เหตุ เกิด เพราะสงคราม ทำให้คนทั้งโลก เข้าใจน้ำมันมะพร้าว ผิด


สงคราม มหาเอเชียบูรพา สงคราม น้ำมันเขตร้อน

 

*** เหตุเกิดเพราะสงคราม***

         - ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 น้ำมันมะพร้าว เป็นที่นิยมใช้ในการปรุงอาหาร และในผลิตภัณฑ์อาหารของคนทั้งโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวเป็นที่รังเกียจของผู้ใช้ทั่วโลก ทั้งนี้ เกิดเพราะ ผลของสงคราม 2 สงคราม คือ 

 

 *สงครามมหาเอเชียบูรพา

       -  ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา(พ.ศ 2484-2488)กองทัพญี่ปุ่น เข้ายึดครองประเทศฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะต่างๆในย่านมหาสมุทรแปซิฟิก จึงตัดทาง ลำเลียง น้ำมันมะพร้าวไปสู่สหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้ผลิตอาหารและร้านค้าอาหารจำเป็นต้องขวนขวายหาน้ำมันอื่นมาทดแทน จึงได้มีการพัฒนาน้ำมันพืชไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เช่น น้ำมันถ่วเหลือง  น้ำมันทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมัน คาโนรา น้ำมันถั่วลิสงฯลฯ และก่อให้เกิดผลประโยชน์ มหาศาลต่อวงการอุตสาหกรรมน้ำมันพืชของสหรัฐอเมริกา

 

 *สงคราม น้ำมันเขตร้อน

    -  ครั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ได้มีการนำน้ำมันมะพร้าวกลับไปจำหน่ายยังสหรัฐอีกครั้งหนึ่งจึงเกิดการแข่งขันกับน้ำมันไม่อิ่มตัวที่เพิ่งพัฒนาขึ้นมา ระหว่างทศวรรษปี พ.ศ 2503-2512 มีการรายงานผลงานวิจัยว่าน้ำมันอิ่มตัวบางประเภท (เช่น น้ำมันจากส้ตว์ และน้ำมันที่ถูกเติมไฮโดรเจน)ไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ซึ่งรวมทั้งน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม(รวมเรียกว่าน้ำมันเขตร้อนหรือTropical Oils) แล้วหันไปบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว โดยเฉพาะ น้ำมันถั่วเหลือง

    - ในทศวรรษ ปี พ.ศ. 2523-2532 ASAใช้เรื่องนี้เป็นกลยุทธรณรงค์อย่างหนักให้คนอเมริกันเปลี่ยนมาบริโภค น้ำมันถั่วเหลือง โดยนำประเด็นความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมาอ้าง ทำให้คนที่กลัวเป็นโรคหัวใจ พากันเลิกบริโภคน้ำมันมะพร้าว การรณรงค์ได้ผลดีเกินคาดทำให้การบริโภคน้ำมันมะพร้าวลดลงอย่างฮวบฮาบ

 

      -ในทศวรรษพ.ศ.2533-2542 จน ASA   ประกาศชัยชนะ และตัวผู้ชนะ ก็คือ  กสิกรผู้ปลูกถั่วเหลือง และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับถั่วเหลีองอเมริกัน  ส่วนผู้แพ้ ก็คือ ผู้ปลูกมะพร้าว ทั่วโลก และอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว แต่สิ่งที่คนอเมริกันได้รับเพิ่มขึ้น หลัง จากที่บริโภคน้ำมันถั่วเหลืองก็ คือ น้ำหนักตัวและความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วนฯลฯ

 

      -  ซึ่งมีกรณีเกิดขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญไม่นาน หลังจากการบริโภคน้ำมันถั่วเหลือง และยังทำให้ คนทั่วโลกที่บริโภคน้ำมันถั่วเหลืองพลอยรับปาบไปด้วย เพราะน้ำมันถั่วเหลืองเป็นน้ำมันไม่อิ่มตัว    ที่หากนำไปหุงต้มที่อุณหภูมิ สูงจะถูกเติมไฉโดรเจน แล้วเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน ทรานส์ ที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพไปเพิ่มคอเลสเตอรอล ในกระแสโลหิต และเกิด สารก่อมะเร็ง

 

        - ยิ่งไปกว่านั้นน้ำมันถั่วเหลืองซึ่งประกอบด้วย กรดไขมันโมเลกุล ยาว ไม่เปลี่ยน เป็นพลังงานเมื่อบริโภคเข้าไปในร่างกาย แต่กลับเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ทำให้เป็นโรคอ้วน ไม่เหมือนน้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็น น้ำมันอิ่มตัว ไม่เกิดอนุมูลอิสระ และไขมัน ทรานส์เมื่อถูกกับอุณหภูมิสูง

 

      -และเนื่องจากมีขนาดโมเลกุลปานกลาง จึงเคลื่อน ย้ายได้รวดเร็ว จากกระเพราะไปยังลำไส้ เข้าสู่กระแสเลือด และถูกใช้เป็นพลังงานใน ตับ จนหมดสิ้น จึงไม่เหลือ เป็นไขมันสะสมในร่างกาย

 

  - ตอนนี้หลายประเทศออกกฏหมายห้ามขายอาหารที่เป็นทรานส์  เช่น แคนาดา ฯ    รวมทั้งประเทศสหรัฐฯ บางรัฐก็ออกกฏหมายห้ามเช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย ฯ

 

****    บทความข้อมูลนี้ จาก

 -   หนังสือ  มห้ศจรรย์ น้ำมันมะพร้าว

 -   หนังสือ พิมพ์ เดลินิวส์  10 มีนาคม 2551

  โดย ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา ประธาน อนุรักษ์และ พัฒนา น้ำมันมะพร้าว  แห่งประเทศไทย

 

    

 

     ผัด มะระใส่ไข่ขาว  ด้วย น้ำมันมะพร้าว ของผู้ใหญ่

 

  

 

    ผัด กุ้งใส่ไข่แดง  ด้วย น้ำมันมะพร้าว ของเด็กๆ หรือ

   ผู้ที่ไม่กลัวคอเลสเตอรอลจากกุ้งและไข่แดง

 

กานาด แสนมณี

 

 

หมายเลขบันทึก: 304578เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2009 19:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนใจเรื่องนำมันมะพร้าวมาก ๆ ครับ ถ้าเรารู้วิธีการทำน้ำมันมะพร้าวบริโภคได้เอง ก็สามารถประหยัดเงินซื้อนำมันพืชชนิดอื่นใช่ใหมครับ

สวัสดีค่ะคุณเลิศฤทธิ์

       ใช้แล้วค่ะทำน้ำมันมะพร้าวใช้เอง นอกจากประหยัดแล้ว ยังภูมิใจ ดีใจที่ทำได้เองใช้เองได้ ที่สำคัญได้คุณภาพเยี่ยม สดสะอาดใหม่ ตอนนี้มีหลายโรงเรียนกำลังให้นักเรียนทำให้ได้ เพื่อใช้ในครอบครัว  และเสริมรายได้ ให้กับครอบครัวและโรงเรียน ด้วยนะคะ

                      

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท