การศึกษาไทยในบุคแห่งการเปลี่ยนแปลง>>ปรัชญาการศึกษา (3)


ปรัชญาการศึกษาไทย มีฐานความคิดมาจากปรัชญาใด

การบ้านข้อที่ 3 ปรัชญาการศึกษาไทย มีฐานความคิดมาจากปรัชญาใด

ปรัชญาการศึกษาไทยมีผู้ให้แนวคิดสำคัญๆคือ

ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธรรม โดย พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ปยุตโต) สรุปได้ว่าการศึกษามีวัตุประสงค์เพื่อทำให้ชีวิตเข้าถึงอิสรภาพคือ ทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของปัจจัยแวดล้อมภายนอกให้มากที่สุด และมีความเป็นใหญ่ในตัว ในการที่จะกำหนดความเป็นอยู่ของตนให้ได้มากที่สุด พระราชวรมุนี (ประยุตธ์ ปยุตโต) ได้กล่าวว่า การศึกษาจึงเป็นกิจกรรมของชีวิตโดยชีวิตและเพื่อชีวิต บนฐานความคิดข้างต้นกระบวนการศึกษาจึงควรประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญดังนี้

                        1.การมีความรู้ ความเข้าใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงสามารถฝึกอบรบและพัฒนาได้โดยใช้ไตรสิกขา 1 ศีล การประพฤติปฏิบัติถูกต้อง 2 สมาธิ การวางใจแน่วแน่ 3 ปัญญา การเห็นทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมและถูกต้อง

                        2.การปรับตัวเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการดำรงอยู่

                        3.การรู้จักและเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของตนกับสิ่งแวดล้อม

ความสัมพันธ์ของปรัชญ์การศึกษากับการสอน

          “ปรัชญา”มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525ว่าเป็น วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง ปรัชญาการศึกษากับทฤษฎีการศึกษาไว้ว่าปรัชญาการศึกษาเป็นเรื่องของความคิดหรือระบบของความคิดที่เกี่ยวกับการศึกษาที่ตั้งไว้บนรากฐานของปรัชญาแม่บทอันใดอันหนึ่งไม่ใช่เป็นความคิดแบบล่องลอยแต่ต้องเป็นความคิดที่แตกหน่อออกมาจากปรัชญาแม่บทอันใดอันหนึ่ง ถ้าไม่ได้แตกหน่อออกมาจากปรัชญาแม่บทใดๆแล้ว จะเป็นเพียงหลักการศึกษาหรือฎีกาศึกษา ดังนั้นปรัชญาการศึกษาจึงมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างลึกซึ้งในฐานะที่เป็นหลักหรือเหตุผลของการคิดและการกระทำต่างๆในด้านการจัดการศึกษาและการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน

      ถ้าเราต้องการที่จะวิเคราะห์เรื่องการศึกษาของไทย ว่ามีการได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาใด คงต้องเริ่มจากการศึกษาจากวิวัฒนาการของการศึกษาในประเทศไทย ซึ่งในชั้นเรียนของพวกเรานั้นได้มีการแบ่งช่วงของวิวัฒนาการด้านการศึกษา ออกเป็น 5 ช่วงด้วยกัน (ตามการปกครองของช่วงรัชกาลต่างๆ) ได้....ดังนี้

ประวัติความเป็นมาของการศึกษาไทย

การจัดการศึกษาของประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันด้วยความเชื่อที่ว่าการศึกษาช่วยกำหนดทิศทางของชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าความเป็นมาของการศึกษาไทยมีประวัติที่น่าสนใจแบ่งออกได้ 5 ช่วง ดังนี้ (ประไพ เอกอุ่น. 2542: 75)

1. การศึกษาของไทยสมัยโบราณ (พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 2411)

(1) การศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 1921)

(2) การศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)

(3) การศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2311 – พ.ศ. 2411)

2. การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 - พ.ศ. 2474)
3. การศึกษาของไทยสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญระยะแรก (พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2491)
4 การศึกษาไทยสมัยพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2534)

5. การศึกษาสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. 2535 ปัจจุบัน)

การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด อาจจะเป็นเพราะมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ปัจจัยภายในเกิดจากความต้องการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญและทันสมัย ส่วนปัจจัยภายนอกเกิดจากกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกันทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้ทันสมัย เพื่อความอยู่รอดและประเทศได้เกิดการพัฒนาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการเรื่อยมา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของชาติให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้า

เรียบเรียงโดย อาจารย์ศศิฌามนตร์ แสงสวัสดิ์

หมายเลขบันทึก: 305611เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2009 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันน่ะค่ะ..เป็นกำลังใจให้ค่ะ..

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

กำลังเรียนปรัชญาการศึกษาพอดีเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท