อบรมTQF


กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552

15 ตุลาคม 2552

ดิฉันได้มีโอกาสร่วมจัดงานประชุมเรื่อง เรื่อง “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552” เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นประสบการณ์จัดงานประชุมร่วมกับเครือข่ายภาคใต้ตอนบนเป็นครั้งแรก ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่สำหรับวงการอุดมศึกษาที่จะต้องมาร่วมกันเรียนรู้เพื่อนำไปป็นแนวทางในการพัฒนาและจัดมำหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ฟังชื่อแล้วดูเหมือนเป็นเรื่องใหม่และเรื่องใหญ่แต่ในเนื้อหาแก่นแท้แล้วเป็นเรื่องที่ปฎิบัติกันอยู่แล้วเพียงแต่กรอบที่กำหนดขึ้นมานี้เป็นการนำเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับหลักสูตรเกี่ยวกับการพัฒนาอาจารย์และนักศึกษารวมถึงการไปสหกิจของนักศึกษามารวมรวบไว้เป็นหนึ่งเดียว สามารถหาข้อมูลต่างๆได้จากหลักสูตรนั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและง่ายต่อการค้นหา

หมายเลขบันทึก: 306053เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
"ระบบ"(Quality system)เป็นหลักประกันคุณภาพ(Quality Assurance)ตามมาตรฐานสากล และ"ระบบ"เป็นหัวใจของการปฏิรูปการบริหารของโลกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไข พ.ศ. 2545 ให้มี"ระบบ"ประกันคุณภาพการศึกษา ดังนั้น "ระบบ"จึงเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาเช่นเดียวกัน สาเหตุที่ประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษา เห็นได้ที่ต้องมีการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 อุปสรรคของความสำเร็จอยู่ที่ความสับสนเรื่อง"ระบบ" และ "เกณฑ์มาตรฐานการศึกษา"(Education Criteria) 1. "ระบบ"หมายถึงชุดวิธีปฏิบัติงาน(Set of management practices or Quality system) ออกมาในรูประเบียบวิธีปฏิบัติงาน(Work Instruction) หรือ คู่มือ (Manual) 2. "เกณฑ์มาตรฐานการศึกษา" ที่ปฏิรูปการศึกษาล้มเหลวเป็นเพราะไม่เลือกมาตรฐานการศึกษาที่ดีมาเป็นเกณฑ์ เช่น เกณฑ์ มาตรฐานบอลริจ(Baldrige Criteria) เป็นเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาที่ดีเลิศ Education Criteria for Performance Excellence ซึ่งมี 7 ข้อ โดยมีผู้นำ(Leadership)เป็นตัวขับเคลื่อนระบบต่างๆ...การประเมินคุณภาพการศึกษาก็ประเมินที่"ผู้นำ" เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา ว่าขับเคลื่อน(บริหาร)ระบบต่างๆดีแค่ไหน เช่น ระบบบริหารคน(Workforce system)...ระบบกระบวนการปฏิบัติ(Process Management)...โดยมีการวัด, วิเคราะห์ และจัดการความรู้เพื่อปรับปรุง(Measurement, Analysis, and Knowledge Management) สาเหตุความล้มเหลว: เกณฑ์มาตรฐานการประเมินไม่เป็นระบบ และขาดเกณฑ์"ผู้นำ"(Leadership) ทำให้ไม่สามารถประเมินผู้บริหารสถานศึกษาว่าบริหารระบบได้ดีมากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างความล้มเหลว คือ เกณฑ์การประเมินของ สมศ. และ TQF ของ สกอ.ก็มิใช่การบริหาร"ระบบประกันคุณภาพการศึกษา"ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับที่แก้ไข พ.ศ. 2545 แต่ประการใด การแก้ไข: การที่มีข่าวว่า จะมีการใช้เกณฑ์บอลริจ Baldrige Criteria มาเป็นเกณฑ์ของการปฏิรูปการศึกษานั้นถูกต้องแล้ว และสามารถแก้ไขการปฏิรูปการศึกษาได้ทุกระดับด้วย ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท