พฤติกรรม : (8) ชอบให้บอกมาแบบชัดเจนแล้วคิดว่าจะเข้าใจ (?)


พฤติกรรมนี้ จะพบบ่อยครั้ง  พบเจอได้ง่ายครับ  ลองสังเกตในการอบรม  ในการประชุมสัมมนา  ในห้องเรียน  ในช่วงที่พูดคุยถึงประเด็นอะไรที่เป็นเรื่องใหม่คนยังไม่คุ้นเคย  หรือว่าเป็นเรื่องเก่าแต่มีความสลับซับซ้อนของมิติความเชื่อมโยง  คนส่วนใหญ่มักจะไม่คุ้นชิน กับสถานการณ์เช่นนี้  และจะรู้สึกเครียด อยากให้ผู้รู้มาเฉลยเลยดีกว่า  ไม่ยากคิด  และไม่ค่อยเชื่อมั่นกับคำตอบที่หามาได้ด้วยตัวเอง หรือทีมงานด้วยกันเอง  ต้องให้คนที่มี "คำนำหน้าชื่อ" น่าเชื่อถือมาบอกแล้วจึงจะเชื่อ

ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้าเรากำลังทำเรื่องการพัฒนาคนในองค์กร หรือ ชุมชนที่มีพฤติกรรมเช่นนี้  อาจจะต้องมานั่งขบคิดเรื่องการพัฒนาวิธีการ "ทำอย่างไรที่จะให้ เขาเรียนรู้จากข้างในของตัวเอง"  มากกว่า ติดวิธีการเรียนรู้ ที่คอยให้คนอื่นมาบอก  มาอธิบาย แล้วคิดว่าตัวเองจะเข้าใจ  ต้องคิดสร้างกุศโลบายสร้างความมั่นใจ  กล้าโง่ (เพื่อที่จะเข้าใจอะไรมากขึ้น)

ไม่อย่างนั้น  แม้จะใส่ความรู้อะไรลงไป เท่าไร เขาก็จะได้เพียงเปลือกของความรู้เอาไปหลงไหลว่าเข้าใจกันแล้ว  

แต่อนิจจา  ผลที่จะเกิดการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเชื่อมโยงไปถึงการงาน  ชีวิตส่วนตัวได้นั้นมักเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก 

การพัฒนาคน จึงน่าจะมีสนามซ้อม  ให้ทดลองนำสิ่งที่เรียนรู้มา ลองเอาไปใช้งานให้ได้  เรียนมาแล้ว รู้มาก รู้น้อยไม่สำคัญ  ขอแค่ เอามาใช้กับการงาน ชีวิตได้เพียงเรื่องเดียวก็น่าจะคุ้มค่าแล้ว 

ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง การปฏิบัติธรรม ในชีวิตประจำวันของคนเรา  ไม่ว่าศาสนาใดก็ตาม  เรามีหลักคำสอนกันทุกศาสนา   เราเรียนกันจนท่องจำกันได้ว่ามีอะไรบ้าง  เราอาจจะวิเคราะห์กันได้เป็นคุ้งเป็นแคว     แต่ "การปฏิบัติ" เท่านั้น ที่จะบอกเราได้ว่าเราเข้าใจ เข้าถึงธรรมะตามหลักศาสนานั้นๆ ได้มากน้อยเพียงใด  ไม่ใช่แค่คำอธิบาย

1 แสนล้านคำ(พูด) หรือจะนำมาเทียบได้แค่ 1 การกระทำ

คำสำคัญ (Tags): #พฤติกรรม
หมายเลขบันทึก: 303443เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2009 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง การปฏิบัติธรรม ในชีวิตประจำวันของคนเรา  ไม่ว่าศาสนาใดก็ตาม  เรามีหลักคำสอนกันทุกศาสนา   เราเรียนกันจนท่องจำกันได้ว่ามีอะไรบ้าง  เราอาจจะวิเคราะห์กันได้เป็นคุ้งเป็นแคว     แต่ "การปฏิบัติ" เท่านั้น ที่จะบอกเราได้ว่าเราเข้าใจ เข้าถึงธรรมะตามหลักศาสนานั้นๆ ได้มากน้อยเพียงใด  ไม่ใช่แค่คำอธิบาย"

 

คำคมทีเดียวครับพี่ธวัช

สวัสดีครับ เคยได้ยินสำนวนของท่านไร้กรอบ(http://gotoknow.org/blog/ariyachon) กล่าวไว้ว่า "เรียนรู้วิธีการเรียนรู้" หาหนทางที่จะได้ซึ่งความรู้นั้นมา ผมคิดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีทีเดียวเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท