หัวข้อที่ 3: No - Fault patient Compensation


No - Fault patient Compensation

       ความผิดพลาดของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ อาทิเช่น การฉีดวัคซีน หรือการที่ผู้ป่วยได้รับยาที่ทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ซึ่งก่อให้เกิดการฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหายอย่างมากมายในปัจจุบัน การฟ้องร้องแพทย์อาจมีผลดีอยู่บ้างในแง่ของการทำให้แพทย์ต้องระมัดระวังในการตรวจรักษาให้ได้มาตรฐานที่ดีที่สุด ถือว่าเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ประชาชนอีกทางหนึ่ง แต่การที่มีการฟ้องร้องแพทย์อย่างมากมายก็ย่อมทำให้เกิดระบบการประกันการทำงานของแพทย์เกิดความเสี่ยงในแง่ของการจะถูกฟ้องร้องเช่น เมื่อแพทย์ถูกฟ้องร้องและถูกศาลตัดสินให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ป่วย(ซึ่งมักจะเป็นจำนวนมากมายมหาศาล) ทำให้แพทย์มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และแพทย์ก็คงต้องไปขึ้นราคาค่ารักษาผู้ป่วยให้มากขึ้น เพื่อจะให้ตัวเองมีรายได้พอเพียงกับรายจ่าย ซึ่งย่อมมีผลกระทบโดยตรงไปสู่ประชาชนหรือโครงการประกันสุขภาต่างๆที่จะต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และมีคดีฟ้องร้องในศาลมากขึ้นตลอดเวลา

จากการฟังบรรยายของ ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ทำให้ทราบเกี่ยวกับ ทุกข์กรณี

ของผู้ป่วย คือ

1) ใครกันแน่คือผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับผู้ป่วย

2) ใครคือผู้ให้คำแนะนำที่ดีกับผู้ป่วยได้

3) การวินิจฉัยผิดพลาดของแพทย์เกิดขึ้นได้อย่างไร

4) การรอหมอนานเกินไปจนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยตาย

5) การขาดความละเอียดรอบครอบในการรักษาในการรักษาผู้ป่วยของแพทย์

6) เรื่องสุดวิสัยในการรักษาผู้ป่วย

7) การขอย้ายผู้ป่วยหรือการถอดสายน้ำเกลือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นความรับผิดชอบของใคร

8) อะไรที่เรียกว่า "คุณค่าความเป็นมนุษย์"

    ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นปัญหาที่สังคมไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โรคที่เรียกกันว่า "โรคหมอทำ"นั้นแท้ที่จริงแล้วสาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่ ใครคือผู้ที่จะแก้ไขปัญหานี้ ทุกคนในสังคมล้วนแต่มีคำตอบในหัวใจอยู่แล้วว่า คือ การช่วยกันของคนในสังคมทุกคนเพื่อความเป็นธรรม ความเท่าเทียมกันระหว่างคนจนและคนรวยเท่านี้เอง ปัญหาก็จะหมดไปแต่ตรงกันข้ามถ้าทุกคนในสังคมมัวแต่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนแล้วไม่มีวิธีใดที่จะสามารถแก้ไขได้เลย

คำสำคัญ (Tags): #no - fault patient compensation
หมายเลขบันทึก: 302161เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท