ใบมะยม กับ งานวิจัย และ คุณค่าทางวัฒนธรรม


ต้นมะยม  และ ใบมะยม   ในที่นี้ หมายถึง  มะยมเปรี้ยว ทั่วไป     ไม่รวมถึง มะยมหวาน

เราจำกันได้ว่า เป็นไม้มงคล ปลูกหน้าเรือน หน้าบ้าน  เป็นเคล็ด ให้คนนิยม

ลูกมะยม  ทานได้ รู้กันทั่วไป

ใบมะยม ทานได้เพียงใด  มีการรับรู้ ไม่แพร่หลาย  แต่คนทางอีสาน จะทานใบมะยม เก่งกว่าคนภาคอื่นๆ

ใบมะยม   มีงานวิจัยพบว่า ประกอบด้วย สารพฤกษเคมี เรียงจากมากไปหาน้อย  hypogallic   kampferol   adenosine  

           Identification was made by Prof. P. Sirirugsa (Department of Biology, Faculty of Science, Prince of Songkla University) 

and Prof. K. Hostettmann (Laboratoire de Pharmacognosie et Phytochimie, Ecole de Pharmacie, Universite de Geneve, Geneve,Switzerland). 

           The amounts of adenosine, kaempferol, and hypogallic acid (DHBA) present in the extract were  355.9 mg, 697.4 mg, and  1004.6 mg, respectively

จาก MOLECULAR PHARMACOLOGY Vol. 71, No. 1    An Extract from the Medicinal PlantPhyllanthus acidus and Its  Isolated compounds Induce Airway Chloride Secretion: A Potential Treatment for Cystic Fibrosis 

 

Marisa Sousa, Jiraporn Ousingsawat, Roswitha Seitz, Supaporn Puntheeranurak,

Ana Regalado, Andre´ Schmidt, Tiago Grego, Chaweewan Jansakul, Margarida D. Amaral,

Rainer Schreiber, and Karl Kunzelmann

 

รายงานโดยงานวิจัย ร่วม  นักวิชาการไทยกับ ต่างประเทศ

มีงานวิจัยโดยกลุ่มเดียวกันนี้ ยืนยันว่า  ใบมะยม ไม่มีพิษต่อเซล

สารในใบมะยม มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด  

                    มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ค่อนข้างมาก  (เสียดายว่าไม่ได้ศึกษาเปรียบเทียบ กับ สารอื่นๆ)

มีสารอื่นๆ คุณค่าทางวิตามิน  ในใบมะยมด้วย  ที่หลากหลาย

 

 

 

ภูมิปัญญาไทย นิยมใช้ทานสด อาจจะใช้ทานกับ น้ำพริก  แกง  ส้มตำ

มีหนังสือเขียน เรื่อง กินเป็นลืมป่วย ซึ่งมีส่วนของ  แนวคิดแบบภูมิปํญญาจีน แนะนำให้ใช้ใบมะยมต้ม 

มีงานวิจัยของ นร มัธยม ที่จังหวัดสกลนคร ซึ่ง ใบมะยม และ ใบไม้อื่นๆ ที่มีวิตามินสูง  นำมาต้ม พบว่า วิตามินซี หายหมด

ก็น่าคิด สำหรับ ผู้สนใจทานใบมะยมว่า จะตามภูมิปัญญาจีน กรณีใด และ เลือก ใช้ตามภูมิปัญญาไทยกรณีใด            

 

ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว  จึงใครเสนอให้ ใบมะยม เป็นอาหาร ในชีวิตประจำวัน โดยทานวันละ 1-2 ก้าน ต่อวัน โดยเลือกทานใบ เพสลาด คือ ไม่อ่อน ไม่แก่

โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็น เบาหวาน   เป็นความดันโลหิตสูง   ผู้ที่อดนอน นอนดึกบ่อย  

และ หากเป็นโรคมาก อาจจะทานในขนาด วันละ 3 ก้าน ต่อวัน

      

ควร ระวัง ในการทานใบมะยมอย่างไร

          หากทานยาละลายลิ่มเลือด ก็ให้ทานใบมะยม ค่อนไปทางน้อย คือ 1 ก้าน ต่อวัน      เนื่องจากใบมะยม มีส่วนช่วยให้เม็ดเลือดแดง ไม่เกาะตัวกัน  นั้นคือ ช่วยให้หมุนเวียนโลหิต ดีขึ้นในคนทั่วไป    แต่ผู้ที่ทานยาละลายลิ่มเลือดประจำ  หากทานใบมะยม มาก   อาจจะช่วยให้เลือดหมุนเวียนดีเกินไป จึงแนะนำให้ทานน้อยๆ จะดีกว่า

 

บางทีใบมะยม อาจจะช่วยกู้ชีวิต และ กู้ชาติ ให้กับบางคน ที่สนใจ หัดทานใบมะยมให้พอเหมาะพอดี   ไม่มากไป ไม่น้อยไป     เป็นทางเลือกหนึ่ง ในการช่วยรักษาสุขภาพ และ อาจจะนำไปสู่การ การพึ่งตนเองทางสุขภาพ ของ ตนเอง ของ ครอบครัว และ ของชุมชน และของประเทศ    เสมือนหนึ่งเป็นอาหารเสริมสุขภาพจริง ๆ ไม่ใช่อาหารเสริมสุขภาพแบบเม็ด ที่ต้องซื้อขาย   

ผู้เรียนรู้รุ่นหลัง

คำสำคัญ (Tags): #มะยม#ใบมะยม
หมายเลขบันทึก: 302418เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2009 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ผู้ตามศึกษาใบมะยม

บางตำรา บอก

มะยม กัดเสมหะ แก้ไอ ระบายท้อง บำรุงโลหิต

น่าจะหมายถึงลูก มะยม

ผู้รู้ นักวิจัย เกี่ยวกับ ใยมะยม ลูกมะยม บอกว่า

สารที่มีในใบมะยม ก็พบในลูกมะยมได้เช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท