เศรษฐศาสตร์วัฒนธรรม2


เศรษฐศาสตร์วัฒนธรรม เป็นการรวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์วัฒนธรรม

ที่เรียกหาจึงจะมีพลังและปรากฏเป็นจริง หากประชาสังคมหมายถึงการประนีประนอมระหว่างหลายชนชั้น และอาจมีชนชั้นกลางเป็นผู้นำสำคัญ ชนชั้นกระฎุมพีรวมทั้งคนชั้นกลางคงต้องเข้าใจชาวบ้าน คิดอย่างชาวบ้าน คิดเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง จึงจะเป็นผู้นำโดยธรรมชาติได้ เมื่อชนชั้นกระฎุมพีและคนชั้นกลางรับวัฒนธรรมชุมชน พวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งแท้จริงของเศรษฐกิจวัฒนธรรมไทย ไม่ใช่เป็นส่วนของเศรษฐกิจทุนซึ่งแยกออกจากชุมชนไทย แยกออกจากวัฒนธรรมไทย ถ้ายังเป็นอย่างนั้น เราก็ยังไม่บรรลุการสร้างเศรษฐกิจวัฒนธรรม ณ ระดับชาติ

ข้าพเจ้าขอสรุปลงท้ายว่า สินทรัพย์ของประเทศนั้นไม่ใช่สิ่งของที่จับต้องได้อย่างเดียว แต่คือประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม คุณค่าและปัญญาของชาวไทยเรา ไทยเป็นประเทศที่ร่ำรวยทางประวัติศาสตร์ มีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ อุดมด้วยน้ำใจไมตรี และมีขันติธรรม สืบเนื่องมายาวนาน ชุมชนและวัฒนธรรมชุมชนคือสินทรัพย์ที่มีค่าสูงยิ่งของประเทศ คือรากฐานของเศรษฐกิจแห่งชาติ เราจะต้องเน้นเต็มที่ว่าเราจะพัฒนาส่วนชุมชนท้องถิ่นนี้ และจะโยงประกอบส่วนท้องถิ่นนี้ขึ้นเป็นสังคมแห่งชาติ ให้ชุมชนชาติประกอบขึ้นจากชุมชนท้องถิ่น ชาติไม่ใช่สิ่งที่เลื่อนลอย คิดสร้างกันเอาเอง แต่เป็นสิ่งที่แท้จริง และเมื่อเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเจริญมั่นคง เศรษฐกิจแห่งชาติก็จะเข้มแข็งแท้จริงไปด้วย ข้าพเจ้าเห็นว่าเศรษฐกิจแห่งชาติกับเศรษฐกิจชุมชนเป็นเรื่องเดียวกัน และเนื่องจากพื้นฐานของเศรษฐกิจชุมชนไม่ใช่ระบบทุนนิยม ทิศทางของประเทศ หากพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจแห่งชาติ ก็จะไม่ใช่แนวทางทุนนิยมแต่จะเป็นแนวทางชุมชน ผู้คนธรรมดาสามัญและสถาบันของพวกเขาจะมีความสำคัญทัดเทียม หรือสำคัญมากกว่าทุน

 

บรรณานุกรม

 

๒. ประเวศ วะสี ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อความแข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน ๒๕๔๑)

๓. พิทยา ว่องกุล แนวคิดฝ่าวิกฤตทุนนิยมไร้พรมแดน : เศรษฐธรรมและอธิปไตยชุมชนไทย (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์วิชาการ ๒๕๓๙)

๔. ชูชัย ศุภวงศื ยุวดี คาดการณ์ไกล (บรรณาธิการ) ประชาสังคม ทรรศนะนักคิดในสังคมไทย (กรุงเทพฯ : มติชน ๒๕๔๐)

๕. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ “สัมภาษณ์พิเศษ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก” วารสารเศรษฐศาสตร์ การเมืองเพื่อชุมชน ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ (มกราคม - มีนาคม ๒๕๔๑)

๖. อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ประชาสังคมในมุมมองตะวันตก : อ่านและสอนที่ จอห์น ฮอปกินส์ (กรุงเทพฯ : สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม ๒๕๔๒)

๗. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (บรรณาธิการ) เศรษฐศาสตร์กระแสทวน เศรษฐศาสตร์การเมือง (เพื่อชุมชน) ๙ (กรุงเทพฯ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๔๒)

๘. ชัยอนันต์ สมุทวณิช วัฒนธรรมคือทุน (กรุงเทพฯ : พี.เพรส. ๒๕๔๐)

๙. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา พรพิไล เลิศวิชา วัฒนธรรมหมู่บ้านไทย (กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ๒๕๔๑)

๑๐. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา พูนศักดิ์ ชานิกรประดิษฐ์ เศรษฐกิจหมู่บ้านภาคใต้ฝั่งตะวันออกในอดีต (กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์ ๑๕๔๐)

๑๑. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย อภิชาต ทองอยู่ วรวิทย์ เจริญเลิศ มณีมัย ทองอยู่ พรพิไล เลิศวิชา ทฤษฎีและแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนชาวนา (กรุงเทพฯ : วิถีทรรศน์ ๒๕๔๑)

๑๒. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ชุมชนเป็นรากฐานของชาติ (กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ซีรอค ๒๕๔๒)

๑๓. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย คำบรรยาย ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียวและคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยโทโฮกุกักกุอิน (กรุงเทพฯ : พิมพ์ซีรอค ๒๕๔๒)

๑๔.

๑๕.

๑. ประเวศ วะสี เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม (กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน ๒๕๔๒)Detlef Kantowsky, Sarvodaya. The Other Development (New Delhi : Vikas, 1980)E.F. Schumacher, Small is Beautiful, A Study of Economics as if People Mattered (London : Abacus, 1974, first published in 1973)

หมายเลขบันทึก: 302922เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2009 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท