KM Award : KM Forum…2009 …ตอนที่ 1 (คลื่นความรู้พัดแรง)


ผลงาน KM ของกรมการแพทย์ : 24-25 กันยายน 52

       การเปิดงาน KM Award : KM Forum…2009 …ปีนี้คึกคักมาก ถึงแม้ว่าจะไปเปิดตัวไกลถึงเชียร์รังสิต (โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท) ...แต่ทว่ามีคลื่นความรู้พัดแรง...อบอวลไปทั่ว บรรยากาศเต็มไปด้วยมิตรภาพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เห็นความก้าวหน้าของ KM ในหน่วยงานต่างๆรวมทั้งนวัตกรรมที่ดีๆและมีประโยชน์พัฒนาอย่างต่อเนื่องในกรมการแพทย์อย่างมาก

 

          นต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้มาเป็นประธานเปิดงานและได้กล่าวนโยบายและแนวทางการใช้การจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาบุคลากรและองค์กรสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ โดยอาศัยขบวนการจัดการความรู้(KM Process) คือ การบ่งชี้ความรู้หรือการค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ การเรียนรู้ ซึ่งท่านได้เปรียบ KM Process เหมือน   อริยสัจ4 โดยนำการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมาย

                      

          สำหรับเป้าหมายของ กรมการแพทย์คือ ให้เป็น Center of Excellence บ่งบอกความเป็นเลิศทางด้านวิชาการกรมการแพทย์ โดยใช้การจัดการความรู้ ตอบสนองยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ มุ่งสู่เป้าหมายเพื่อนำมาสู่ความรู้ทางการแพทย์

            

          การนำเสนอผลงานการจัดการความรู้ การนำเสนอด้วยวาจาที่น่าสนใจดังนี้

     1. เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ พิชิตเจ้าตัวน้อยเลิกขวดนม (สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี)

   2. ระบบการประเมินสมรรถนะเพื่อการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล กรมการแพทย์ ออนไลน์ (กองการเจ้าหน้าที่ กรมการแพทย์)

   3. การผ่าตัดมดลูก โดยสื่อวีดิทัศน์ (รพ.เลิดสิน)

   4. เรื่องเล่า”ฟังอวัยวะพูด” กรณีซานติกาผับ (รพ.นพรัตนราชธานี)

   5. การพัฒนารูปแบบการจัดท่าระหว่างผ่าตัดของผู้ป่วยศัลยกรรมข้อและกระดูกที่มารับยาระงับความรู้สึกทั่วไป (สำนักการพยาบาล รพ.เลิดสิน)

   6. ประสบการณ์การทำ e-Learning ในการจัดการความรู้ (รพ.ราชวิถี)

   7. โปรแกรมคลังภาพถ่ายทางการแพทย์ด้านจักษุวิทยา (รพ.เมตตาประชารักษ์)

   8. โครงเหล็กช่วยหายใจ (สถาบันโรคผิวหนัง)

   9.  KM Warfarin (สถาบันโรคทรวงอก)

   10.  คุณภาพชีวิตของผู้ปวดหลังส่วนเอวก่อนและหลังผ่าตัด (รพ.ประสาทเชียงใหม่)

   11.  Montessori Model ในผู้สูงอายุ : วิถีท้องถิ่น (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ)

   12.  High Alert Strategies (ศูนย์มะเร็ง ชลบุรี)

   13.  ผู้ป่วยสุราทำไมแขน ขาอ่อนแรง (สถาบันธัญญารักษ์)

   14.  Smooth as silk Stroke Care (สถาบันประสาทวิทยา)

   15.  Fully Recovery Effectiveness Enhancement Model  (ศูนย์บัดรักษายาเสพติดแม่ฮ่องสอน)

   16.  มารู้จัก UCHA กันเถอะ (รพ.เลิดสิน)

   17.  การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ (ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี)

   18.  Walk Rally เพื่อการเรียนรู้ระบบบริหารความเสี่ยงทางการพยาบาล (สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี)

   19. เครือข่ายการจัดการความรู้แบบบูรณาการในบริบทไทย QIT DM (รพ.นพรัตนราชธานี)

   20. โครงการเครือข่ายพัฒนาเวชปฏิบัติที่ดี (สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์)

   21. การพัฒนาการใช้เครื่องมือ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยยาเสพติด (ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่)

   22.  ประสบการณ์การจัดการความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ศูนย์มะเร็งสุราษฏณ์ธานี)

   23.  โครงการการพัฒนารูปแบบการสร้างความเป็นเลิศ (ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่)

   24.  แผ่นรอง BP Cuff (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ)

   25.  กางเกงพอเพียง (ศูนย์สิรินทรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์)

   26. ถอดบทเรียนจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การปฏิบัติงานในการฟื้นฟูสมรรถภาพ รูปแบบชุมชนบำบัด (ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด สงขลา)

        เนื่องจากมีเรื่องราวมากมายให้ติดตามทั้งโปรเตอร์และการนำเสนอผลงานทางวาจานั้น มีพร้อมกันสองห้อง น่าเสียดายบางเรื่องอยากฟังแต่เวลาตรงกันเลยต้องตัดใจเลือกเรื่องที่ชอบที่สุดและจะนำมาเล่ากันฟังต่อไป

          

       ในวันที่สอง(25 ก.ย.) มีกูรูด้านKM มาร่วมในการให้ความรู้ซึ่งได้ประโยชน์มาก ในหัวข้อ การจัดการความรู้ที่เข้มแข็ง เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยคุณกลิ่นจันทร์ เขียวเจริญ จากสำนักงาน กพร. ได้กล่าวถึง การผลักดัน KMไปสู่ LO ให้องค์กรเข้มแข็ง เช่น การยึดทฤษฏี Peter Sege หรือวินัย 5 ประการ

        ถ้าจะทำKMโดยใช้ Model ไหนก็ไม่ว่าแต่อย่าลืมทฤษฏี (SECI Model) หรือเกลียววงจรความรู้ มีปัญหาอะไร?แล้วเอาความรู้ด้าน KMมาปรับแก้ให้เกิดองค์ความรู้ นวัตกรรม (บอกที่มาที่ไปของความรู้)

       ถ้าเราเป็นผู้บริหารจะให้คนในองค์กรรู้จักKM  เราต้องวางแผนให้รู้จัก KM อย่างไร?บ้างต้องlist หัวข้อออกมา ทำตาม KM Process การเข้าถึงความรู้ ต้องเข้าเว็บดู Feed back กลับมาหรือหนังสือเวียนดูการสะท้อนกลับ ส่วนการแลกเปลี่ยนความรู้นั้นควรเชิญผู้รู้มาแกเปลี่ยนกัน เชิญผู้วิพากษ์ ทำเป็นคู่มือแจก ดูการเปลี่ยนแปลงแก้ไข มีเครื่องมือมากมายเช่น ฐานความรู้ สมุดหน้าเหลือง ฐานวิชาการ เทคนิคการรื่อง การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม CoPs ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งองค์ความรู้ต้องเป็นความรู้ที่ผ่านการวิเคราะห์ที่จะตอบยุทธศาสตร์ได้

       KMปี 53 จะมุ่งสู่ LO ซึ่งโจทย์คือ ประเด็นยุทธศาสตร์ 2 ประเด็นขึ้นไปให้มี 3 องค์ความรู้ขึ้นไป กิจกรรมต้อง 90 % ขึ้นไป ทำแผนโดยเขียนเป็นร้อยแก้ว(จากขบวนการจัดการความรู้ 7 ข้อ) อนาคต KMปี 54 น่าจะก้าวสู่การเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ (Best Practices)

                   

บวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กร (Change Management Process : CMP) สิ่งที่จำเป็นต้องมีการเพิ่มการยกย่องชมเชยและการให้รางวัล ซึ่งคนไทยไม่ค่อยมี คนไหนทำความดี ให้ชื่นชม อาจทำบอร์ดว่าเดือนนี้คนนี้ทำความดี.....สมควรได้รับการยกย่อง เช่น จ่า จบป.ตรี ป.โท ป.เอก แต่ทางสายงานทำให้ขึ้นไปต่อในระดับสูงขึ้นไม่ได้ แต่องค์กรไม่มองข้ามความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งพอให้แลกเปลี่ยนเรียนรุ้ เขาสามารถรู้ทุกอย่างเป็นอย่างดี อธิบายแสดงความคิดเห็นอย่างมีหลักการ มีเหตุมีผล น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนางาน ซึ่งต้องชมเชยความคิดในการพัฒนางานที่เกิดขึ้น

     คุณกลิ่นจันทร์ ได้แนะนำปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ

     1.  ผู้นำ สำคัญที่สุด ต้องเอื้อต่อทรัพยากร สนับสนุนวิชาการ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม

     2. KM Process ซึ่ง KV ต้องชัดเจน KS ต้องเนียนไปกับเนื้องาน KA มีการจัดการทั้งความรู้แบบฝังลึกและความรู้แบบชัดแจ้ง

     3. มีโครงสร้างชัดเจน

     4. บุคลากรต้องเปิดใจใฝ่รู้

-  มีการเรียนรู้ของตัวบุคลากร

-  จัดกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมมากเกินเป้า

      5. เครื่องมือง่ายต่อการออกแบบในการทำ

      6. ความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง

           -  ตามบทบาทและภารกิจที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

           -  ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับบุคลากร

          ประสบการณ์ KM คณะแพทย์ศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ โดย รศ.นพ.กิตติ ลิ่มอภิชาต ได้เล่าถึงประวัติและความเป็นมาของการจัดการความรู้ในคณะแพทย์ศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ได้อย่างน่าสนใจ ได้ให้ความหมายของ CoPs ว่าหมายถึงผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเดียวกัน มาพูดคุยกันเพื่อแก้ปัญหาและร่วมพูดคุยคนเก่งในเรื่องนั้นๆ เช่น การดูแลผู้ป่วยในโรคนี้ ทำอย่างไรให้ดีที่สุด นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เป็นต้น Knowledge Sharing ใน มอ.นั้นให้แต่ละภาควิชาต้องนำเสนอเรื่องที่ดีที่สุด แล้วมานำเสนอเป็น best practices

          KM ในระยะแรกนั้น ให้ความสำคัญกับคนและความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดจะมุ่งเน้น พัฒนาคน พัฒนางานและจัดการความรู้ควบคู่กันไป คุณภาพคือหัวใจและให้ยึดผู้รับบริการเป็นสำคัญ แผนยุทธศาสร์เพื่อนำคณะไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้KMเป็นกระบวนการ และเชิญนพ.วิจารณ์ พานิช มาเป็นวิทยากร  จัดทำคู่มือ”วันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟัง ครั้งที่ 1 ”  โดยนำเสนอ best practices ของแต่ละฝ่าย

          KM ในระยะที่สองนั้น คณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้ ได้กำหนดหน้าที่อย่างชัดเจนดังนี้

1.  กำหนดเป้าหมายของ KM ขององค์กร

2.  สร้างบรรยากาศขององค์กรให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3.  บริหารจัดการความรู้ภายในองค์กร

4.  สร้างแผนการพัฒนาความรู้

5.  ขยายสู่เครือข่ายอื่นๆ

           กำหนดความหมายของความรู้

1.  ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ตรงของผู้ปฏิบัติงาน

2.  ความรู้และนวัตกรรมในการบริหารจัดการ

3.  ความรู้ใหม่จากภายนอกที่นำมาประยุกต์ใช้ในคณะ

          มี ” วันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟัง ”  (K-Sharing Day)ในเรื่องที่น่าสนใจและมีประโยชน์ เช่น KM กับงานประจำ ( เก็บประสบการณ์บันทึกไว้ ), Concept KM, การส่งถ่ายความรู้ประสบการณ์ไว้ในหน่วยงาน, blog กับ KM, Knowledge Asses

        ดำเนินการด้านการสื่อสาร  จัดทำ Web KM , จัดวันรวมพลคนสนใจ KM (1,2,3 ) เพื่อนำไปแตกลูกออกดอกในหน่วยงาน (ซึ่งอาจจะได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง) มีหัวข้อที่น่าสนใจเช่น การจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ, ความรู้พื้นฐานเรื่องการจัดการความรู้, เครื่องมือในการพัฒนาความรู้, blog กับ KM, KM กับการพัฒนาคุณภาพ, เรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น, เป้าหมายกลยุทธ์ ตัวชี้วัด แผนกิจกรรม, การติดเชื้อในการทำงาน, การป้องกันการถูกฟ้องร้อง, การจัดการภาวะเครียดจากการทำงาน, การป้องกันการบาดเจ็บในการทำงาน, การป้องกันความรุนแรงในที่ทำงาน (เช่นการทะเลาะกันระหว่างคนไข้และเจ้าหน้าที่หรือญาติผู้ป่วยหรือเจ้าหน้าที่กับเจ้าหน้าที่) เป็นต้น

KM ในแผนกิจกรรมปีงบประมาณ 2552

       1. การบริหารบุคลากรในหน่วยงานให้มีความสุข

       2. การเพิ่มประสิทธิภาพโดย ลีน (Lean)

       3. Customer Focus

      4. Happiness in Workplace : สุขใจในงาน หรือทำงานอย่างมีความสุข

      5. เลือกหน่วยงานที่ได้รับการประเมินได้คะแนนมากที่สุดและนำมาเล่าเป็น best practicesใน K-Sharing Day (โดยมีการประชุมระหว่างคณะบดีและคณะทำงานร่วมกัน เลือกหัวข้อให้พนักงานได้เรียนรู้และให้คะแนน : จึงได้หัวข้อมา)

         ตอนท้ายคุณหมอได้สรุปความหมายของการจัดการความรู้(KM) ว่าหมายถึง กระบวนการที่องค์กรบริหารจัดการให้บุคลากรมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ทัศนคติ ตามที่องค์กรต้องการและบุคลากรใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์นั้นในการทำงาน และได้เน้นว่าทัศนคตินั้นมีความสำคัญมาก ทำให้บุคลากรรักงานที่ทำ มีความผูกพันกับงานและหน่วยงานที่ทำ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้  และKMคือ การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมขององค์กรให้เป็นโรงเรียน ทำให้มีการเรียนรู้ของบุคลากรอยู่ตลอดเวลา และทิ้งท้ายว่า ความรู้คืออำนาจ ( Knowledge is Power ) และความรู้ทำให้องค์กรมีอำนาจ (Knowledge is Organization Power)

สิ่งที่ได้รับจากการมาร่วมงาน KM กรมการแพทย์

       1. ทำให้เห็นการเกิดเกลียวคลื่นของความรู้ หมุนเวียนไม่ขาดสายเกิดขึ้นในบรรยากาศของงาน

      2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดขึ้นตลอดเวลาในขณะที่มีการเยี่ยมชมบอร์ด การพูดคุย ซักถาม สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเกิดเครือข่ายพันธมิตรข้ามองค์กร

     3. สิ่งทิ่ได้รับจากการเผยแพร่ความรู้ จะทำให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ได้ในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

     4. การได้พบปะ พูดคุย ติ-ชม ทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมต่อยอดของผลงานที่ได้ทำมาแล้ว

     5. ทำให้ได้รู้เทคนิคที่ดีๆหรือแนวทางที่สามารถที่จะนำไปใช้ในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น

     6. กระตุ้นให้เกิดการกระตือรือร้น ในการที่จะคิดหานวัตกรรมใหม่ๆมาพัฒนางาน โดยนำสิ่งที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นปัจจัยกระตุ้นแนวคิด รวมถึงตัวอย่างของ best practices ที่นำมาเป็นเยี่ยงอย่างในการปฏิบัติงาน

     7. รูปแบบในการนำเสนอและมีการวิพากษ์ตอนท้าย ทำให้เนื้อหาที่ได้รับเติมเต็มและชัดเจนมากขึ้น

          จากงาน KM Awards : KM Forum ในครั้งนี้ทำให้เห็นถึงพัฒนาการของ KM กรมการแพทย์ว่ามีความก้าวหน้าขึ้นจากปีที่แล้วอย่างมาก รวมถึงมีคุณภาพน่าชื่นชม...ไม่น้อยน่าใคร ซึ่งน่าจับตามอง...เหมือนคำพูดที่ท่านประธานทิ้งท้ายว่า “...กรมการแพทย์ มีหัวใจ... KM…เต็มร้อย..”.  

                                                              >>>>IMM 2...Post...>>>>



ความเห็น (2)
  • เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าจะเอาKMไปใช้ในองค์กรได้อย่างไร ดูสธ.เข้มแข็งในเรื่องนี้มาก ในขณะที่ศธ.ยังไม่เห็นอะไรเลยครับ ยิ่งในระดับสถานศึกษาด้วยแล้ว ยิ่งเงียบเชียบ..พอเข้าใจ เห็นประโยชน์ และน่าจะทำได้จริง จึงอยากให้เป็นอย่างนี้บ้างครับ
  • ขอบคุณความรู้ครับ

สวัสดีค่ะคุณธนิตย์

  • การจัดการความรู้(KM)นั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นKMจึงเป็นสิ่งที่องค์กรควรต้องนำไปใช้ในการพัฒนางานและยังเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งของกพร.อีกด้วยค่ะ
  • ในส่วนสถานศึกษาของอาจารย์ ก็คงมีในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับKMแล้วสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกองค์กรค่ะ
  • ขอบคุณที่อาจารย์แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท