เรียนรู้ร่วมกันสร้างสรรค์สังคมที่ดี (รับรู้ความเคลื่อนไหวของแวดวงการศึกษาด้วยกันที่นี่)


เปิดตัวหน่วยบริการรักษาทางกายภาพบำบัดและแพทย์แผนไทยประยุกต์ อย่างเป็นทางการ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา ม.ทักษิณ  เปิดให้บริการรักษาทางกายภาพบำบัดและการแพทย์แผนไทยประยุกต์แก่ผู้มีปัญหาด้านสุขภาพ

ศูนย์บริการสุขภาพ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ได้เสนอบริการทางกายภาพบำบัดและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อตรวจ ประเมิน บำบัด และรักษาอาการเจ็บป่วยในภาวะกระดูก  กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระบบประสาท  เช่นอัมพฤกษ์  อัมพาต  เด็กสมองพิการและบริการให้คำปรึกษาด้านการออกกำลังกายแก่บุคคลทั่วไป

                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เชาวลักษณ์  ฤทธิสรไกร คณบดีคณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา กล่าวว่า  กายภาพบำบัดให้การรักษาโดยไม่ใช้ยา ไม่ผ่าตัด แต่จะเน้นการบริหารด้วยเทคนิคเฉพาะ ได้แก่ การนวด  การกดจุด  การดัด ดึง กระดูก  ข้อต่อและการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เครื่องอัลตราซาวด์  ที่ให้ความร้อนลึกถึงกล้ามเนื้อในร่างกาย  การรักษาด้วยความร้อน/เย็น

             ส่วนการแพทย์แผนไทยประยุกต์นั้นจะให้การรักษาด้วยการใช้สมุนไพร  นวด อบ ประคบ 

             ศูนย์บริการสุขภาพ  ได้เปิดให้บริการผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคดังต่อไปนี้ 

-          ผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยคอ  หลัง ไหล่  จากการทำงาน 

-          ภาวะกระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

-          ข้อเข่าเสื่อม

-          การบาดเจ็บของข้อต่อ  เอ็น  กล้ามเนื้ออักเสบจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ

-          อาการข้อยึดติด

-          ปากเบี้ยว หนังตาตก

-          ฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์  อัมพาต  ผู้สูงอายุและเด็กสมองพิการ

-          ให้คำปรึกษาด้านการออกกังกาย ท่าทางที่ถูกต้องในการทำงานและการรักษาดูแลตัวเองเบื้องต้น

รายละเอียดในการให้บริการด้านการรักษาพยาบาล แก่ผู้มีปัญหาเรื่องสุขภาพประกอบด้วย

1. การรักษาด้วยเครื่องไฟฟ้า ประกอบด้วย

1.1  เครื่องอัลตร้าซาวด์  เพื่อรักษาเนื้อเยื่อระดับลึก  เพิ่มการไหลเวียนเลือด  ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  สลายผังผืด  ลดการอักเสบต่าง ๆ

1.2 เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า  เพื่อรักษาอาการชา  กระตุ้นระบบประสาทให้ส่งกระแสประสาททำงานได้ดีขึ้น กระตุ้นกล้ามเนื้อที่ฝ่อลีบให้แข็งแรงขึ้น

1.3 เครื่องดึงกระดูกสันหลัง เพื่อรักษาโรคกระดูกทับเส้น  กระดูกเสื่อมหรือหมอนรองกระดูกเคลื่อน

                2. การรักษาด้วยความร้อน/เย็น เพื่อรักษาอาการปวดกระดูก  กล้ามเนื้อ เพิ่มเติมความยืดหยุ่น ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อและผังผืดที่อยู่ระดับตื้น

                3. การออกกำลังกายเพื่อการรักษา  เป็นการป้องกันและฟื้นฟูความพิการ เรียนรู้การเคลื่อนไหว และการคงไว้ซึ่งการทำงานของร่างกายที่ถูกต้อง

                4. หัตการบำบัดหรือการรักษาด้วยมือ  เช่นการนวด  ดัด ดึง  การจัดโครงสร้างกระดูก  การกดจุด และการคลายเส้นประสาท ซึ่งจะนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับผู้ป่วยหรือสใช้วิธีการนวดเพื่อสุขภาพในบุคคลธรรมดา

                ศูนย์บริการสุขภาพ เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์  ตั้งแต่เวลา 08.30 -19.30 น. 

ศูนย์ออกกำลังกาย (Fitness)   เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 17.00-19.30 น.
สนใจทราบข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่ ศูนย์บริการสุขภาพ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ  วิทยาเขตพัทลุง โทรศัพท์ 0-7469-3997, 0-7460-9600 ต่อ 4204

 

คำสำคัญ (Tags): #ไหม
หมายเลขบันทึก: 304108เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2009 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นายกานต์ชนก ทรัพย์นิรันดร์

เห้นด้วยในด้านของการรักษาสุขภาพและบำบัดในเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ

จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่เป็นโรคภัยที่ต้องการเข้ารับการบำบัด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท