Occupational health and Medicine


อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของการแพทย์

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของการแพทย์
          ภาวะสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน หมายถึง ความสมบูรณ์ของสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน  ภาวะสุขภาพนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกคือ สังคม และสถานประกอบการและปัจจัยภายใน ปัจจัยด้านสังคม หมายถึง สภาพแวดล้อมที่ผู้ปฏิบัติงานอาศัยอยู่ เช่น ที่อยู่อาศัย น้ำดื่ม อาหาร มลภาวะในบ้าน มลภาวะในสิ่งแวดล้อม เชื้อโรคต่างๆ เป็นต้น ปัจจัยด้านสถานประกอบการ เช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน กระบวนการทำงาน สารที่ใช้ในการผลิต ท่าทางการทำงาน สิ่งคุกคามชนิดต่างๆ ส่วนปัจจัยภายใน หมายถึง ความแข็งแรงของร่างกาย สภาพจิตใจ ความพึงพอใจในการทำงาน

องค์ประกอบของการทำให้ที่ทำงานมีสุขภาพดี คือ

1. มีวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายที่กำหนดโดยผู้บริหารและเป็นที่ยอมรับของคนงาน

2. ความมีส่วนร่วมของผู้บริหารสูงสุดและสหภาพ ในการจัดการทรัพยากร

3. มีการถ่ายทอดแผนเป็นขั้นตอนตามลำดับ

4. มีผู้รับผิดชอบซึ่งชำนาญด้านส่งเสริมสุขภาพ

5. มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยดูกิจกรรม การมีส่วนร่วม และผลที่ได้เพื่อประเมินผลและประเมินโปรแกรม

สิ่งคุกคามทางสุขภาพที่พบจากการปฏิบัติงาน คือ

- สิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ เช่น เสียง แสง อากาศ ความร้อน รังสี ความเย็น

- สิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพ เช่น เชื้อโรค จุนลินทรีย์ แบคทีเรีย

- สิ่งคุกคามสุขภาพทางเคมี เช่น สารเคมี

- สิ่งคุกคามสุขภาพทางการยศาสตร์ เช่น ท่าทางการทำงาน ความเครียด

- ความปลอดภัย เช่น เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

           การป้องกันและควบคุมโรคเป็นเรื่องที่จำเป็นในงานอาชีวอนามัยเนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพอยู่ในงาน การป้องกันและควบคุมโรคจะดำเนินไปด้วยกันกับการส่งเสริมสุขภาพได้แก่

1. การสร้างเสริมหรือส่งเสริมสุขภาพในที่ทำงาน ได้แก่ การจัดการออกกำลังกาย ดูแลโภชนาการสุขศาสตร์ส่วนบุคคล

2. การค้นหาอันตราย และความเสี่ยงต่อสุขภาพ ปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงาน และปัจจัยด้านงาน

3. การตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การวัดปริมาณสิ่งคุกคามในที่ทำงานในบรรยากาศการทำงาน เช่น ฝุ่น ไอสารเคมี เสียง

4. การจัดการความเสี่ยง ได้แก่ การนำความเสี่ยงที่พบทั้งหมด มาจัดลำดับความสำคัญ และนำมาจัดการแก้ไข โดยมีแผนติดตามเป็นระยะ

5. การจัดการเฝ้าระวังทางการแพทย์ ได้แก่ การจัดการตรวจร่างกายตามความเสี่ยง ตรวจร่างกายทั่วไป การเฝ้าระวังโรค

6. การจัดบริการตรวจรักษาโรค ได้แก่ การจัดบริการตรวจรักษาโรคทั่วไป และตรวจรักษาโรคที่เกิดจากการทำงาน การจัดห้องพยาบาล

7. การจัดเก็บข้อมูลสุขภาพ การจัดเก็บข้อมูลการเจ็บป่วย ของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อสามารถใช้เป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังโรค

ประเภทของโรคทางอาชีวอนามัย แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. โรคจากการทำงาน (Occupational Diseases) เป็นโรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามในที่ทำงานทำให้เกิดโรคโดยตรง เช่น

- ก้มลงยกของหนัก 35 กิโลกรัม เคลื่อนย้ายแล้วปวดหลัง – ทำงานโรงงานสารกำจัดแมลงแล้วเป็นโรคผิงหนัง

2. โรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน (Work – Related Diseases) สิ่งคุกคามในที่ทำงานกระตุ้นหรือเสริมให้โรคที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นอยู่หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นหรือมีอาการเป็นมากขึ้น เช่น

- คนงานเป็นโรคเบาหวานเหยียบตะปูทำให้แผลหายช้า ติดเชื้อ ต้องตัดขา – คนขับรถบรรทุกชักขณะขับรถ เพราะไม่ได้นอนพักผ่อนเพียงพอ มีประวัติเป็นโรคลมชัก กินยารักษาอยู่

                การรักษาพยาบาลมีหลักสำคัญคือรักษาชีวิตและอวัยวะของผู้ปฏิบัติงาน เมื่อรักษาแล้วต้องมีการฟื้นฟูสภาพเพื่อเตรียมกลับเข้าทำงาน วัตถุประสงค์ของการฟื้นฟูสภาพคือ การทำให้ผู้ปฏิบัติงานกลับมาทำงานเดิมได้โดยเร็วที่สุด การพื้นฟูสภาพเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเตรียมพนักงานกลับเข้าทำงานได้อย่างปลอดภัย

 

หมายเลขบันทึก: 302165เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท