คำมูล คำประสม ของหวานที่ขาดไม่ได้ในข้อสอบ


คำมูล คำประสม

ของหวานที่ขาดไม่ได้ในข้อสอบ

     เนื้อหาสาระที่นิยมนำมาออกข้อสอบเป็นประจำเห็นจะได้แก่ คำมูลและคำประสม ถ้ายังสับสน แยกแยะไม่ได้ วันนี้เราจะมาทบทวนกันนะคะ

ตัวอย่างคำมูล เช่น พ่อ แม่ บิดา มารดา ก๋วยเตี๋ยว ซูชิ กิมจิ แฮมเบอร์เกอร์ ฯลฯ

คำมูล คือ ๑. คำที่มีใช้อยู่ในภาษาไทย จะเป็นคำกี่พยางค์ก็ได้ แต่มีเพียงความหมายเดียว  พ่อ แม่ - ๑ พยางค์

                  บิดา มารดา - ๒ พยางค์

                  แฮมเบอร์เกอร์ - ๓ พยางค์

             ๒. คำมูลจะเป็นคำไทยแท้หรือคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้

                  พ่อ แม่ - คำไทย

                  บิดา มารดา - บาลี

                  ก๋วยเตี๋ยว - จีน

                  ซูชิ - ญี่ปุ่น

                  กิมจิ - เกาหลี

                  แฮมเบอร์เกอร์ - ภาษาอังกฤษ

            ๓. หากเราแยกคำมูลที่มีหลายพยางค์ออกจากกัน แต่ละพยางค์จะไม่มีความหมาย หรือถ้ามีความหมายก็จะเป็นคนละเรื่องกับคำมูลนั้น เช่น

สับปะรด แยกเป็น สับ - ปะ - รด แต่ละพยางค์มีความหมายไปคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับผลไม้เลย

คำประสม ๑. เกิดจากการนำคำมูลมารวมกันทำให้เกิดความหมายใหม่ โดยมีเค้าความหมายเดิมอยู่บ้าง เช่น ทางเท้า ดาวเทียม นำพริก พัดลม ลูกอม

             ๒. เกิดจากการนำคำมูลมารวมกันแล้วเกิดความหมายใหม่ ไม่มีเค้าความหมายเดิมเลย เช่น หลังคา ยกเมฆ ตีเข่า หักอก

             ๓. เกิดจาการนำคำมารวมกับคำที่มีความหมายยาว ๆ เช่น นัก หมอ ช่าง ชาว เครื่อง คน การ ความ (การและความต้องรวมกับคำนามเท่านั้น เช่น การไฟฟ้า การบ้าน ความอาญา ถ้าการรวมกับ กริยา ความรวมกับวิเศษณ์ ไม่ใช่คำประสมนะ ต้องสังเกตให้ดี)

             ๔. คำบางคำมองเผิน ๆ เหมือนคำประสม แต่ที่จริงไม่ใช่ เช่น

                 น้องเมีย (ความหมายคงเดิมคือน้องของเมีย)

                 แม่ไก่ (ความหมายคงเดิมคือแม่ของไก่)

             ๕. คำที่ประสมกันแล้วนำมาใช้เป็น นาม กริยา หรือ วิเศษณ์

                 แม่บ้าน ลูกน้ำ เรือใบ - ใช้เป็น นาม

                 หาเสียง จับตาย เข้าคิว - ใช้เป็น กริยา

                 คอตก ใจดำ ปากหวาน - ใช้เป็น วิเศษณ์

ข้อสังเกต

             ถ้าแยกแต่ละพยางค์ออกจากกันแล้วไม่ได้ความหมาย - เป็นคำมูล เช่น นา-ฬิ-กา 

             ถ้าแยกแต่ละคำหรือพยางค์ออกจากกันแล้วมีความหมายทุกคำหรือพยางค์- เป็นคำประสม เช่น แม่ - ทัพ   ชาว-ต่าง-ประเทศ

ทดสอบความเข้าใจกันหน่อย

 ๑. ข้อใดไม่ใช่คำมูล

 ก. นารี      ข. วารี        ค. วงรี        ง. นรี       

เฉลย คำตอบที่ถูก คือ ค. วงรี 

เมื่อแยกคำว่า วงรี ออกเป็น วง - รี มีความหมายทั้ง ๒ คำ รี เป็นคำวิเศษณ์  ขยายคำว่า วง ทำให้มีความหมายว่า วงที่มีลักษณะ รี  

๒.   ข้อใดเป็นคำประสมที่ทำหน้าที่เหมือนกันทุกคำ

ก. กรวดน้ำ ขอโทษ คนสนิท จัดการ

ข. ขาดมือ คนทรง จับใจ เจ้ากู

ค. ข้าวตอก เงินตรา ผิดใจ ลูกเลี้ยง

ง. กระดานชนวน ข้าวต้ม คนกลาง เงินเดือน

เฉลย คำตอบที่ถูก คือ ข้อ ง. ทุกคำใช้เป็นคำนาม 

ทบทวนให้เข้าใจดี ก่อนอ่าน คำซ้ำ คำซ้อน แฝดคนละฝาในบันทึกต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 303651เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2009 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เข้ามาสูบข้อมูลก่อนสอบครับ

^^

กระจ่างเลย

ดีกว่าอ่านในหนังสืออีก

อ่านในหนังสือภาษาทางการ อ่่านแล้วงง อิอิ

^^

อ่านแล้วเข้าใจ ขอบคุณมากๆครับ เข้าใจแจ่มเลย

ขอบคุณค่ะ เข้าใจขึ้นมากเลย...^^

  สวัสดีค่ะ หวังว่าทุกคนคงทำข้อสอบ O-net ได้นะคะ

ยังไม่เข้าใจเลยยย

อย่ากรู้เรื่องคำมูน

สวัสดีค่ะ

   คำมูลได้แก่คำที่ใช้อยู่ในภาษาไทยโดยที่ไม่เคยผ่านกระบวนการต่อเติมเสริมคำแต่ประการใด  มีเพียงความหมายเดียว  ไม่สามารถแบ่งแยกออกไปได้อีก เช่น นาฬิกา

  ส่วนคำประสมเกิดจากคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปนำมารวมกันเพื่อให้เกิดเป็นคำใหม่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากคำเดิม เช่น  นาฬิกา + ทราย = นาฬิกาทราย

   อ่านรายละเอียดข้างบนซ้ำอีกครั้ง

ขอบคุณค่ะครูแป๊ว ^_______^

อยากรู้ว่าเฉลยอยู่ตรงไหนครับ ผมจะขออยากดูเฉลยหน่อยครับ ตอบด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท