หัวข้อที่ 12: Health Impact Assessment


Health Impact Assessment

                 การประเมินผลกระทบทางสุขภาพนั้นเป็นการการตัดสินใจ ของหน่วยงาน  องค์กรหรือรัฐบาล ในการจัดทำนโยบาย  เพื่อใช้ประเมินผลกระทบสุขภาพที่อาจตัดสินใจที่จะดำเนินการต่อไป  โดย “กระบวนตัดสินคุณค่าของนโยบาย แผนงาน หรือโครงการ   โดยพิจารณาที่ผลกระทบ  และการกระจายของผลกระทบนั้น  ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสุขภาพของประชาชน    โดยใช้วิธีการ   กระบวนการ    และเครื่องมือในการประเมินหลายชนิดร่วมกัน” (WHO, 1999)  คือ การนำข้อมูลหลักฐานที่ได้จากการประชุมร่วมกันไปจัดทำข้อเสนอแนะและนำข้อเสนอแนะและ ผลักดันไปสู่กระบวนการตัดสินใจในการดำเนินนโยบาย แผนงาน หรือโครงการ  เพื่อการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด และมีความเท่าเทียมกัน  ซึ่งนโยบายของแต่ละองค์กร หน่วยงาน หรือสถานที่นั้นก็แตกต่างกันออกไปทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นและความรุนแรงของผลกระทบ  ขนาดของผลกระทบ   จำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว

ปัจจัยที่เกี่ยงข้องในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

-ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ สภาพแวดล้อม และตัวมนุษย์

-ปัจจัยที่อยู่ในตัวมนุษย์เอง

-ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่วนบุคคลของมนุษย์

-ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายทางสังคม และเครือข่ายชุมชน

-เงื่อนไขในการดำเนินชีวิตและเงื่อนไขในการทำงาน

-เงื่อนไขโดยรวมทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

ลักษณะของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

การทำไปข้างหน้า (Prosperctive) เป็นการประเมินก่อนเกิด กิจกรรมที่จะเริ่มดำเนินการ การประเมินผลกระทบในช่วงนี้เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขร่างของกิจกรรมก่อนที่จะดำเนินการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประโยชน์สูงสุดของผลกระทบด้านบวกต่อสุขภาพและลดผลกระทบด้านลบ

การทำย้อนหลัง (Retrospective) เป็นการประเมินหลังจากที่ได้ดำเนินกิจกรรมนั้นไปแล้ว

การทำไปพร้อมกัน (Concurrent) เป็นการประเมินไปพร้อมๆ กับการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการนั้นๆ

รูปแบบของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

1. Mini HIA ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินได้มาจาก ความรู้และการรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ประเมิน หลักฐานทางวิชาการ และประสบการณ์ความรู้ที่ได้จากการทำ HIA ครั้งก่อน ๆ ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประมาณ 3 ชั่วโมง และการเขียนรายงานประมาณ 4 ชั่วโมง

2. Intermediate HIA เก็บข้อมูลเช่นเดียวกับการประเมินแบบรอบด้าน แต่ใช้ระยะเวลาในการประเมินสั้นกว่า

3. Comprehensive HIA ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินได้มาจาก ความรู้และการรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้ประเมินซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อยหนึ่งคน ทบทวนวรรณกรรม หลักฐานทางวิชาการ (evidenceขbased) ที่มีอยู่โดยผู้ประเมิน ทบทวนผลงานการทำ HIA โครงการอื่นที่มีลักษณะของโครงการที่ใกล้เคียงกัน ใช้เวลาในการประเมินประมาณ 4-6 เดือน

ขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

1. การกลั่นกรองเบื้องต้น (screening)

2. การกำหนดขอบข่ายของการประเมินนผลกระทบ (scoping)

3. การวิเคราะห์ผลกระทบ (analysis or appraisal)

4. การกำหนดมาตรการทางเลือกและมาตรการลดผลกระทบ (option analysis and mitigation)

5. การทบทวนร่างรายงานและหารือสาธารณะ (public review and consultation)

6. การตัดสินใจและการติดตามเฝ้าระวัง (decision and monitoring)

แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ฉบับประชาชน

1. การทำแผนที่เสี่ยงภัยทางสุขภาพ

- ในระดับชุมชน (Community risk mapping)

- ที่กระทบต่อร่างกาย (Body risk mapping)

2. การประเมินความเสี่ยงโดยชุมชน

3. การศึกษาความเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ของชุมชน

4. การศึกษาจากความมั่นคงหรือปัจจัยในการดำรงชีวิต

5. การศึกษาความสัมพันธ์ขององค์กรต่างๆ

 

หมายเลขบันทึก: 302129เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท