ประภัสสร
นางสาว ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง

เมื่อช่างทอผู้ไท ไปแสดงงานที่อเมริกา ตอน 1


การสาธิตได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ชาวชาวอเมริกัน รวมถึงคนไทยที่ไปตั้งถิ่นฐานในอเมริกา ผู้ชมทั่วไปและนักทอผ้าสมัครเล่นจำนวนมากที่มาชมการสาธิต มักอุทานด้วยความประหลาดใจ และชื่นชม

 การที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในโครงการเทศกาลวิถีชีวิตชาวบ้าน ของสถาบันสมิธโซเนียน ( The Smithsonian Folklife Festival ) ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กระทรวงวัฒนธรรม ในหัวข้อ แม่น้ำโขงเชื่อมสายใยวัฒนธรรม (Mekong River Connecting Culture) ที่นำช่างฝีมือจากประเทศลุ่มแม่น้ำโขงไปแสดงงาน  ซึ่งเริ่มเตรียมการมาตั้งแต่ปี 2005 และจัดงานจริงในปี 2007  ทำให้ได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับช่างทอผ้าชาวผู้ไท บ้านโพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์อย่างใกล้ชิดมากขึ้น  โดยการเป็นล่ามแปลภาษาในงานเทศกาลวิถีชีวิตชาวบ้าน ที่จัดขึ้นที่สนามหลวงแห่งกรุงวอชิงตัน ดีซี ( The National Mall )ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ต่อต้นเดือนกรกฎาคม  2007  รวมทั้งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงดูแลความเป็นอยู่ต่าง ๆ ในช่วงการไปแสดงการสาธิตการทอผ้าที่สหรัฐอเมริกา

     

     การแสดงสาธิตทอผ้าแพรวา จากบ้านโพน จ.กาฬสินธุ์ ในงานเทศกาลฯ เป็นการแสดงถึงศิลปะการทอผ้าชั้นสูงที่มีความประณีตงดงามของแพรวา ที่ถ่ายทอดกันในหมู่สตรีชาวผู้ไทสืบเนื่องต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประจำกลุ่มมานานหลายศตวรรษ   ช่างทอผ้าที่ไปสาธิตในงานเทศกาล คือ สองน้า-หลาน  บุญเลียน สระทอง อายุ 42 ปี และ ประภาวดี สระทอง อายุ 13 ปี   การสาธิตได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ชมชาวอเมริกัน รวมถึงคนไทยที่ไปตั้งถิ่นฐานในอเมริกา  ผู้ชมทั่วไปและนักทอผ้าสมัครเล่นจำนวนมากที่มาชมการสาธิต มักอุทานด้วยความประหลาดใจ และชื่นชม  เมื่อเห็นกี่พื้นบ้านที่มีเส้นด้ายระโยงรยางค์หลายพันเส้นจากการเก็บลายแพรวาสามลาย  เพราะความซับซ้อนของเทคนิคการจกลายแพรวาที่เรียกกันว่า เป็นการปักลายลงไปในขณะทอ  ( embroidery on loom  หรือ  discontinuous supplementary -weft technique )ไม่เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตก  

        การทำหน้าที่ในการแปลคำถามจากผู้ชม และส่งกลับคำตอบจากช่างทอ  ทำให้ผู้แปลเองได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆเพิ่มมากขึ้น (จากที่เคยคิดว่ารู้มากแล้ว)  และเข้าใจเทคนิคการทอที่ลึกซึ้งขึ้นมากกว่าที่เคยรู้มาก่อน  และความเข้าใจเชิงเทคนิคนี้เองที่ทำให้มองเห็นถึงความเป็นไปได้ในการออกแบบลวดลายผ้าแพรวาด้วยโครงสร้างที่แตกต่างไปจากเดิม  เมื่อตัดสินใจที่จะเริ่มโครงการฟื้นฟูและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแพรวาในอีกหลายเดือนต่อมา....

 

 

หมายเลขบันทึก: 303939เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2009 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เคยไปบ้านโพน

เคยพาแม่ไปซื้อผ้าแพรวา ผ้าลายขิต

ยังไม่อยากซื้อ ผู้หญิงอย่าได้หลุดเข้าไปเลยนะ คุณจะไม่อยากออกมาโดยไม่ได้ผ้าออกมาด้วยเลย

ไปทุกครั้ง ไม่ต่ำกว่า 2-3 ชม.

แม่จะไปดูบ้านโน้นบ้านนี้ ชาวบ้านมีความเป้นมิตรมาก ผ้าก็ถูก ไปที หามมาเต็มรถ

ถ้าอยากรู้ ลองไปดูเลย แล้วคุณจะถูกขอร้องให้พาไปอีก

แน่นอน

งานศิลป์ไทยไปต่างแดน ชื่นชม ยินดี งานฝีมืออันประณีตแบบไทยๆ เป็นกำลังใจให้นะคะขอบพระคุณค่ะ

ขอบคูณค่ะที่แวะมาทักทายและให้กำลังใจกัน

ขอบคุณนะครับ สำหรับเนื้อหาดีๆ แบบบนี้ ผมชอบผ้าไหมแพรวามาก สวยงาม ปราณีต และผมก็เก็บสะสมไว้หลายผืนครับ วันหลังจะเอามาให้ดูครับ

เด็กในหมู่บ้านนี้ชอบการทอผ้าไหมแพรวาค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท