บทนำ |
ปัจจุบันนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ
และเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน
นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข
การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ
อันที่จริงแล้วจะเห็นว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่มีผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น
ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น |
ข้อมูลกับสารสนเทศ |
ข้อมูล
(Data) หมายถึง
กลุ่มตัวอักขระที่เมื่อนำมารวมกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งและมีสำคัญควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อ
ๆ ไป ข้อมูลมักเป็นข้อความที่อธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใด ๆ
ที่สามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้ (ทักษิณา สวนานนท์
และฐานิศรา เกียรติบารมี 2546: 165) |
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ
ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือประมวลแล้วจากข้อมูลต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ จนได้เป็นข้อความรู้
เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ
(สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 2538: 3) |
|

ข้อมูลและสารสนเทศนับว่ามีประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่าง
ๆ มากมาย อาทิเช่น |
1.
ด้านการวางแผน
สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับการจัดการองค์การ
การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด
เป็นต้น |
2.
ด้านการตัดสินใจ
สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีปัญหาน้อยที่สุดในการแก้ปัญหาต่าง
ๆ การมีสารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย
และครบถ้วนจะช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง รวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |
3.
ด้านการดำเนินงาน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ
เช่น ใช้เพื่อควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ |
|
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ |
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ |
1.
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ |
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ
และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้
คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า
ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4) |
|
ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5
ส่วน คือ |
 อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ
(Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch
Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic
Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) |
 อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ
(Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล |
 หน่วยประมวลผลกลาง
จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล
โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์
โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล |
 หน่วยความจำหลัก
มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ
และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล
รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล |
 หน่วยความจำสำรอง
ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน
เพื่อการใช้ในอนาคต |
|
ซอฟต์แวร์
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ |
 ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ
ภายในระบบคอมพิวเตอร์
และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ |
 1.
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น UNIX, DOS, Microsoft
Windows |
 2.
โปรแกรมอรรถประโยชน์
ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น
โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor) |
 3.
โปรแกรมแปลภาษา
ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ
และทำงานตามที่ ผู้ใช้ต้องการ |
 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ
ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ |
|
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นางสาว เสาวนีย์ ท่าสาคร ใน เสาวนีย์ ท่าสาคร
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก