Learning Object


Learning Object

Learning Object

สื่อการเรียนรู้ Learning Object (LO) ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้แบบดิจิทัลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และได้ออกแบบให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานหลักสูตร โดยแต่ละเรื่องจะนำเสนอแนวคิดหลักย่อยๆ ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆได้อย่างหลากหลาย มีความยืดหยุ่นในการใช้งานทั้ง On – line และ Off – Line และในรูปแบบ e - Learning
           Learning Object แตกต่างจากสื่อดิจิตทัลอื่น คือเน้นกระบวนการเรียนรู้ โดยเฉพาะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานของหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ซึ่งครูสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม หรือใช้สำหรับการเรียนรู้แบบออนไลน์ตามศักยภาพและความสนใจที่แตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน สามารถจัดเก็บและค้นหาในระบบฐานข้อมูลได้ ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกวิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลอย่างรวดเร็ว

Learning Object คือสื่อการเรียนรู้ดิจิตอล ที่ออกแบบเพื่อ ให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยแต่ละเรื่อง จะนำเสนอแนวคิดหลักย่อยๆ ผู้สอนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย  สสวท.

มีเป้าหมายในการผลิต Learning Object คุณภาพสูง ซึ่งมีคุณลักษณะต่อไปนี้

  • เนื้อหา กิจกรรม การนำเสนอเหมาะสมกับผู้เรียน (อายุ ความสนใจ ความรู้เดิม) ถูกต้อง มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
  • ผู้เรียนมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ ลำดับการนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมเอื้อให้เกิดการเรียนรู้
  • ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม ไม่เพียงแต่รับข้อมูล (สืบเสาะค้นหา แก้ปัญหา แปลความหมายข้อมูล พัฒนา สร้าง นำเสนอชิ้นงาน)
  • มีการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถรับข้อมูลเพิ่มเติม และ feedback ที่เหมาะสมและมีประโยชน์
  • ผู้เรียนเรียนรู้จากสถานการณ์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง และใช้ความรู้ในบริบทที่หลากหลาย

ในการสร้าง  Learning Object   มีขั้นตอนดังนี้

1. เลือกเรื่องและกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                ขั้นตอนแรกในการสร้าง Learning Object  คือารเลือกเรื่องหรือหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ผู้สร้างควรตอบตัวเองได้ว่า  ทำไมจึงควรใช้งบประมาณ  และเวลาที่มีจำกัด  ในการพัฒนาสื่ออิเล็กทอนิกส์เรื่องนี้  หัวข้อที่เลือกสำคัญกว่าหัวข้ออื่นๆ  ในหลักสูตรหรือไม่  อย่างไร

                ผู้สร้างควรตรวจสอบว่า  ลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้ในหัวข้อนี้  เหมาะสมสำหรับการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือไม่  อย่างไร  โดยทั่วไปเรื่องที่เหมาะกับการถ่ายทอดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ได้แก่  การศึกษาปรากฎการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น

                ข้อผิดพลาดที่พบเห็นได้บ่อย  คือการพัฒนา  Learning Object  บนพื้นฐานของความสะดวกในการออกแบบและสร้างแต่เป็นการจำลองกิจกรรมที่สาธิตหรือทดลองได้ง่ายในชั้นเรียน  การผลิต  Learning Object  ในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นการใช้ประโยชน์  อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

                เมื่อเลือกหัวข้อเรื่องได้แล้ว  การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังจะช่วยให้ผ้สร้างสามารถออกแบบและสร้าง  Learning Object  ในขั้นตอนต่อๆไปได้ง่าย  ผู้สร้างควรกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนว่าเมื่อเรียนรู้จาก  Learning Object  นี้แล้ว  นักเรียนจะมีพฤติกรรมอย่างไร  เช่น สามารถอธิบายแนวคิดได้  สามารถแก้โจทย์ปัญหาได้  สามารถสร้างแบบจำลองได้  เป็นต้น

2. ออกแบบ

                คำถามหลักในขั้นตอนการออกแบบ  คือ  Learning Object  จะมีบทบาทอย่างไรบ้าง  การทำให้นักเรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  คำตอบของคำถามนี้จะช่วยให้สามารถกำหนดรูปแบบการนำเสนอใน  Learning Object  ได้อย่างเหมาะสม

                เมื่อกำหนดบทบาทของ  Learning Object  ได้แล้ว  ลำดับต่อไป  คือการออกแบบ  ในขั้นตอนนี้  ผู้สร้างสือ่ต้องตัดสินใจในหลายๆประเด็น  เช่น  จะกระตุ้นความสนใจของนักเรียนด้วยวิธีการใด  จะกำหนดให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอะไรบ้าง  การนำเสนอข้อมูลจะใช้รูปแบบใด  เมื่อพิจารณาและตัดสินใจในประเด็นต่างๆข้างต้นแล้ว  ผู้สร้างสื่อสามารถเรียบเรียงแนวคิดเกี่ยวกับ  Learning Object  ออกมาเป็นเอกสารเพื่อนำเสนอและสื่อสารแนวคิดในการออกแบบให้กับเพื่อนร่วมงาน  หรือผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมพัฒนางานชิ้นนี้ร่วมกัน

                การนำเสนอแนวความคิดที่ออกแบบขึ้นทำได้หลายรูปแบบ  รูปแบบหนึ่งคือ storyboard  ซึ่งเป็นการเขียนบรรยายลักษณะภาพ  เสียง  การเคลื่อนไหวที่ต้องการในแต่ละลำดับการนำเสนอ  เหมาะสำหรับ  Learning Object  ที่นำเสนอข้อมูลด้วยลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน  ส่วน  Learning Object  ที่มีลำดับการนำเสนอไม่แน่นอน  มีการเขียนโปรแกรมให้ตอบสนองต่อการตัดสินใจ  หรือความสามารถของผู้เรียน  ผู้ออกแบบอาจนำเสนอแนวคิดที่ออกแบบไว้ในรูปของ  flowchart  หรือแผนผังโครงสร้างในลักษณะที่เหมาะสม

3.  สร้าง

                การสร้าง  Learning Object  ในบางรูปแบบใช้ทักษะทางคอมพิวเตอร์หลายด้าน  เช่น  การเขียนโปรแกรม  การจัดการภาพและเสียง  หากผู้สร้างสือ่ไม่มีทักษะเหล่านี้อาจขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิกจากสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น  ส่วนในกรณีที่ต้องการดำเนินการสร้าง  Learning Object  ด้วยตนเองก็สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสร้างเอกสาร  Word  เอกสาร  Powerpoint  หรือ  เว็บเพจ  ที่ประกอบด้วยข้อความ  รูปภาพ  เสียง  ภาพเคลื่อนไหว  และไฮเปอร์ลิงค์  โดยมีข้อควรคำนึงเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอบนหน้าจอ  ดังนี้

-          ใช้เครื่องหมายและรูปแบบคำสั่งที่เข้าใจกันทั่วไป  เช่น  ลูกศรชี้ไปทางขวา  สำหรับการไปหน้าถัดไป  ลูกศรชี้ไปทางซ้าย  สำหรับการย้อนกลับไปหน้าเดิม  แสดงภาพมือชี้เมื่อลากเมาส์ไปเหนือไฮเปอร์ลิงค์

-          ใช้รูปแบบกานำเสนอที่เป็นระบบระเบียบ  เช่น  หัวข้อในระดับเดียวกัน  ควรใช้อักษรที่มีเดียวกันและขนาดเท่ากัน  ตัวอย่างเช่น  ใช้สีพื้นสีขาวเมื่อให้ข้อมูล  สีฟ้าอ่อนในส่วนของกิจกรรมที่นักเรียนทำ

-          เมือ่นำเสนอด้วยข้อความ  ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่พอสมควร  ไม่จัดย่อหน้าให้บรรทัดยาวเกินไป  บทเรียนสำหรับเด็กเล็กอาจพิจารณาเปลี่ยนข้อความยาวๆเป็นเสียงบรรยาย

 

4.  ทดสอบ

                เมื่อดำเนินการสร้าง  Learning Object  สำเร็จแล้วผู้สร้างสือ่ควรตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนนำไปใช้ริงในห้องเรียนการทดสอบทำได้ใน  2  ระดับ  ได้แก่  การทดลองใช้งานและการทดลองในการเรียนการสอน

                การทดลองใช้งาน  เป็นการตรวจสอบว่า  Learning Object  ที่สร้างขึ้นมีข้อผิพลาดใดๆหรือไม่  ควรตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ข้อความ  ตรวจสอบการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ  ใน  object  เช่น  ไฮเปอร์ลิงค์  ภาพเคลือ่ไหว  นอกจากนั้นควรทดสอบว่า  Learning Object  นั้นทำงานในคอมพิวเตอร์ทุกรุ่นทุกแบบหรือไม่  เมือ่นำเสนอบนจอขนาดต่างๆภาะและข้อความที่ปรากฏบนหน้าจอผิดเพี้ยนหรือเปลี่ยนตำแหน่งไปอย่างไร

                การทดลองใช้ในการเรียนการสอน  เป็นการตรวจสอบว่านักเรียนเข้าใจวิธีการสื่อสารที่ใช้ใน Learning Object  หรือไม่  และ Learning Object  นั้น  สามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้เพียงใด  ในการทดสอบอาจให้นักเรียนทำแบบทดสอบหรือกิจกรรมสั้นๆ  เพื่อประเมินว่า  หลังจากใช้  Learning Object   แล้วนักเรียนส่วนใหญ่บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือไม่

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #learning object
หมายเลขบันทึก: 303135เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2009 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจนะ แต่น่าจะมีตัวอย่างที่ชัดเจนมากว่านี้

เนื้อหายังไม่ค่อยสมบูรณ์นะครับ อยากให้หาเนื้อหามาเพิ่มเติมหน่อยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท