การเติมสารทำความเย็น


การเติมสารทำความเย็น

การเติมสารทำความเย็น

                การเติมสารทำความเย็นเข้าสู่ระบบอาจจะทำได้ 2 วิธี คือ

 

  1. การเติมสารทำความเย็นเข้าสู่ทางดูดของ Compressor หรือเรียกว่าการบรรจุสารทำความเย็นทางด้านแรงดันต่ำซึ่งสารทำความเย็นจะบรรจุในรูปของก๊าซ

 

ขั้นตอนการบรรจุสารทำความเย็น

-          ถอดปลายสายล่างของเกจวัดความดันออกจากเครื่องปั๊มสุญญากาศและต่อเข้ากับท่อน้ำยา

-          เปิดวาล์วท่อน้ำยา

-          ใช้น้ำยาในถังไล่อากาศที่ติดค้างอยู่ในสายกลางของเกจวัดความดันโดยคลายปลายสายเล็กน้อยและปล่อยให้น้ำยาจากในท่อไล่อากาศออกไป แล้วใส่สายที่คลายออกให้แน่นตามเดิม

-          เปิดวาล์วอัดน้ำยาเข้าไปในระบบเล็กน้อยแล้วเปิดวาล์วอีกครั้งหนึ่ง

-          เดิน Compressor

-          ค่อย ๆ เปิดวาล์วที่ควบคุมน้ำยาซึ่งอยู่ในสถานะก๊าซ อัดน้ำยาเข้าระบบ สังเกตดูเข็มวัดความดันทั้งทางด้านแรงดันสูงและทางด้านแรงดันต่ำให้ไดความดันตามเกณฑ์

-          ปิดวาล์วเมื่อความดันในระบบทั้งด้านความดันสูง และความดันต่ำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้

-          ตรวจหารอยรั่วที่อาจจะเกิดขึ้นกันระบบ

  

  1. 2.       การบรรจุสารทำความเย็นเข้าทางท่อของเหลว

 

ขั้นตอนการบรรจุสารทำความเย็น

-          ถอดปลายสายกลางของเกจวัดความดันออกจากเครื่องปั๊มสุญญากาศแล้วต่อเข้ากับท่อน้ำยา

-          เปิดวาล์วท่อน้ำยา

-          ใช้น้ำยาในท่อไล่อากาศที่ติดค้างอยู่ภายในสายกลางของเกจวัดควมดัน โดยคลายปลายสายเล็กน้อยปล่อยให้น้ำยาในท่อไล่อากาศออกให้หมดแล้วทำการใส่ให้แน่นอย่างเดิม

-          ปิดวาล์วท่อน้ำยาที่อยู่ใสถานะก๊าซแล้วเปิดวาล์วท่อน้ำยาในสถานะของเหลวแทน

-          เปิดวาล์วให้น้ำยาที่อยู่ในสถานะของเหลวไหลเข้าระบบสังเกตดูน้ำหนักของน้ำยาในถังที่มีการลดลงให้ไดตามเกณฑ์และต้องคอยควบคุมการปิด – เปิดของวาล์วให้ดี

-          ถ้าน้ำยาจากท่อไม่สามารถอัดเข้าระบบได้อีก เนื่องจากความดันในระบบเท่ากับความดันของน้ำยาในถัง ให้ใช้น้ำแข็งลูบโดยรอบท่อพักน้ำยาของระบบจะทำให้ความดันของน้ำยาในระบบลดลงและสามารถอัดน้ำยาเข้าระบบได้อีก

-          เมื่อน้ำยาได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้วให้ทำการปิดวาล์ว

-          ทำการทดลองเดินเครื่องทำความเย็น

 

ข้อควรระวัง

                ห้ามเดินระบบเครื่องทำความเย็นในขณะที่มีการอัดน้ำยาเหลวเข้าระบบด้านความดันสูงเพราะว่าความดันในระบบจะถูกอัดกลับเข้าท่อน้ำยาในการอัดน้ำยาเข้าระบบในสถานะก๊าซทางด้านความดันต่ำ และอย่าเปิดวาล์วท่อน้ำยาผิดปล่อยน้ำยาเหลวเข้าไปเป็นอันขาดเพราะว่าจะทำให้ลิ้นของ Compressor ชำรุด

               

 

หมายเลขบันทึก: 302080เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อ.ไม่มีการแว๊กคั่มก่อนหรอคั่ม ใช้น้ำยาไล่อากาศมันไม่ถูกวิธีนะครับ  เพราะจำทำใหคอมเพรสเซอร์เสื่อมสภาพได้เร็วนะครับ  1-2 ปี เห็นผลได้เลยครับ เพราะผมเจอแบบนี้มาหลายครั้งแล้ว เจอหนักๆ ถึงกับต้องเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์นะครับ  ปล...ถูกไม่ถูกแล้วแต่จะพิจารณานะครับ

โทษที่ครับ อ. ผมอ่านข้อความไม่ครบที่ อ.บอกมาถูกต้องแล้วครับ  ถ้าจะให้ดี บอกว่าต้องทำการแว๊กคั่ม เพื่อทำให้เป็นสูญญากาศ..ก่อนครับ ผมไม่ได้อ่านตั้งแต่ต้นผมเลย งง ครับ อ. โทษทีนะครับบบบบ

อ. ครับ ขอคำชี้แนะด้วย...คือตอนนี้ผมมาทำงานเกี่ยวกับเครื่องทำความเย็นและความร้อนในตัวเดียวกันที่เขาเรียกว่า OVEN หรือ CHAMBER นะครับ บางเครื่องมีคอมเพรสเซอร์ 2 ตัว เครื่องพวกนี้ระบายความร้อนด้วยน้ำครับ แต่บางตัวยังระบายความร้อนอากาศเหมือนเดิมครับ ผมอยากได้วิธีเติมน้ำยาครับ ต้องเติมในสถานะก๊าซหรือของเหลวครับ..และต้องเติมทางด้าน suction หรือ dischang ครับ

ผมอ่านข้อความด้านบนของ อ.แล้วผม งง เพราะผมพึ่งมาทำงานได้ 3 เดือนครับ เคยแต่ทำงานเกี่ยวกับการติดตั้งแอร์-ซ่อมแอร์ครับ

เครื่องพวกนี้รายละเอียดซับซ้อนขึ้นมามากกว่าแอร์ครับ เพราะจะมีความชื้อเข้ามาเกี่ยวข้องครับและระบบคอนโทรลก็เยอะครับ   ขอบคุณมากครับ อ.

น้ำยาที่เป็น Pure เติมด้าน Suction อย่างเดียวครับ ในสถานะที่เป็นไอ  เพราะเติมด้าน Discharge ไม่ได้เพราะขณะเดินเครื่องแรงดันมันสูงครับ แต่เติมตอนยังไม่เดินเครื่องก็เติมได้แค่ส่วนหนึ่งซึ่งอาจยังไม่เต็มระบบ ส่วนน้ำยาที่เป็น Mixer ขึ้นต้นด้วย 4 เช่น R-404 R 410 ต้องเติมเป็นของเหลวครับ เพราะถ้าเติมเป็นไอจะเกิดการแยกตัว อาจเติมผ่านท่อแคปปิรารี่ทิ้ว เบอร์ 16 ความยาว 10 cm เพื่อน้ำยาเหลวเป็นฝอยละอองเข้าไป ป้องกันน้ำยาเหลวไหลเข้า คอมครับ

ตอนเราแวมคั่มทำสูญาญอากาศแอร์บ้าน ต้องปิดวาล์ว Compressor ด้านส่งกับด้านดูดไหมครับที่เป็นตัวน๊อตหกเหลี่ยมครับ หรือเปิดทั้งสองเลย 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท