การเรียนรู้วิชาช่างไฟฟ้าเบื้องต้น


แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

เครื่องมืองานเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน

สำหรับใช้งานไฟฟ้ามีหลายชนิด  เช่น  ค้อนหงอน  ทำด้วยเหล็กด้านหน้าเรียบ  หงอนด้านบนใช้ถอนตะปู  ค้อนเหลี่ยมเล็กใช้ตอกตะปูในการเดินสายไฟ

 

  

ค้อนหงอน        ค้อนเหลี่ยม           ค้อนไม้

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

การใช้ค้อนมีข้อควรระวังและวิธีใช้ดังนี้

1.  อย่าใช้ค้อนงัดจนเกินกำลังจะทำให้ด้ามค้อนหัก

2.  รักษาผิวหน้าค้อนให้ราบเรียบเสมอกัน

3.  ห้ามใช้ค้อนที่ชำรุด

4.  หลังจากใช้งานแล้ว  ควรเช็ดให้สะอาด  ทาด้วยน้ำมัน  เก็บไว้ในที่เก็บเครื่องมือ

2.  คีม   คีมเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการเดินสายไฟมาก  ใช้ตัด  ดัด งอ โค้งและปอกสายไฟ  คีมที่มีด้ามเป็นฉนวนหุ้ม  จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยในการทำงาน  คีมที่ใช้ในการเดินสายไฟพอจะแยกออกได้เป็น  4  ชนิดคือ  คีมปอกสายและตัดสาย  คีมปากจระเข้  คีมปากจิ้งจก  และคีมย้ำหัวต่อสาย

 

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1.  ใช้คีมให้เหมาะกับงาน

2.  ไม่ใช้คีมขันสกรูหรือเกลียว  เพราะจะทำให้ปากคีมเยิน

3.  ไม่ควรใช้คีมต่างค้อน

4.  ก่อนใช้ตรวจฉนวนหุ้มให้เรียบร้อย  ถ้าชำรุดห้ามใช้

5.  เมื่อเลิกใช้ควรทำความสะอาดเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

3.  ไขควง  ไขควงเป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างยิ่งในงานไฟฟ้าเล็ก ๆน้อย ๆ ในบ้าน เช่น  ต่อฟิวส์  ใส่สวิตซ์ ใส่ดวงโคม  ขันตะปูเกลียวหรือสกรูให้แน่น  ถอนตะปูเกลียวออกจากที่ยึด  ไขควงมีหลายชนิดตามลักษณะที่ใช้งาน  คือ  ไขควงปากแบน  ไขควงปากสี่แฉก  ไขควงบล็อก

 

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1. ไม่ควรใช้ไขควงแทนสกัดหรือค้อน

2. ไม่ควรใช้ไขควงที่เปื้อนน้ำมัน   เพราะอาจเกิดพลาดพลั้งกระแทกมือได้

3.  ควรเลือกใช้ไขควงที่มีปากลักษณะเดียวกับชนิดของหัวสกรู

4.  การใช้ไขควง  ควรจับที่ด้ามของไขควง  ไม่ควรใช้คีมจับด้ามไขควงขันสกรู

5.  ใช้ไขควงที่มีด้ามเป็นฉนวนในงานช่างไฟฟ้า

6.  ถ้าไขควงชำรุดต้องซ่อมทันที

7.  หลีกเลี่ยงการใช้ไขควงถอดหรือคลายสกรูเก่าที่ชำรุด

8.  เมื่อเลิกใช้แล้วควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

 

4.  สว่านเจาะไม้  สว่านเจาะไม้  ใช้ในการเดินสายไฟมาก  เพราะบางครั้งต้องเจาะรู เพื่อยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่นพุกประกับลูกถ้วย กล่องไม้  ร้อยสาย เป็นต้นสว่านเจาะไม้มีหลายแบบหลายขนาด  เช่น  สว่านข้อเสือ  สว่านเฟือง  สว่านชนิดมือกระแทก  สว่านด้ามเหล็กและสว่านไฟฟ้าซึ่งใช้เจาะได้ทั้งไม้และผนังตึก  ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

 

 

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1.  เลือกสว่านให้เหมาะสมกับงาน

2.  ใส่ดอกสว่านให้ตรงแน่นก่อนใช้งาน

3.  ขณะเจาะต้องตั้งดอกสว่านให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน  จับชิ้นงานไว้ให้แน่น

4.  ถ้าต้องการเจาะรูโต  ควรใช้ดอกสว่านเล็กนำก่อน

5.  ขณะเจาะควรคลายให้เศษวัสดุออกบ้าง  เพื่อลดแรงกด  ทั้งป้องกันมิให้ดอกสว่านร้อนหรือหัก

6.  หากชิ้นงานที่เจาะเป็นไม้  ก่อนทะลุควรกลับไม้เจาะด้านตรงข้ามเพื่อป้องกันมิให้แตก

7.  การเจาะด้วยสว่านไฟฟ้าไม่ควรล็อกปุ่มกดสวิตซ์  และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

8.  เมื่อเลิกใช้งานให้ถอดดอกสว่านออกจากส่วนตัวสว่าน  ทำความสะอาด  เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

 

5.  มีด  มีดใช้สำหรับตัด ปอก ขูดหรือทำความสะอาดสายไฟ  ใช้มากในการเดินสายไฟฟ้า

 

          วิธีใช้และการบำรุงรักษา

การปอกสายไฟควรตะแคงมีด    ทำมุม

45  องศา    กับสายไฟลักษณะเดียวกับการ

เหลาดินสอ อย่ากดใบมีดลึกจนเกินไป  เพราะ

ใบมีดอาจตัด  ถูกลวดทองแดงภายในขาด  หรือ

ชำรุดเสียหาย

 

6.  เลื่อย  เลื่อยมีหลายชนิดหลายแบบทั้งขนาดและรูปร่าง เลื่อยที่ใช้สำหรับงานช่างไฟฟ้า  คือเลื่อยปากไม้  หรือเลื่อยรอปากไม้  เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  สันด้านบนเป็นเหล็กหนา  มีฟันเลื่อยละเอียดใช้สำหรับตัดปากไม้ในการเข้าไม้ต่าง ๆ ให้ประณีตเรียบร้อย

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1.  อย่าปล่อยให้ใบเลื่อยเปียกน้ำ  ควรเก็บ

      ไว้ในที่แห้ง  ไม่ชื้น

2.  เมื่อแต่งฟันเลื่อยพยายามให้ฟันเลื่อย

       อยู่ในรูปเดิม

3.  อย่าวางเลื่อยให้ถูกแดดร้อนจัด

4.  เมื่อเลิกใช้แล้วต้องทำความสะอาด

      ชโลมด้วยน้ำมัน  เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

7.  หัวแร้งบัดกรี  หัวแร้งบัดกรี    เพื่อเชื่อมหรือประสาน  มีอยู่  2  ชนิดคือหัวแร้งชนิดเผาด้วยถ่าน  และหัวแร้งไฟฟ้า       และหัวแร้งไฟฟ้าที่เหมาะสมที่จะใช้กับงานเดินสายไฟ      และงานซ่อม  งานปะสาน

 

เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ใช้ความร้อนไม่มาก

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1.  ต้องรักษาปลายหัวแร้งให้สะอาดอยู่เสมอ

2.  อย่าให้หัวแรงบัดกรีร้อนจัดเกินไป

3.  หัวแร้งเมื่อใช้แล้วต้องจุ่มน้ำกรดอย่าง

      เจือจาง  แล้วจึงเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

 

7.  เครื่องมือวัดไฟฟ้า  เครื่องมือวัดไฟฟ้า  เช่น  มัลติมิเตอร์  ใช้วัดได้หลายอย่าง คือ  โวลท์  แอมแปร์และโอมห์ม

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1.  ศึกษาวิธีใช้เครื่องมือวัดให้เข้าใจก่อนใช้เพราะหากจะใช้ผิดจะเกิดความเสียหายได้

2.  เลือกใช้เครื่องวัดให้ถูกกับชนิดของกระแสไฟฟ้า

3.  ใช้แล้วต้องเก็บรักษาให้ดี  อย่าตกใจหรือกระทบกระเทือนมาก  มาก ๆ  อาจชำรุดหรือเกิดความเสียหาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 304250เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2009 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากคะ สำหรับข้อมูล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท