การศึกษาไทยในบุคแห่งการเปลี่ยนแปลง>>ปรัชญาการศึกษา (2)


ปรัชญาการศึกษา คืออะไร

การบ้าน ข้อที่ 2 ปรัชญาการศึกษา (Philosophy of Education) คืออะไร 

การศึกษา หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และทัศนคติของคนรุ่นก่อนให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคม ทั้งนี้เพราะ อนุชนรุ่นหลังคงไม่อาจเติบโตไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ถ้าไม่ได้ดูดซับความเชื่อเกี่ยวกับโลกทัศน์ และทักษะในการดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของผู้ใหญ่ ก่อนที่การศึกษาจะกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องกระทำด้วยความตั้งใจและเป็นทางการ และเป็นระบบ โดยมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง คือ พระหรือนักปราชญ์ หรือนักวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบนั้น

คนในสมัยโบราณก็มีการให้การศึกษาแก่เด็กในสังคมของเขาเหมือนกัน แต่การให้การศึกษาของคนสมัยก่อนเป็นไปในลักษณะของการถ่ายทอดให้เกิดการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันโดยอัตโนมัติ เช่น การสอนการดำรงชีพ โดยการสอนการจับปลาและการเพาะปลูก รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางสังคม เช่น พิธีศพ การศึกษาในลักษณะดังกล่าวไม่ใช่การศึกษาแบบเป็นทางการ ไม่ใช่การศึกษาที่เป็นระบบ และไม่ใช่กระบวนการที่จงใจกระทำขึ้นเพื่อการเรียนรู้ จึงไม่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบต่อเรื่องการศึกษาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อมนุษย์ได้สะสมอารยธรรมมากขึ้น การถ่ายทอดและการเรียนรู้ให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคมไม่อาจเป็นไปในลักษณะไม่เป็นทางการดังเดิมได้ การศึกษาจึงต้องกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องกระทำด้วยความตั้งใจและเป็นทางการ โดยมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งก้าวเข้ามาทำหน้าที่รับผิดชอบแทน กลุ่มบุคคลกลุ่มนี้อาจจะเป็นพระ หรือนักปราชญ์ หรือนักวิชาการ ผลจากการที่รวมการถ่ายทอดวัฒนธรรมไว้ในมือของคนกลุ่มพิเศษกลุ่มหนึ่ง ก็คือ คนกลุ่มนี้ได้พยายามทำให้วัฒนธรรมและความรู้ที่ต้องถ่ายทอดดีขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น นั่นก็คือ การทำให้เกิดการค้นคว้าวิจัยทางด้านความรู้และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น ผลประการที่ 2 คือ กลุ่มบุคคลผู้รับผิดชอบกับการสอนเริ่มมองเห็นว่า การสอนหรือการถ่ายทอดวัฒนธรรมของเขา หรือการให้การศึกษาของเขาต้องสนองเป้าหมายบางอย่าง การศึกษาจึงไม่เป็นเพียงการรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมเท่านั้น แต่การศึกษาควรสนองตอบเป้าหมายบางอย่างนี้ด้วยเป้าหมายของการศึกษาควรเป็นอะไร   นี่แหละ คือ ปัญหาที่อยู่ในขอบเขตของนักปรัชญาที่จะให้คำตอบ ดังนั้น 

ปรัชญาการศึกษา คือ ปรัชญาในส่วนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหา เป้าหมายของการศึกษาของสังคมโดยพยายามตอบคำถามที่ว่า เป้าหมายหรือผลที่พึงประสงค์ที่จะก่อให้เกิดกับผู้เรียนนั้นควรจะเป็นอะไร ? และเป้าหมายดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ ? เมื่อตอบคำถามถึงเป้าหมายของการศึกษาเสียแล้ว ก็สามารถตอบคำถามต่อไปได้ว่า ความรู้ใด ทัศนคติใด ทักษะใด ควรได้รับการถ่ายทอดให้แก่เขาเหล่านั้น รวมทั้งมรรควิธีให้การศึกษาจะนำไปสู่เป้าหมายนั้นด้วย  

คำตอบของนักปรัชญาการศึกษาต่อปัญหาที่ว่า เป้าหมายของการศึกษาหรือผลที่พึงประสงค์ของการศึกษาหรือสิ่งใดนั้น ย่อมมีผลสืบเนื่องมาจากทัศนะความเชื่อของนักปรัชญาทางด้านอภิปรัชญาและญาณวิทยาอยู่มากที่เดียว ตัวอย่างเช่น นักปรัชญาอย่างเพลโตมีความเชื่อทางอภิปรัชญาว่า วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งเลียนแบบแม่แบบในโลกแห่งแบบ แม่แบบเป็นสิ่งที่จริงกว่า หรือแม่แบบคือสัจธรรม ดังนั้น เป้าหมายของการศึกษาควรมุ่งให้เรียนรู้สัจธรรมมิใช่มีความรู้ในโลกแห่งประสบการณ์ซึ่งเป็นเพียงสิ่งเลียนแบบสัจธรรมเท่านั้น วิชาวิทยาศาสตร์จึงมิใช่วิชาที่สำคัญ ส่วนนักปรัชญาอย่างฟรานซิส เบคอน, จอห์น ล็อค มีความเชื่อว่า โลกแห่งปรากฏการณ์อย่างที่มันเป็น เป็นจริงแล้ว การศึกษาจึงมีเพียงเป้าหมายที่จะเข้าใจโลกแห่งปรากฏการณ์นี้เท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องหาความรู้ในเชิงนามธรรมที่ห่างไกลตัวออกไปอย่างทัศนะของเพลโต ดังนั้น วิชาเช่นวิทยาศาสตร์จึงเป็นวิชาที่สำคัญ

 

ปรัชญาการศึกษาโดยสรุป 

ยุคก่อนโซฟิสต์ : นักปรัชญามิได้เสนอทัศนะเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษาไว้ แต่ได้ทำหน้าที่ของผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้และวัฒนธรรม คือ การค้นคว้าวิจัยเพื่อเพิ่มเติมความรู้และแก้ไขข้อบกพร่องของสิ่งเดิม  

ยุคโซฟิสต์ : โซฟิสต์ คือ กลุ่มนักปรัชญาที่เริ่มมีความคิดเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษาต้องสามารถทำให้ผู้เรียนได้รับความสำเร็จในการแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง  

โสคราตีส :โสคราตีสมีความเห็นว่า เป้าหมายของการศึกษา คือ การค้นพบสัจธรรมหรือความจริงเชิงปรนัย  

เพลโต : เพลโตเป็นนักปรัชญาคนแรกที่กล่าวถึงเป้าหมายของการศึกษาที่ชัดเจน เพลโตมีความเห็นว่า เป้าหมายของการศึกษา คือ การทำให้บุคคลตระหนักได้ชัดเจนว่าเขาสมควรเป็นชนชั้นไหนของสังคม และสิ่งที่สามารถทดสอบว่าเขาควรเป็นชนชั้นไหนของสังคม ก็คือ ความรู้ในความจริงขั้นปรมัตถ์ (ขั้นสูงสุด) กล่าวคือ ถ้าใครสามารถบรรลุความรู้ในขั้นนี้ เขาสมควรเป็นผู้ปกครองรัฐ หรือราชาปราชญ์  

เซนต์ ออกัสติน : เซนต์ ออกัสติน มีความเห็นว่า เป้าหมายของการศึกษา คือ การมุ่งให้ผู้เรียนกลับใจไปรักพระเจ้า ( Conversion) และสำนึกในบาปของตน (repentance) ทั้งนี้ เพราะการกลับใจไปรักพระเจ้าย่อมทำให้มนุษย์พบกับความสุขที่แท้จริง

ล็อค : ล็อคมีความเห็นว่า เป้าหมายของการศึกษาควรมุ่งสู่สังคมและรัฐ ไม่ใช่อาณาจักรของพระเจ้า เป้าหมายดังกล่าว คือ การรักษารัฐที่ให้ความมั่นคงในสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล  

รุสโซ : รุสโซมีความเห็นว่า เป้าหมายของการศึกษา คือ การให้ผู้เรียนได้เติบโตตามแนวโน้มแห่งธรรมชาติของตน การศึกษาจึงเป็นอิสระจากสังคมและอิทธิพลใด ๆ ทั้งสิ้น ผลของการให้การศึกษาในลักษณะดังกล่าวนี้คือ ผู้เรียนสามารถเป็นตัวของตัวเอง จากนั้น จึงเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมและการมุ่งสู่ความดีของสังคมทั้งสังคมโดยละเลยผลประโยชน์เฉพาะตนและเฉพาะกลุ่มลงเสีย 

 

ปรัชญาการศึกษาไทยมีผู้ให้แนวคิดสำคัญๆคือ

          1.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธรรม โดย พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ปยุตโต) สรุปได้ว่าการศึกษามีวัตุประสงค์เพื่อทำให้ชีวิตเข้าถึงอิสรภาพคือ ทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของปัจจัยแวดล้อมภายนอกให้มากที่สุด และมีความเป็นใหญ่ในตัว ในการที่จะกำหนดความเป็นอยู่ของตนให้ได้มากที่สุด พระราชวรมุนี (ประยุตธ์ ปยุตโต) ได้กล่าวว่า การศึกษาจึงเป็นกิจกรรมของชีวิตโดยชีวิตและเพื่อชีวิต บนฐานความคิดข้างต้นกระบวนการศึกษาจึงควรประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญดังนี้

              1.การมีความรู้ ความเข้าใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงสามารถฝึกอบรบและพัฒนาได้โดยใช้ไตรสิกขา 1 ศีล การประพฤติปฏิบัติถูกต้อง 2 สมาธิ การวางใจแน่วแน่ 3 ปัญญา การเห็นทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมและถูกต้อง

              2.การปรับตัวเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการดำรงอยู่

              3.การรู้จักและเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของตนกับสิ่งแวดล้อม

ความสัมพันธ์ของปรัชญ์การศึกษากับการสอน

“ปรัชญา”มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525ว่าเป็น วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง ปรัชญาการศึกษากับทฤษฎีการศึกษาไว้ว่าปรัชญาการศึกษาเป็นเรื่องของความคิดหรือระบบของความคิดที่เกี่ยวกับการศึกษาที่ตั้งไว้บนรากฐานของปรัชญาแม่บทอันใดอันหนึ่งไม่ใช่เป็นความคิดแบบล่องลอยแต่ต้องเป็นความคิดที่แตกหน่อออกมาจากปรัชญาแม่บทอันใดอันหนึ่ง ถ้าไม่ได้แตกหน่อออกมาจากปรัชญาแม่บทใดๆแล้ว จะเป็นเพียงหลักการศึกษาหรือฎีกาศึกษา ดังนั้นปรัชญาการศึกษาจึงมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างลึกซึ้งในฐานะที่เป็นหลักหรือเหตุผลของการคิดและการกระทำต่างๆในด้านการจัดการศึกษาและการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน

 

ปรัชญาการศึกษาสากลแนวต่างๆ

1.ปรัชญาสารัตถนิยม

          ปรัชญาสารัตถนิยม เป็นปรัชญาการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชยญาจิตนิยมและปรัชญาสัจนิยมซึ้งเป็นปรัชญาทั่วๆไป

          ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวจิตนิยมว่าการศึกษาคือเครื่องมือในการสืบทอดมรดกทางสังคม ดังนั้นหลักสูตรการศึกษาจึงควรประกอบไปด้วย ความรู้ ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และวัฒนธรรมอันเป็นแกนสำคัญ ผู้เรียนในฐานะผู้รับสืบทอดมรดกทางสังคม ก็จะต้องอยู่ในระเบียบวินัย และพยายามเรียนรู้สิ่งที่ครูถ่ายทอดให้อย่างตั้งใจ ส่วนปรัชญาสารัตนิยมนั้นเชื่อว่าการศึกษาคือเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้และความจริงตามธรรมชาติเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นจึงเน้นการให้ผุ้เรียนแสวงหาขอมูล ข้อเท็จจริง  และการสรุปกฎเกณฑ์จากข้อมูลข้อเท็จจริงเหล่านั้น

2.ปรัชญาสัจนิยมวิทยา

         ปรัชญานี้บางท่านเรียกว่า ปรัชญานิรันดรนิยม ปรัชญานี้มีบางสิ่งที่มีคุณค่าถาวร คงที่ และไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ศาสนา ความดี และเหตุผล การจัดการเรียนการสอนตามปรัชญานี้ จึงมุ่งเน้นการสอนให้ผู้เรียนจดจำ ใช้เหตุผล และตั้งใจกระทำสิ่งต่างๆ

3.ปรัชญาพิพัฒนิยม

         บางท่านเรียกปรัชญาการศึกษานี้ว่า ปรัชญาพิพัฒนาการ ปรัชญานี้มีต้นกำเนิดมาจากปรัชญาแม่บทคือ ปรัชญาปฏิบัตินิยม

         ปรัชญาปฏิบัตินิยมให้ความสนใจอย่างมากต่อการ “ปฏิบัติ หรือ การลงมือกระทำ” เน้นให้ผู้เรียนเน้นการลงมือทำ เด็กได้รับอิสระริเริ่มความคิดและลงมือทำตามความคิด ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์และการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

4.ปรัชญาอัตนิยม

          การจัดการศึกษาตามปรัชญานี้จึงให้ความสำคัญกับการให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนรู้ ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด สนับสนุนส่งเสริมผู้เรียนในการค้นหาความหมายและสาระสำคัญของชีวิตของเขาเอง เช่น ศิลปะ ปรัชญา การเขียน การอ่าน การละคร

5.ปรัชญาปฏิรูปนิยม

          ปรัชญานี้เชื่อว่า การปฏิรูปสังคม หรือการจัดระเบียบของสังคมให้ดีขึ้น การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้

6.ปรัชญาการศึกษาผสมผสาน

          เนื่องจากปรัชญาการศึกษาแต่ปรัชญาล้วนมีแง่มุมและมีจุดเด่นกันไปคนละแบบจึงมีการเอาประเด็นต่างๆของปรัชญามากกว่า1ปรัชญามาผสมผสานขึ้นเพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ

 

ปรัชญาการศึกษาไทย

            ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ผู้สามารถให้คำตอบในเรื่องนี้ได้อย่างลึกซึ้ง คือ พระพรรมปิฎก(ประยุทธ์ ปยุตโต)

            1.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรม โดยพระธรรมปิฎก  มนุษย์มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากชีวิตอื่นๆ คือมีองค์ประกอบภายในจิตใจที่เรียกว่า สติปัญญา  จึงทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ และสามารถจัดปัจจัยแวดล้อมทั้งหลายให้เกื้อกูลแก่การดำรงชีวิตของตน ทำให้มนุษย์สามารถหลุดพ้นจากอำนาจคอบงำของสิ่งอื่น ทำให้มีอิสรภาพ

            2.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

            การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่  เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาควรจัดการศึกษาด้านวิชาการโดยการต่อยอดความรู้ควบคู่ไปกับการฝึกฝนขัดเกลาทางความคิด ความประพฤติ และคุณธรรม

            3.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรมจากการวิเคราะห์ของสาโรสบัวศรี

            การศึกษาตามความหมายในนัยทางพระพุทธศาสนา คือ การพัมฯขันธ์ 5  แนวทางตามหลักพุทธธรรม คือ มรร 8  ซึ่งย่อได้เป็น ศีล สมาธิ และปัญญา นอกจากนั้นควรให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ ตนเอง สิ่งแวดล้อม และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อม  การจัดการเรียนการสอนต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ได้แก่ การสอนตามขั้นทั้ง สี่ ของอริยสัจ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 305381เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท