ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ


ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information System)

- ระบบที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ได้มาเพื่อสารสนเทศเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้องที่สุด

ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ

l    ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
l    ซอฟต์แวร์ (Software)
l    ผู้ใช้ (Peopleware)
l    กระบวนการ (Procedure)
l    ข้อมูลและสารสนเทศ (Data & Information)
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
l    สามารถประมวลผลสารสนเทศในลักษณะต่าง ๆ เช่น เป็นการประมวลผลระบบสารสนเทศเพื่อให้ได้ผลลัพธ์นำมาใช้เฉพาะด้าน เฉพาะส่วนหรือสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของสินค้าจากลูกค้า
l    ผู้บริหารสามารถใช้ผลลัพธ์ของระบบหรือสารสนเทศจากระบบไปประกอบการตัดสินใจภายในหน่วยงานของตน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำรายงานสรุปเสนอผู้บริหารระดับสูงเพื่อนำไปพิจารณาประกอบการวางแผนธุรกิจในอนาคตต่อไป
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
l    การนำข้อมูล/สารสนเทศเข้าสู่ระบบ
l    การประมวลผล
l    การจัดเก็บสารสนเทศ
l    การแสดงผลลัพธ์

การประยุกต์ใช้งานสารสนเทศในองค์กร

การนำเทคโนโลยีมาช่วยรวบรวมข้อมูลข่าวสาร หรือ สารสนเทศ จากท้องถิ่น คู่ค้า และ คู่แข่ง เพื่อนำมาใช้เป็นปัจจัยในการทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ของการแข่งขันในการบริหารองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือทำให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจ

สารสนเทศและการตัดสินใจ

ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพสูงและประสบความสำเร็จในการบริหารงาน คือ ผู้บริหารที่สามารถใช้ทรัพยากร 4 ประการอันได้แก่

l    เงิน (money)
l    วัสดุและครุภัณฑ์ (materials)
l    บุคลากร (people)
l    สารสนเทศ (information)
การใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในองค์กร
l    สำหรับผู้บริหารระดับสูง (Strategy level managers)
l    สำหรับผู้บริหารระดับกลาง (Tactical level managers)
l    สำหรับผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational level managers)
l    สำหรับงานประจำในองค์กร (Clerical level)
หน้าที่ของผู้บริหารหน้าที่ของผู้บริหาร
l    วางแผน (planning)
l    ดำเนินการภายใต้แผน (organizing)
l    ชี้นำ (leading)
l    ควบคุมทรัพยากร (resource controlling)
โดยใช้สารสนเทศในการตัดสินใจเพื่อให้ได้มาซึ่ง
l    ผลิตผล (products)
l    บริการ (services)
การใช้สารสนเทศของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ
l   ระดับสูง ใช้สารสนเทศเพื่อวางแผนระยะยาว ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดทิศทางและแผนงานในอนาคต(ระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป) รวมทั้งมีการกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และ วัตถุประสงค์ขององค์กร
l   ระดับกลาง ใช้สารสนเทศเพื่อให้องค์กรดำเนินการต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์ภายใต้กลยุทธ์ในแผนระยะยาว จึงเป็นการกำหนดงานและยุทธวิธีที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละข้อ งานเหล่านี้จะระบุในแผนระยะสั้น (ประมาณ 1 3 ปี)
l   ระดับปฏิบัติการ ใช้กำหนดกิจกรรมหรือพันธกิจภายใต้กลวิธีให้สามารถปฏิบัติงานได้จริงภายใต้ภาระงานด้านต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในแผนระยะสั้น จึงจำเป็นต้องใช้สารสนเทศภายในองค์กรเป็นส่วนใหญ่ สำหรับจัดทำแผนปฏิบัติการล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี
การจัดการระบบสารสนเทศ
l    ตามหน้าที่ของงานในองค์กร   (Function Base System)
l    ในรูปแบบของระบบผสมผสานเบ็ดเสร็จและบูรณาการ    (Integrated System)
การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศ
l   Batch Processing - การประมวลผลข้อมูลที่ได้รับการรวบรวมไว้เป็นกลุ่มข้อมูลแล้วส่งเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อนำไปประมวลผลเป็นครั้งคราว
l    Transaction Oriented Processing การประมวลผลข้อมูลทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ
รูปแบบของระบบสารสนเทศ
l    Data processing systems – (DP)
l    Management Information systems – (MIS)
l    Decision Support system - (DSS)
l    Executive information systems – (EIS)
l    Expert systems – (ES)
Data Processing System  คือ
-          ระบบประมวลผลข้อมูล 
-          ข้อมูลเก็บในรูปของ File  
-          ผลลัพธ์ออกมาเป็นรายงาน
-          เหมาะกับผู้บริหารระดับปฏิบัติ
Management Information System
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูล / สารสนเทศทั้งหมด  ภายในองค์กร อันเป็นผลมาจากการประมวลผลในระบบ DP เพื่อให้สามารถเรียกใช้ในลักษณะแบ่งปันและแลกเปลี่ยนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
แตกต่างกับ DP คือ ใช้ฐานข้อมูลต่างๆ  ในองค์กรร่วมกัน
Management Information System  คุณลักษณะของ MIS
1. รวบรวม ประมวลผล และจัดเก็บข้อมูล
2. ใช้ฐานข้อมูลแบบ บูรณาการ
3. ผู้บริหารทุกระดับ  เข้าถึงได้สะดวก
4. เพิ่มเติม แก้ไข  และเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
5. มีระบบความปลอดภัย  กำหนดผู้ที่จะเข้าถึง
Decision support system
l   ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ออกแบบมาเพื่อให้สนับสนุนการตัดสินใจในงานหลาย ๆ ด้านพร้อมกัน ดังนั้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรจึงได้รับการจัดระบบใหม่เพื่อให้สามารถแสดงความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เรียกใช้ได้ทันที
l    ต่างกับระบบ MIS ที่แม้จะแลกเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างงานได้ แต่สารสนเทศต่าง ๆ ก็ถูกจัดไว้สำหรับแต่ละงาน
Decision support system  มีคุณลักษณะสำคัญ  คือ
1. ช่วยผู้บริหารตัดสินใจ
2. ออกแบบมาเพื่อสนองการแก้ปัญหา
3. เหมาะกับผู้บริหารระดับ กลางและสูง"
4. ง่ายต่อการใช้งาน
5. มีแบบจำลอง แบบทดสอบ  และเครื่องมือวิเคราะห์
6. ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างได้
7. ใช้กับงานฐานข้อมูลในองค์กรได้
8. ไม่ประมวลผล งานประจำ
DSS ประกอบด้วยเครื่องมือ ต่อไปนี้
1. Application Development
2. Data Management
3. Modeling
4. Statistical Analysis
5. Planning
6. Graphics

7. Consolidation

8. Application – Specific DSS Capacity

Executive information systems

เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้หลักการและวิธีเดียวกับระบบ DSS แต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบการตัดสินใจที่ซับซ้อน ต้องการความแม่นยำและรวดเร็วในการตัดสินใจจากสภาวะหรือผลกระทบขององค์กร

Expert system

ระบบผู้เชี่ยวชาญ จัดเป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งที่นำวิทยาการของปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้จัดการสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสนเทศที่เป็น ความรู้ (knowledge) ในเฉพาะสาขาหรือเฉพาะด้าน ดังนั้นระบบผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างฐานความรู้ (knowledge base) และกลไกในการตั้งคำถามและหาคำตอบ ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการถามและตอบเหมือนคุยกับผู้เชี่ยวชาญจริง ๆแต่อย่างไรก็ไม่สามารถแทนที่มนุษย์ได้

Software agent

เป็นการใช้วิทยาการปัญญาประดิษฐ์อีกรูปแบบหนึ่งในการเสนอสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ โดยที่ผู้ใช้แสดงเจตจำนงไว้ว่าต้องการให้ทำอะไร ในวันไหน เวลาใดบ้าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ก็จะจัดการตามที่สั่ง

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 304565เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2009 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 09:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท