การซื้อและการจ้าง
ปัจจุบันสถานศึกษาส่วนมาก
จะนิยมใช้วิธีการซื้อและการจ้างในการจัดหาพัสดุ
มากกว่าวิธีอื่น ๆ ( วิธีการจัดหา
การแลกเปลี่ยน การแปรสภาพ ฯลฯ ) เพราะการซื้อ
และ
การจ้างเป็นวิธีการที่ง่ายต่อการปฏิบัติงาน
มีขั้นตอนในการทำงานโปร่งใส
และยังสามารถจัดหาพัสดุที่มีคุณภาพได้สะดวกและรวดเร็วอีกด้วย
วิธีการซื้อและการจ้าง มีอยู่ 5 วิธีคือ
วิธีที่ 1 วิธีตกลงราคา ( กรณีปกติ )
เป็นวิธีการซื้อการจ้างที่มีวงเงินการดำเนินการไม่เกินครั้งละ
100,000.- บาท
สถานศึกษามักนิยมปฏิบัติกันมากเนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายต่อการจัดหาพัสดุ
ได้พัสดุมีคุณภาพ
ประกอบกับวิธีตกลงราคาสามารถจัดซื้อหรือจ้างได้จากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาแม้ว่ามิได้จดทะเบียนพาณิชย์ก็ตามและมีขั้นตอนในการปฏิบัติ
ไม่ยุ่งยาก และไม่เกินอำนาจอนุมัติของสถานศึกษา
แยกได้เป็น 2 กรณีคือ
กรณีที่ 1
การตกลงราคาตามปกติ
กรณีที่ 2
การตกลงราคากรณีเร่งด่วน
วิธีตกลงราคาตามปกติ
มีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ
1) ขั้นตอนการเตรียมการซื้อ
การจ้าง ดำเนินการตรวจสอบงบประมาณ
รูปแบบรายการ จัดทำราคากลาง
2) ขั้นตอนการจัดทำรายงานขอซื้อ ขอจ้าง
การจัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างจึงต้อง
มีความละเอียดรอบคอบและมีข้อมูลครบถ้วน
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ
ได้กำหนดรายการข้อมูลที่มีความจำเป็นไว้ในรายงานขอซื้อขอจ้างไว้
7 ประการ คือ
2.1
เหตุผลและความจำเป็นในการซื้อการจ้าง
เช่นถ้าต้องการซื้อแผ่นซีดีอาร์
เหตุผลความจำเป็น คือเพื่อเก็บข้อมูลนักเรียนรายคน
เป็นต้น
2.2
รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง คือ
รายการวัสดุที่ต้องการจัดซื้อ
หรือจ้างจำนวนที่หน่วยซื้อหรือจ้าง
ราคาต่อหน่วย
2.3
ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการหรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา
2 ปีงบประมาณ
2.4
วงเงินที่จะซื้อหรือจ้างที่ต้องการใช้ในครั้งนั้น
และเป็นการตรวจสอบ
งบประมาณว่ามีงบประมาณเพียงพอที่ใช้ซื้อ
จ้างหรือไม่
2.5
การกำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้นหรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ
ซึ่งมีความ จำเป็นอย่างยิ่ง
เพราะถ้าหากว่าเมื่อดำเนินการซื้อ
การจ้างเสร็จแล้วแต่ล่วงเลยเวลาที่ต้องการใช้
เป็นการสูญเสียโอกาสที่ใช้ประโยชน์พัสดุนั้นอย่างทันท่วงที
ดังนั้นในการกำหนดเวลาที่แล้วเสร็จต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่จะต้องการใช้
2.6
วิธีการจัดซื้อหรือจัดจ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น
เช่น
ถ้าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000
บาท ก็จะเป็นวิธีการซื้อ
การจ้างโดย
วิธีตกลราคา ถ้าวงเงินครั้งหนึ่งเกิน 100,000 บาท
แต่ไม่เกิน 2,000,000
บาทจะเป็น
วิธีสอบราคา ถ้าวงเงินเกิน 2,000,000
บาท จะเป็นการซื้อการจ้างโดยวิธีประกวดราคา
เป็นต้น เมื่อสถานศึกษาได้รับงบประมาณเป็นก้อน
การกำหนดวิธีซื้อ/จ้าง จะมีผลต่อ
คุณภาพของพัสดุที่ซื้อ/จ้าง
และ ข้อกำหนดของระเบียบการพัสดุ
จึงจะต้องพิจารณกำหนด
วิธีซื้อ หรือจ้าง อย่างรอบคอบมิให้เป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง
2.7 ข้อเสนอแนะอื่น
ๆเช่นการขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่าง
ๆ ใน
การซื้อ การจ้างให้สอดคล้องกับวงเงินที่จะซื้อ/จ้าง
และความรู้ความสามารถของกรรมการ
3) ขั้นตอนการแต่งตั้งคณะกรรมการ
ผู้ตรวจรับพัสดุ หรือผู้ตรวจรับการจ้าง
4)
ขั้นตอนการหาผู้ขายหรือผู้รับจ้าง
โดยการคัดเลือกผู้ขายหรือผู้รับจ้าง และดำเนินการ
สั่งซื้อ และสั่งจ้าง
5) เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือคณะกรรมการ
ดำเนินการคัดเลือกพัสดุที่มีคุณลักษณะและคุณภาพ
ที่ต้องการและตรวจรับพัสดุ
วิธีตกลงราคากรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้
คาดหมายไว้ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน
กรณีมีความจำเป็นและเร่งด่วน
ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน
และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน เช่น
ขับรถราชการไปปรากฏว่ากระจกรถยนต์แตกจำเป็นต้องเปลี่ยนกระจกทันทีไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถเดินทางไปปฏิบัติราชการต่อได้
หากจะกลับสถานศึกษาก่อน
เพื่อให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานจ้างเปลี่ยนกระจกก็จะไปราชการไม่ทัน
เป็นต้น กรณีนี้ต้องพิจารณาตามเหตุผลความจำเป็น เป็นกรณี
ๆ ไป
อย่างกรณีครูที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ไม่มีฟิล์มถ่ายรูปไว้บันทึกภาพกิจกรรมนักเรียน
เพราะไม่ได้ซื้อหรือขอเบิกไว้ก่อนและได้ใช้เงินส่วนตัวซื้อจากร้านค้าใกล้เคียงในราคาแพงกว่าปกติ
เพื่อให้สามารถบันทึกภาพได้ย่อมไม่เข้าองค์ประกอบของกรณีนี้
เพราะควรอยู่ในความคาดหมายไว้ก่อนว่าจะต้องใช้ฟิล์มถ่ายรูปเพื่อกิจกรรมนี้เท่าใดต้องดูความเหมาะสมจำเป็นประกอบด้วย
ขั้นตอนหรือกระบวนการจัดซื้อ จ้าง โดยจำเป็น
เร่งด่วนและมิอาจคาดหมายล่วงหน้า
1. เจ้าหน้าที่พัสดุ
หรือผู้รับผิดชอบโครงการ / กิจกรรมดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
2.
เรียกใบเสร็จรับเงินที่สมบูรณ์จากผู้ขายหรือผู้รับจ้าง
3.
นำหลักฐานใบเสร็จรับเงินจัดทำรายงานขอความเห็นชอบการจัดซื้อจัดจ้าง
กรณีเร่งด่วน
ผ่านเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อตรวจสอบระเบียบปฏิบัติ
จำนวนงบประมาณและ
ความเห็นอื่น เสนอขอความเห็นชอบต่อผู้บริหารสถานศึกษาต่อไป
4. นำพัสดุมาลงบัญชี ทะเบียน
วิธีที่ 2 วิธสอบราคา คือการซื้อ
การจ้าง ที่วงเงินตั้งแต่ 100,001 – 2,000,000 บาท
มีวิธีการดำเนินการ คือ
1) ขั้นเตรียมการ
โดยการสำรวจพัสดุและปริมาณพัสดุที่ต้องการใช้ อาจจัดทำในรูปของ
การแต่งตั้งคณะกรรมการก็ได้
รวมทั้งการจัดทำแผนการดำเนินการในการสอบราคา
โดยการจัดทำรายงานการขอซื้อ ขอจ้าง โดยมีสาระ 7
ประการ
1.1 เหตุผลและความจำเป็นในการซื้อการจ้าง
1.2
รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง คือ
รายการวัสดุที่ต้องการจัดซื้อ หรือจ้าง
จำนวนที่หน่วยซื้อหรือจ้าง ราคาต่อหน่วย
1.3
ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการหรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา
2 ปีงบประมาณ
1.4
วงเงินที่จะซื้อหรือจ้างที่ต้องการใช้ในครั้งนั้น
และเป็นการตรวจสอบงบประมาณว่ามีงบประมาณเพียงพอที่ใช้ซื้อ
จ้างหรือไม่
1.5
การกำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้นหรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ
ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากว่าเมื่อดำเนินการซื้อ
การจ้างเสร็จแล้วแต่ล่วงเลยเวลาที่ต้องการใช้
เป็นการสูญเสียโอกาสที่ใช้ประโยชน์พัสดุนั้นอย่างทันท่วงที
ดังนั้นในการกำหนดเวลาที่แล้วเสร็จต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่จะต้องการใช้
1.6
วิธีการจัดซื้อหรือจัดจ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น
เช่น วงเงินครั้งหนึ่งเกิน 100,000 บาท
แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาทจะเป็นวิธีสอบราคา
ถ้าวงเงินเกิน
2,000,000 บาท
จะเป็นการซื้อการจ้างโดยวิธีประกวดราคา เป็นต้น
เมื่อสถานศึกษาได้รับงบประมาณเป็นก้อน
การกำหนดวิธีซื้อ/จ้าง
จะมีผลต่อคุณภาพของพัสดุที่ซื้อ/จ้าง
และข้อกำหนดของระเบียบการพัสดุ
จึงจะต้องพิจารณากำหนดวิธีซื้อหรือจ้างอย่างรอบคอบมิให้เป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง
1.7 ข้อเสนอแนะอื่น
ๆเช่นการขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ในการซื้อ
การจ้างให้สอดคล้องกับวงเงินที่จะซื้อ/จ้างและความรู้ความสามารถของกรรมการ
ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการ
ตรวจรับการจ้าง
2) เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำประกาศและเอกสารสอบราคาซื้อ
จ้าง ตามตัวอย่างที่ กวพ.
กำหนด โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษาลงนามในประกาศ ทั้งนี้
ในการดำเนินการจะต้องมีการจัดส่งเอกสารเพื่อเผยแพร่ให้ทราบโดยทั่วกัน
อาจใช้วิธีเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
จัดปิดประกาศ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 วัน
และการจัดส่งประกาศพร้อมเอกสารสอบราคาไปให้ผู้มีอาชีพขาย
หรือรับจ้าง
3) รับซองและเก็บรักษา
เจ้าหน้าที่พัสดุรับซองสอบราคา ตามวัน เวลา
ที่กำหนดใน
ประกาศ
พร้อมออกใบรับให้ผู้เสนอราคาและจัดทำทะเบียนรับซองไว้ด้วย
เพื่อหมดเวลารับซองสอบราคาในแต่ละวันให้เจ้าหน้าที่พัสดุรวบรวมซองเสนอราคาและเอกสารส่งมอบให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเก็บรักษาเพื่อพ้นกำหนดวันปิดประกาศรับซองสอบราคา
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุส่งมอบซองเสนอราคาทั้งหมดละเอกสารหลักฐานต่าง
ๆ
พร้อมรายงานผลการรับซองสอบราคาต่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาโดยพลัน
4)
การพิจารณาคุณสมบัติผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันและประกาศชื่อ
และ
เปิดซองใบเสนอราคา
5) ขั้นตรวจสอบ
ตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขเอกสารสอบราคาซื้อ จ้าง
และ
การพิจารณาคัดเลือกคุณภาพ
และคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ หากเป็นพัสดุที่มีคุณสมบัติเฉพาะ
เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์
อาจมีหนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเข้าร่วม ตรวจสอบได้
เพื่อให้ได้พัสดุ
ที่มีคุณภาพ
6) เสนอผลการพิจารณาคัดเลือกผู้ขาย หรือผู้รับจ้าง
เพื่อขออนุมัติผู้บริหารสถานศึกษา
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกและแจ้งให้มาทำสัญญา
7) การตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
ที่ได้รับแต่งตั้ง ตรวจรับพัสดุ เมื่อผู้ขาย หรือ
ผู้รับจ้าง ส่งมอบพัสดุถูกต้องตามสัญญา และ ต้องตรวจรับ ณ
ที่ทำการของผู้จัดหาพัสดุ หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ตามสัญญา
คณะกรรมการตรวจรับ จะต้องทำการตรวจรับ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์
และรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ
เพื่อส่งมอบเอกสารจัดซื้อจัดจ้างให้ เจ้าหน้าที่การเงิน
ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินต่อไป
แผนภูมิ / ขั้นตอนการซื้อ / จ้าง โดยวิธีสอบราคา
อยากให้ลงตัวอย่างการสอบราคาจ้างและ
เอกสารท่ใช้
สำนักงบประมาณโอนงบประมาณชื่อรายการเดียวแต่แยกเป็น 2 รายการ สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแยกกันได้หรือไม่ ขอทราบหลักเกณฑ์การแบ่งซื้อแบ่งจ้างดัวยคะ ว่ากรณีไหนเข้าข่ายการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง ขอตัวอย่าง ขอบคุณค่ะ
ติดตั้งกล้องวงจรปิด 1 ชุด เป็นเงินทั้งหมด 130,000 เป็นค่าวัสดุครุภัณฑ์คือ ตัวกล้อง เครื่องบันทึกภาพ ประมาณ 60,000 และเป็นค่าแรงติดตั้ง 8,000 และค่าสายสัญญาณ และอุปกรณ์ติดตั้งอีก 60,000 กว่า จะแยกเป็นวื้อ 60,000 และจ้าง 60,000 จะเรียกว่าแบ่งซื้อแบ่งจ้างมั๊ยคะ หรือจะต้องสอบราคาจ้างเพราะเมื่อรวมทั้งสองยอดมันป็นเงิน 130,000 รวมภาษี เพราะถ้าแบ่งเป็นซื้ออุปกรณ์ และจ้างมาติดตั้งมันเป็นร้านเดียวกัน
อยากทราบว่าในบันทึกข้อความรายงานขอซื้อให้ ที่ อะไร
ที่เคยทำมาจะใช้เลขที่บันทึกข้อความของงานพัสดุ
แต่พอเปลี่ยนผอ. แกให้ใช้เลขที่หนังสือส่ง