ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

ธรรมชาติคลื่นยักษ์ที่โหดร้าย น่ากลัว


อันตราย

 

คลื่นยักษ์ (TSUNAMI) คืออะไร  และเกิดขึ้นได้อย่างไร

          เรามารู้จักคลื่นยักษ์กันก่อน คลื่นยักษ์ดังกล่าวมีชื่อเรียกตามภาษาสากลว่า TSUNAMI (สึนามิ) ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า คลื่นในอ่าว (HABOR WAVE)ซึ่งในสมัยก่อนโน่นจะเรียกว่า TIDAL WAVE ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้เกี่ยวอะไรเกี่ยวข้องกับระดับน้ำเลย

        TSUNAMI เกิดจากแผ่นดินไหวใต้พื้นท้องทะเล  หรือใกล้ๆ พื้นท้องทะเล แต่แผ่นดินไหวที่เกิดทุกครั้ง  ใช่ว่าจะเป็นเหตุให้เกิด  TSUNAMI  เสมอไป นอกจากแผ่นดินไหวแล้วก็ยังมีภูเขาไฟใต้น้ำที่ระเบิดขึ้น  และปัจจัยสุดท้ายที่ก่อให้เกิด  TSUNAMI  ได้ก็คือ  การถล่มของแผ่นดินขนาดใหญ่ลงสู่ทะเล (LANDSLIDING)  นั่นเอง

คุณลักษณะของ TSUNAMI

          เมื่อเรารู้ถึงสาเหตุของการเกิด  TSUNAMI  แล้วเรามาดูคุณลักษณะเฉพาะตัวของคลื่นยักษ์นี้บ้าง  เมื่อเกิดแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเลขึ้น   คลื่นแผ่นดินไหวจะเคลื่อนตัวออกจากจุดกำเนิดในลักษณะขึ้น – ลง  ในแนวดิ่งและเคลื่อนตัวที่เรียกว่า  SERIES OF TRAVELLING OCEAN WAVES

   คือมีลักษณะที่ว่าเมื่อมีการกำเนิดคลื่นแล้ว  คลื่นลูกที่หนึ่งเคลื่อนออกจากจุดกำเนิดไปได้สักระยะหนึ่งประมาณ  ๑๐ นาที  ถึง ๑ ชั่วโมง  คลื่นลูกที่สองจึง จะเคลื่อนตามออกไป  จากนั้นสักพักลูกที่สามจึงจะเคลื่อนออก  ถ้ามีลูกที่สี่ที่ห้าก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันคลื่นยักษ์ที่เคลื่อนตัวออกไปจะมีความยาวคลื่น ตั้งแต่ ๑๐๐ กิโลเมตร  จนถึง ๒๐๐ กิโลเมตร  (ความยาวคลื่นคือระยะทางจากยอดเคลื่อนลูกที่หนึ่งถึงยอดคลื่นลูกที่สองหรือจากท้องคลื่นลูกที่หนึ่งถึงท้องคลื่นลูกที่สอง)

     สรุปได้ว่าความยาวคลื่นมากและมีคาบเวลามากด้วย  ขณะที่คลื่นยักษ์ดังกล่าวเคลื่อนที่จากทะเลลึกเข้าหาฝั่งจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ยตั้งแต่  ๒๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง  จนถึงมากกว่า ๑,๐๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง  โดยที่มีความสูคลื่นขณะเคลื่อนที่อยู่นอกฝั่งประมาณ ๕ – ๑๐ เซนติเมตร  จนถึง ๑ เมตรเท่านั้น  นั่นหมายความว่าเมื่อท่านอยู่ บนเรือบริเวณนอกฝั่งในเขตน้ำลึก  เมื่อเกิดคลื่นยักษ์ขึ้นและคลื่นยักษ์นั้นเคลื่อนตัวผ่านใต้ท้องเรือของท่าน ๆ จะไม่มีความรู้สึกใด ๆ เลยว่ามีคลื่นยักษ์ใต้น้ำขนาดมหึมา

เคลื่อนผ่านใต้ท้องเรือท่าน   สภาพท้องทะเลขณะน้ำราบเรียบเป็นปกติ  ไม่มีสิ่งบอกเหตุใดเลยยอกท่านว่าตัวแห่งความหายนะได้ผ่านใต้ท้องเรือของท่านจะกระทั้ง เมื่อคลื่นยักษ์นั้นวิ่งเข้าสู่ที่ตื้น  ความเร็วในการเคลื่อนที่จะลดลงพร้อม ๆ กับการยกตัวสูงขึ้นของยอดคลื่นบางครั้งสูงถึง ๕๐ เมตร  เคลื่อนที่เข้าสู่ฝั่งจึงสามารถสร้าง ความหายนะได้อย่างใหญ่หลวง

แหล่งกำเนิดและประวัติการเกิด TSUNAMI

                มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญเนื่องจากว่าลักษณะทางธรณีวิทยาของมหาสมุทรแปซิฟิกประกอบด้วยแนว FAULT ที่มีโอกาสเคลื่อนตัวอยู่มาก  และมีภูเขาไฟใต้น้ำมากมายทั้งที่ยังครุกรุ่นอยู่ และสงบไปแล้วจึงมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเลได้มากกว่ามหาสมุทรอื่น ๆ นอกจากมหาสมุทรแปซิฟิกแล้ว ยังมีมหาสมุทรแอตแลนติก ที่มีโอกาสเกิด TSUNAMI  แต่ก็มีโอกาสน้อยมาก  และถ้าเกิดก็จะมีอันตรายน้อยกว่า ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยที่ทำให้เกิด  TSUNAMI มีน้อยกว่าทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก  ฉะนั้นประเทศที่มีชายฝั่งติดอยู่กับมหาสมุทรแปซิฟิก  จึงมีโอกาสที่จะเผชิญกับคลื่นยักษ์นี้อยู่มาก  รวมทั้งหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย  นอกจากนี้ก็ยังมีมหาสมุทรอินเดีย  ซึ่งมีแนวรอบเลื่อน (FAULT)   พาดผ่านอยู่ตลอดจนพื้นที่บริเวณประเทศอินโดนีเซียซึ่งยังมีภูเขาไฟที่พร้อมจะระเบิดขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลาอีกทั้งยังเป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง

         จากปี พ.ศ.๒๒๘๐   ถึง ๒๕๐๑  ได้เกิดแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเลทั้งหมด ๒๘ ครั้ง  และก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ทั้ง ๒๘ ครั้ง ซึ่งร้ายแรงก่อให้เกิดความ เสียหายขนาดต่างๆ กัน  ซึ่งบางครั้งก็มีการบันทึกไว้บางครั้งก็ไม่มีการบันทึก  โดยที่มีการบันทึกไว้มีดังนี้

        วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๒๘๐  ได้เกิดคลื่นยักษ์ที่มีความสูงคลื่น ๓๐ เมตร  เคลื่อนที่เข้าสู่แหลมคัมชัคก้า (KAMCHATKA  PENINSULA) และหมู่เกาะคูริล  KURILL ISLANDS)  ในรัสเซีย  ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณชายฝั่ง  แต่ไม่ได้มีการบันทึก เกี่ยวกับจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

       วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๔๒๖  ที่ประเทศอินโดนิเซีย  ได้กิดภูเขาไฟ  KRAKATAO  ระเบิดทำให้เกิดคลื่นยักษ์สูง ๓๘ เมตร (๑๒๕ ฟุต)  ผู้คนเสียชีวิต ๓๖,๐๐๐ คนเมืองและหมู่บ้านเสียหายยับเยิน ๑๖๐ เมือง  (ผู้คนเสียชีวิตเนื่องจากแผ่นดินไหวรวมกับคลื่นยักษ์)

       วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๓๙   จุดกำเนิดคลื่นยักษ์ห่างจากชายฝั่งประเทศญี่ปุ่น  ๓๒๐ กิโลเมตรและคลื่นยักษ์ได้ขึ้นฝั่งที่ญี่ปุ่น    ทำให้ให้ประชาชนที่
อาศัยบริเวณชายฝั่งเสียชีวิต  ๒๗,๐๐๐ คน  ส่วนความสูงคลื่นยักษ์ไม่ได้มีการบันทึกไว้

        วันที่ ๗ กันยายน ๒๔๖๑   บริเวณชายฝั่งตะวันออกของหมู่เกาะอิวามิ (IWAMI)  คลื่นยักษ์สูง ๑๒ เมตร  เคลื่อนที่เข้าฝั่งทำให้ประชาชนเสียชีวิต ๒๓ คน บาดเจ็บ ๗ คน  สิ่งก่อสร้างตามชายฝั่งเสียหายยับเยิน

      วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๘๙  เกิดคลื่นยักษ์เคลื่อนที่ขึ้นฝั่งที่หมู่เกาะฮาวาย โดยเฉพาะที่เมือง  HILO  ซึ่งคลื่นยักษ์ที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นท้องทะเล บริเวณทางตอนใต้ของหมู่เกาะ  UNIMAK  ใกล้แนว ALEUTIAN  TRENCH   ซึ่งคลื่นยักษ์เคลื่อนที่ ด้วยความเร็วเฉลี่ย ๙๐๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมง (๔๙๐ ไมล์ต่อชั่วโมง)  เข้าหาเกาะ  HAWAII  ด้วยความสูงคลื่น  ๑๑ เมตร (๓๕ ฟุต) ขึ้นที่เมือง  HILO  และขึ้นที่เมือง  POLOLU  คลื่นสูง ๑๗ เมตร  (๕๕ ฟุต) ได้ทำลายบ้านเรือน  ๔๘๘ หลังคาเรือน  และเสียหาย ๙๓๖  หลังคาเรือน  ประชาชนเสียชีวิต  ๑๕๙ คน บาดเจ็บ  ๑๖๓ คน  ค่าเสียหาย ๒๕,๐๐๐,๐๐๐  ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งก่อนที่คลื่นยักษ์จะเข้าฝั่ง  ประชาชนที่อาศัยบนเกาะ  HAWAII  ทั้งสองเมืองได้รับสัญญาณเตือน ๔ – ๕ ชั่วโมง  ก่อนคลื่นยักษ์จะขึ้นฝั่ง จากการโจมตีของคลื่นยักษ์ครั้งนี้  ทำให้มีการจัดตั้งองค์กรเฝ้าติดตามและติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า   โดยใช้ข้อมูลการตรวจจับคลื่นแผ่นดินไหว (SEISMOGRAPHS)  และสถานีน้ำ (TIDEGAGES STATIONS)  มาใช้เป็นครั้งแรก

      วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๔๙๕  คลื่นยักษ์เกิดขึ้นโดยมีจุดศูนย์กลาง (EPICENTER)  อยู่นอกฝั่งระหว่างแหลม  KAMCHATKA   และทางตอนใต้ของ  PETRO  PAVELOSK  ของรัสเซีย  ซึ่งคลื่นยักษ์นี้ถูกบันทึกได้ตามสถานีน้ำที่ต่างๆ  ซึ่งข้อมูลดังกล่าวยืนยันว่าความรุนแรงของคลื่นยักษ์นี้จะรุนแรงมากกว่า  คลื่นยักษ์ที่เกิดที่หมู่เกาะฮาวายเมื่อ ๑ เมษายน  ๒๔๙๘  หลายเท่าแต่เนื่องจากมีสัญญาณเตือนภัยเตือนล่วงหน้า  ทำให้ประชาชนอพยพออกจากพื้นที่ก่อนถูกโจมตี  ซึ่งคลื่นยักษ์ดังกล่าวมีความสูงคลื่น ๔ เมตร (๑๓ ฟุต)  สร้างความเสียหายให้กับหมู่เกาะฮาวาย  คิดเป็นมูลค่า ๘๐๐,๐๐๐  ดอลลาร์สหรัฐ  ไม่มีผู้คนเสียชีวิต

        วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๐๓  ได้เกิดแผ่นดินไหว  และทำให้เกิดคลื่นยักษ์บริเวณนอกชายฝั่งประเทศชิลี  โดยมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ ละติจูด ๔๑  S., ลองจิจูด ๗๓.๕ W.  ทั้งแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์นั้นได้ทำลายสถิติการเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ของปีผ่าน ๆ มาคือ ๒๔๘๙, ๒๔๙๕, ๒๕๐๐ ซึ่งแผ่นดินไหว ได้สร้างความหายนะให้แก่ประเทศชิลีเหมือนกับแผ่นดินไหวที่เกิดที่  KRAKATOA  ในประเทศอินโดนีเซีย  นอกจากชายฝั่งประเทศชิลีจะเสียหายยับเยินแล้ว  คลื่นยักษ์ดังกล่าวยังเคลื่อนที่ในมหาสมุทรแปซิฟิก  และเข้าโจมตีที่หมู่เกาะฮาวายและชายฝั่งประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งมีระยะห่างจากประเทศชิลีถึง ๒๐,๐๐๐ กิโลเมตร  โดยความสูงของคลื่นยักษ์ขึ้นฝั่งที่  MARQUESAS  มากกว่า ๖ เมตร  (๒๐ ฟุต) , ๓ เมตร (๑๐ ฟุต) ที่หมู่เกาะ  SOCIETY และ ๒.๕ เมตร (๘ ฟุต) ที่ประเทศซามัว

  ทั้ง ๆ ที่มีการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าแล้วคลื่นยักษ์นี้ยังทำให้ประชาชนเสียชีวิต ๖๑ คน บาดเจ็บ ๒๘๒ คน ทรัพย์สินบ้านเรือนเสียหาย  โดยเฉพาะที่เมือง  HILO  หมู่เกาะฮาวาย ประมาณ ๒๕,๐๐๐,๐๐๐  ดอลลาร์สหรัฐ

       วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๒ ที่ NEW FOUNDLAND ชายฝั่ง GRAND BANK ได้เกิด LANDALIDING  และแผ่นดินไหว  โดยมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว ที่ ลุติจูด ๔๔.๕   N.,  ลองจิจูด  ๕๖.๓  W.  โดยวัดความแรงได้ ๗.๒ มาตราริกเตอร์  ทำให้มีผู้เสียชีวิต  ๒๙ คน และค่าเสียหายต่าง ๆ ประมาณ  ๔๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ

      ในปี ๒๕๓๕ ได้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ทีประเทศ NICARAGUA   และคลื่นยักษ์ดังกล่าวยังไปขึ้นฝั่งที่ประเทศอินโดนีเซีย  และญี่ปุ่น  ค่าเสียหายทั้งสิ้น  ๑,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ  ผู้คนเสียชีวิต ๒,๐๐๐ คน

      ในปี ๒๕๓๖  คลื่นยักษ์ได้ขึ้นฝั่งที่เกาะฮอกไกโด  ประเทศญี่ปุ่น  มีผู้เสียชีวิต ๑๒๐  คน   นอกจากนั้นประเทศรัสเซีย  และเกาหลีใต้ก็ได้รับความเสียหายด้วย

                ในปี ๒๕๓๗  ได้เกิดคลื่นยักษ์ขึ้นฝั่งที่ประเทศอินโดนีเซีย  ซึ่งเป็นคลื่นยักษ์ท้องถิ่น  ไม่ได้รับรายงานความเสียหายและผู้เสียชีวิต  จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๗ ก.ค.๒๕๔๑   คลื่นยักษ์ได้เข้าโจมตีประเทศปาปัวนิวกินี  โดยไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ ทั้งสิ้น  ทำให้ผู้เสียชีวิตและสูญหายมากมาย  นอกจากนั้นพืชพันธุ์อาหาร   ตลอดจนบ้านเรือนที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย

ระบบเฝ้าตรวจและเตือนภัยล่วงหน้า

                ในปัจจุบันภายใต้คณะกรรมาธิการสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาล(INTER OCEANOGRAPHIC COMMISSION.   IOC)  ได้รวบรวมสนับสนุนให้กลุ่มประเทศที มีชายฝั่งติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกร่วมมือกันโดย IOC ได้จัดตั้งคณะความร่วมมือระดับสากลในการเตือนภัยจาก TSUNAMI  ในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก

 (INTERNATIONAL COORDINATION GROUP FOR TSUNAMI WARNING SYSTEM IN THE PACIFIC, ICG/ITSU) ซึ่งคณะทำงาน ในด้านระบบการเตือนภัยจะมาพบกันทุกๆ ๒ ปี เพื่อทบทวนการทำงานต่างๆ และความก้าวหน้าของระบบการเตือนภัย และพิจารณาถึงความร่วมมือของสมาชิก เพื่อปรับปรุง ระบบการเตือนภัยให้ดีขึ้น  ในปัจจุบันประเทศที่เป็นสมาชิกของ ICG/ITSU ประกอบไปด้วย  ประเทศออสเตรเลีย,  แคนาดา,  ชิลี,  โคลัมเบีย,  หมู่เกาะ COOK    เกาหลีเหนือ,  เอกวาดอ,  ฟิจิ,  ฝรั่งเศส,  กัวเตมาลา,  อินโดนีเซีย,  ญี่ปุ่น,  เม็กซิโก,  นิวซีแลนด์,  เปรู,  ฟิลิปปินส์,  เกาหลีใต้,  สิงค์โปร์,  รัสเซีย,  ฮ่องกง,  สหรัฐอเมริกา และ ซามัวตะวันตก

    ICO ยังคงดำรงศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้าน TSUNAMI(ITIC) เพื่อให้ศูนย์ดังกล่าวทำงานใกล้ชิดและเป็นแหล่งข้อมูลทางด้าน TSUNAMI ให้กับศูนย  เตือนภัยทางด้าน TSUNAMI แห่งมหาสมุทรแปซิฟิก (PACIFIC TSUNAMI WARNING CENTER,  PTWC) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เมือง HONOLULU หมู่เกาะฮาวาย

 นอกจากนั้น ITIC  ยังมีหน้าที่รับผิดชอบทางด้านอื่นเช่น

- เฝ้าติดตามด้านการเตือนภัยเกี่ยวกับ TSUNAMI  ของประเทศสมาชิกในมหาสมุทรแปซิฟิก และให้คำแนะนำ และปรับปรุงระบบการติดต่อสื่อสาร,

      DATA NETWORKS, ความต้องการด้านข้อมูลและเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ

-  แจ้งข่าวสารต่างๆ ให้แก่ประเทศที่เป็นสมาชิก และไม่เป็นสมาชิกเกี่ยวกับการเตือนภัย TSUNAMI ของแต่ละท้องถิ่น

-  ช่วยเหลือประเทศที่เป็นสมาชิกของ ITSU ในการสร้างระบบการเตือนภัย TSUNAMI ท้องถิ่น และปรับปรุงความพร้อมในการเตรียมรับสถานการณ์ TSUNAMI ให้แก่ประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก

-  รวบรวมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ TSUNAMI และคอยช่วยเหลือผู้วิจัยทางด้าน TSUNAMI  และหาแนวทางป้องกันการสูญเสีย  ตลอดจนความเสียหายต่างๆ

 

PTWC ยังเป็นสำนักงานใหญ่ของหน่วยงานปฏิบัติงานทางด้านระบบการเตือนภัย TSUNAMI ซึ่ง PTWC

 ต้องทำงานใกล้ชิดกับหน่วยงานแห่งชาติของแต่ละพื้นที่ ในการเฝ้าติดตาม TSUNAMI โดยใช้การตรวจจับคลื่นแผ่นดินไหวและสถานีน้ำ  และสนับสนุนการติดตั้งเครื่องมือ

รอบมหาสมุทรแปซิฟิก  เพื่อที่จะประเมินการเกิดแผ่นดินไหวที่จะนำไปสู่การเกิด TSUNAMI หรือไม่

 

ท่านจะทำอย่างไรเมื่อท่านต้องเผชิญหน้ากับ TSUNAMI

 

      เมื่อท่านโชคดีมีโอกาสเผชิญหน้ากับ TSUNAMI เรามีกฎแห่งความปลอดภัย ที่ท่านสามารถนำไปใช้เพื่อความอยู่รอดของท่านและคนที่ท่านรัก ขอให้ท่านปฏิบัตดังนี้

- ท่านจงจำไว้ว่าแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทุกครั้ง ไม่ได้เหตุเกิด TSUNAMI ทุกครั้งไป แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช่  ขอให้ท่านเตรียมตัวที่จะต้องเผชิญกับคลื่นยักษ์ดังกล่าว

- แผ่นดินไหวจะเป็นสิ่งเตือนภัยทางธรรมชาติว่าอาจจะมีคลื่นยักษ์เกิดขึ้น  ฉะนั้นขอให้ท่านหลีกเหลี่ยงพื้นที่ราบทางทะเล  เมื่อท่านรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหว

- TSUNAMI ที่เคลื่อนที่ขึ้นสู่ฝั่งจะไม่ได้มาลูกเดียว อาจมีลูกที่สอง,  สามตามมา       ท่านต้องหลีกเหลี่ยงบริเวณที่ต้องเผชิญกับคลื่นยักษ์  และเมื่อคลื่นยักษ์ขึ้นฝั่ง  จนเป็นที่แน่ใจว่าไม่มีลูกอื่นๆ ตามมา ท่านจึงสามารถลงมาในพื้นที่นั้นได้

- TSUNAMI  ที่เคลื่อนที่เข้ามา  บางครั้งท่านสามารถสังเกตได้การขึ้น-ลง ของระดับน้ำชายฝั่งซึ่งการขึ้นลงอย่างผิดปกตินี้จะเป็นสัญญาณเตือนตามธรรมชาติ ท่านควรจะต้องคอยเฝ้าดู

- TSUNAMI  ขนาดเล็กหรือเกิดขึ้นตามท้องถิ่นสามารถที่จะมีอำนาจโจมตีได้หลายกิโลเมตร ท่านต้อง     เฝ้าติดตามตลอดเวลา เพราะว่ายังสามารถเพิ่มขนาดใหญ่ได้

-  เมื่อท่านได้รับสัญญาณเตีอนภัยล่วงหน้าจากศูนย์เตือนภัย ขอให้ท่านเชื่อว่าเกิดคลื่นยักษ์จริงอย่าลังเลสงสัยในคำเตือนนั้น

- TSีUMAMI  ก็เหมือนพายุเฮอริเคน ที่มีอำนาจสูงในการทำลาย ถึงแม้มันจะไม่ทำลายชายฝั่งทุกชายฝั่งที่มันเข้าโจมตี

-  ห้ามท่านลงมาสู่ที่ต่ำ หรือที่ชายฝั่งเพื่อรอดูคลื่นยักษ์ เพราะเมื่อคุณเห็นคลื่นยักษ์ นั่นแสดงว่ามันอยู่ใกล้คุณมากแล้ว และคุณไม่มีโอกาสหนีรอดพ้นได้

- ไม่ช้าก็เร็ว, คลื่นยักษ์จะขึ้นฝั่งทุกๆ ชายฝั่งในมหาสมุทรแปซิฟิก ระบบการเตือนภัยจะช่วยคุณได้ถ้าคุณอาศัยอยู่ในชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก

-  ถ้าท่านได้รับสัญญาณเตือนภัย ขอให้ท่านเชื่อฟัง และปฏิบัติตามเจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้อง และท่านมีเวลาพอที่จะอพยพไปสู่ที่สูงๆ หรือที่ปลอดภัย และขอให้ท่านอย่า  ได้อยู่ใกล้แม่น้ำ, ลำธารต่างๆ เด็ดขาด

-  TSUNAMI  ที่เกิดขึ้นตามท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวประจำท้องถิ่น ถ้าท่านรู้สึกผิดปกติเกิดขึ้น ขอให้อพยพไปสู่ที่สูงทันที อย่าได้รอสัญญาณเตือนภัย  เพราะท่านมีเวลาไม่มากนักในการอพยพขึ้นสู่ที่ปลอดภัย

-  ถ้าท่านอยู่บนเรือในทะเล เมื่อท่านได้รับสัญญาณเตือน ห้ามท่านนำเรือกลับเข้าสู่ฝั่งและให้ท่านนำเรือออกไปนอกฝั่งสู่ทะเลสึกให้มากที่สุด  ท่านจะปลอดภัยจาก TSUNAMI  หรือถ้าท่านอยู่ที่ฝั่งและมีเวลาที่จะนำเรือออกนอกฝั่งสู่ทะเลลึกทันทีที่ท่านได้รับสัญญาณเตือน ท่านจะปลอดภัย

 

คลื่นยักษ์กับประเทศไทย

                ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีชายฝั่งติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ชายฝั่งเราเองก็ไม่ได้ติดต่อโดยตรงกับมหาสมุทรแปซิฟิก จึงค่อนข้างที่จะโชคดีและปลอดภัยจากคลื่นยักษ์

นอกจากนี้เรายังมีเกราะธรรมชาติป้องกันคือ แหลมกาเมาของประเทศเวียตนาม และประเทศฟิลิปปินส์จะเป็นกำแพงธรรมชาติในการขัดขวางการเคลื่อนที่ของคลื่นยักษ์ดังกล่าว

 นอกจากนี้เรายังอยู่ห่างจากแนวรอยเลื่อน,  ภูเขาไฟใต้ทะเล  และแผ่นดินไหวใต้ทะเลด้วย  ซึ่งตำแหน่งของประเทศไทยจึงค่อนข้างปลอดภัย  และมีโอกาสน้อยที่จะเผชิญกับมหันตภัยนั้น

 แต่กระนั้นก็อย่าเพิ่งแน่ใจว่าเราจะปลอดภัยตลอด  โอกาสที่เราจะเผชิญกับคลื่นยักษ์ก็มี  ฉะนั้นเราต้องคอยระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล

และที่ราบต่ำ  จึงต้องมีการเตรียมพร้อมไว้บ้าง

      สุดท้ายนี้  เราได้เห็นความร้ายแรงและรุนแรงของคลื่นยักษ์นี้แล้ว  ก็ต้องขอภาวนาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องคุ้มครองประเทศไทย  จงปกปักษ์รักษาอย่าได้มีเหตุการณ์ร้ายแรง

 เช่น ประเทศปาปัวนิวกินี  เกิดขึ้นกับพี่น้องผู้ที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลของประเทศไทยเลย  ความหายนะต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นมากมายคณานับ  ซึ่งเราไม่สามารถที่จะเอาชนะธรรมชาติได้

  แต่ถ้าเรามีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาตินั้น เราสามารถหาแนวทางและวิธีป้องกันภัยจากธรรมชาตินั้น  ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น  หรือไม่ก็บรรเทาความเสียหายได้ 

แทนที่จะหนักก็กลายเป็นเบาได้  ขอให้เรามีการเตรียมพร้อมและติดตามข่าวสารบ่อยๆ  เราสามารถบรรเทาความเสียหายนั้นได้  จงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท  ความประมาทเป็น

หนทางแห่งความหายนะ...

 

 

คลื่นยักษ์ ไทดอล เวฟ ของประเทศจีน

 

คำสำคัญ (Tags): #ความรุนแรง
หมายเลขบันทึก: 304767เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2009 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

*** แวะมาดูความโหดร้ายของธรรมชาติ

*** สบายดีนะคะ

  • ขอบคุณครับคุณครู ฟางข้าว
  • ที่แวะมาเยี่ยม  มาทักทาย
  • ผมสบายดีครับ
  • ขอให้คุณครูโชคดีมีสุขนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท