ความหมายและอำนาจหน้าที่


ตำรวจ

ตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี เล่มที่ 1 ภาคที่ 1 ลักษณะ 1 บทที่ 1 โดยกำหนดหน้าที่ทั่วไปของกรมสำนักงานไว้ดังนี้

 1. รักษาความสงบเรียบร้อยทั้งภายใน และภายนอกเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน

2. รักษากฎหมาย ที่เกี่ยวแก่การกระทำผิดในทางอาญา

 3. บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้แก่ประชาชน

4. ดูแลรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะ

 

 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2478 กำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของตำรวจ ไว้พอสรุปได้ดังนี้

 1. ตำรวจ เป็นเจ้าพนักงาน ผู้มีหน้าที่รักษาความสงบของประชาชน

 2. ตำรวจ เป็นพนักงานสอบสวน ย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีอาญา ภายในเขตอำนาจของตนตามที่กำหนดไว้ ในประกาศกระทรวงมหาดไทย

 3. อำนาจการจับกุม ผู้กระทำผิดในคดีอาญา อาจเป็นทั้งในกรณีที่มีหมายค้น และไม่มีหมายจับรวมถึงการค้นตัวในที่สาธารณสถาน

4. อำนาจควบคุมตัวผู้กระทำผิด ที่ถูกจับไว้ได้ตามกำหนด เวลา ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

5. อำนาจตรวจค้นเคหสถาน ที่อยู่อาศัย และสำนักงานของบุคคล อันเป็นที่รโหฐาน ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

 

“ต” หมายถึง ตรวจตรา จับกุม ผู้กระทำผิดตามหน้าที่

 

“ ำ” หมายถึง อำนวยความสะดวกให้ประชาชน

         

 “ร” หมายถึง ระงับเหตุ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

 

  “ว” หมายถึง วาจาดี มีกริยาสุภาพ

 

 “จ” หมายถึง จรรยาดี มีศีลธรรม

       P มาจาก Politeness หมายถึง ความสุภาพเรียบร้อย

 

 

        O มาจาก Obedience หมายถึง เชื่อฟังคำสั่ง

        L มาจาก Legal Knowledge หมายถึง รู้กฎหมาย

 

        I มาจาก Investigation หมายถึง การสืบสวน สอบสวน

 

        C มาจาก Cooperation หมายถึง ความร่วมมือ สามัคคี ในหน้าที่

 

 

        E มาจาก Energy หมายถึง ความเข้มแข็ง ต่อการงานในหน้าที่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #police
หมายเลขบันทึก: 305737เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2009 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท