay

"ครู" เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญในการเป็น "แบบอย่าง" และ "บ่มเพาะ" สิ่งเหล่านี้ให้กับเด็ก ๆ นะครับ...

เป็นกำลังใจให้คุณครูและเยาวชนของชาติด้วยครับ...

ขอบคุณครับผม...

เห็นด้วยค่ะว่าขาดทั้งระดับตัวบุคคลและสังคมนะค่ะ

สวัสดีค่ะ...

คำว่า "สัจจะ" ที่ก่อเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงนั้น...น่าจะเกิดจากมิติที่หลากหลาย เช่น ผู้พูดเป็นใคร เจตนาของผู้ให้สัจจะนั้นเป็นเช่นไร สัจจะที่เปล่งมาว่าอย่างไร เป็นไปในทางที่ทำให้เสื่อมหรือทางส่งเสริมเพิ่มพูนความดีงาม สัจจะมีที่มาอย่างไร หมายถึงถูกบังคับให้พูดหรือเต็มใจพูด...

แน่นอนที่สุดว่า...หากสัจจะนั้น เป็นสัจจะแห่งการก่อเกิด เมื่อได้ทำตามสัจจะนั้น ย่อมดีแท้ทั้งต่อตนและสังคม...แต่หากสัจจะเพื่อการกอบโกยประโยชน์ให้พวกพ้อง เพื่อตนเองล่ะ...สังคมจะเป็นเช่นไรหนอ...เมื่อคนเหล่านั้นตามตามสัจจะของตน...Vij ลองคิดในมุมกลับนะค่ะ...

ขอบพระคุณมากค่ะ...สำหรับบันทึกที่ทำให้ก่อเกิดความคิดที่หลากหลาย

ครับ... P คุณ ศรีวิรัตน์

เริ่มต้นที่ตัวเราและส่งเสริมให้เกิดขึ้นในสังคมนะครับ...

ขอบคุณครับผม...

ครับ... P คุณ Vij

เรื่อง "เจตนา" แห่ง "สัจจะ" ก็สำคัญนะครับ...

เจตนาไม่ดีย่อมนำพาผลแห่งความไม่ดีให้เกิดขึ้นนะครับ...

ขอบคุณมากเช่นกันนะครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท