(ร่าง) โครงการอบรมสุนทรียสนทนาสำหรับอาจารย์ (มหิดล)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคณะที่มีการสอนนักศึกษาทันตแพทย์ มาเป็นเวลานานหลักสูตรถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่   หลักใหญ่ ๆ ก็คล้ายของเดิม อาจารย์มีภาระการสอนคล้ายแนวเดิมพร้อมกับนักศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยสอนให้นักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และคุณภาพ  คุณธรรม   และจริยธรรม และยังต้องทำงานวิจัย  และอื่น ๆ  อาจารย์เองมีความรู้สึกว่านักศึกษาไม่ค่อยเข้าใจอาจารย์  อาจารย์ไม่ค่อยเข้าใจนักศึกษา นอกจากนี้ยังมี อาจารย์กับอาจารย์ด้วยกัน ผู้ปฏิบัติงานทันตกรรม  บุคลากรในคณะและผู้ป่วย  ไม่ค่อยเข้าใจกัน เกิดความหงุดหงิด ทำให้มีความเครียด ประสิทธิภาพของการทำงาน  การสอน  ไม่ค่อยดีเท่าที่ควรและรู้สึกว่าการสอนการทำงานไม่ค่อยมีความสุขเท่าที่ควร

           สุนทรียสนทนา เป็นวิธีการหนึ่งที่มีการฝึกที่ทำให้ร่างกายสงบ สบาย ผ่อนคลาย ต่อมามีการฝึกพูดและการรับฟังอย่างมีคุณภาพ  มีการแบ่งกลุ่มหลักของคนตามฐานของจิตใจ  ออกเป็น  4  กลุ่ม  มีการสนทนาแบบโบห์ม  โดยผู้เข้าร่วมต้องเปิดใจพร้อมเปลี่ยนมุมมองและสมมุติฐาน  พร้อมกับการนำเอาการฝึกสติในชีวิตประจำวันเข้ามาเพิ่มคุณภาพ ให้ผู้เข้าร่วมได้บ่มเพาะอารมณ์บวกนำเอาความเป็นปกติความแจ่มใส  ปลอดโปร่งทั้งกายและใจกลับคืนมา  โดยการจัดการกับอารมณ์โกรธ  อารมณ์หงุดหงิดอารมณ์ไม่พอใจของตนเองได้

 มีแนวทางการฟังอย่างเป็นกระจกเงาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์นั้น ๆ ทำให้ช่วยให้ผู้พูดและผู้ฟังเริ่มมีการตั้งสติขึ้น  ทำให้คุณภาพของการฟังได้ลุ่มลึกละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น  ทำให้ล่วงรู้ถึงความปรารถนา  และความคับข้องใจของอีกฝ่ายหนึ่ง  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนพฤติกรรม

การสนทนาแบบเดวิด  โบห์ม  ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ขึ้นในการสนทนา  คือทำให้เกิดความคิดขึ้นใหม่ร่วมกันคิด  เพื่อที่จะช่วยยุติปัญหาและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับบุคคล  รวมทั้งปัญหาความเครียด  โดยผู้สนทนาต้องฟังซึ่งกันและกัน  พร้อมที่จะทิ้งความคิดเก่า  และความตั้งใจเก่า  โดยพร้อมจะไปยังอะไรที่แตกต่างออกไป  โดยที่จะต้องร่วมมือกันสามารถสร้างอะไรร่วมกันขึ้นมาได้  โดยผ่านการคุยและการกระทำร่วมกัน  ดังนั้นการที่มีปัญหาต่าง ๆ กัน เนื่องจากความไม่เข้าใจกัน การมองต่างมุม ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้นและตรงกัน ทำให้การทำงาน  การสอน มีประสิทธิภาพมากขึ้น รู้สึกไม่เครียด ไม่หนัก ทำงานและสอนอย่างมีความสุข ทำให้เกิดเป็นโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุขขึ้น

ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ (โดยละเอียด)

 

กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง)

ช่วงเวลาดำเนินการ

  1. การเขียนโครงการ

ส.ค. 52

  1. การปรับและเสนอโครงการ

ส.ค. - ก.ย. 52

  1. ประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์  

ก.ย. - ต.ค. 52

  1. หาสถานที่  และติดต่อวิทยากรสำหรับโครงการของอาจารย์

ต.ค. - ธ.ค. 52

  1. จัดโครงการอบรมสุนทรียสนทนาสำหรับอาจารย์       

ก.พ. - พ.ค. 53

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 301845เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
บุญยัง ลาขุมเหล็ก

สนใจเรื่องนี้เลยเข้ามาศึกษา อยากให้ผู้รู้ช่วยแนะนำด้วย เกี่ยวกับสุนทรียสนทนา

บุญยัง ลาขุมเหล็ก

สนใจเรื่องนี้เลยเข้ามาศึกษา อยากให้ผู้รู้ช่วยแนะนำด้วย เกี่ยวกับสุนทรียสนทนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท