(ร่าง) โครงการอบรมสนทนาภาษาศิลป์สำหรับพยาบาล และผู้ปฏิบัติงานทันตกรรม (มหิดล)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป

เนื่องจากการทำงาน  ในคณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล มีบุคลากรหลายประเภทที่ต้องทำงานประสานกัน เช่น นักศึกษา อาจารย์ทันตแพทย์  ทันตแพทย์  และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทันตกรรม ระดับต่าง ๆ    รวมทั้งคนไข้ ซึ่งแต่ละท่านก็จะ มีความคิด คำพูด หลากหลายและแตกต่างกัน  การปฏิบัติงาน บางครั้งนำไปสู่ความไม่เข้าใจกัน  มีการเห็นแก่ตัว มีการเกี่ยงกันทำงาน  การเอารัดเอาเปรียบ  มีการให้ร้ายทำลายผู้อื่น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ช่วยเหลือกันน้อยลง นำไปสู่การทำงานที่ไม่มีความสุข รู้สึกว่าหนักและเครียด ประสิทธิภาพของการทำงานลดลง   ผลงานออกมาไม่ดีเท่าที่ควรทั้งส่วนตัวและส่วนรวม    

          สุนทรียสนทนา เป็นวิธีการหนึ่งที่มีการฝึกให้ร่างกายสงบ สบาย ผ่อนคลาย ต่อมามีฝึกการพูดและการรับฟังอย่างมีคุณภาพ  แบ่งกลุ่มหลักของคนตามฐานของจิตใจ  ออกเป็น  4  กลุ่ม  มีการสนทนาแบบโบห์ม  โดยผู้เข้าร่วมต้องเปิดใจพร้อมเปลี่ยนมุมมอง  และสมมุติฐานอย่างกล้าหาญ  พร้อมกับการนำเอาการฝึกสติในชีวิตประจำวันเข้ามาเพิ่มคุณภาพ  ให้ผู้เข้าร่วมได้บ่มเพาะอารมณ์บวก  นำเอาความเป็นปกติความแจ่มใส  ปลอดโปร่งทั้งกายและใจกลับคืนมา  โดยการจัดการกับอารมณ์โกรธ  อารมณ์หงุดหงิด  อารมณ์ไม่พอใจของตนเองได้ทำให้สามารถดำรงอยู่และทำงานร่วมกับคนอื่นได้ด้วยดี แม้จะมีความแตกต่างขัดแย้งกันก็ตาม ทั้งยังรู้เท่าทันโครงสร้างสังคมและธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่วิกฤตการณ์หลายด้านในขณะนี้

           การสนทนาแบบเดวิด  โบห์ม  ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ขึ้นในการสนทนา  คือทำให้เกิดความคิดใหม่ขึ้นโดยร่วมกันคิด  เพื่อที่จะช่วยยุติปัญหาและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับบุคคล  รวมทั้งปัญหาความเครียด  โดยผู้สนทนาต้องฟังซึ่งกันและกัน  พร้อมที่จะทิ้งความคิดเก่า    และพร้อมจะไปยังที่มีความแตกต่างออกไป  โดยที่จะต้องร่วมมือกัน  สร้างอะไรร่วมกันขึ้นมาได้  โดยผ่านขบวนการคุยและการกระทำร่วมกัน ดังนั้นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจากความไม่เข้าใจกัน การมองต่างมุมนั้น ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้นและเข้าใจตรงกัน ทำให้การทำงาน   มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เครียด ไม่หนัก ทำงาน อย่างมีความสุข ทำให้เกิดเป็นโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

 

ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ (โดยละเอียด)

กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง)

ช่วงเวลาดำเนินการ

  1. การเขียนโครงการ

ก.ค. - ส.ค. 52

  1. การปรับและเสนอโครงการ

ส.ค.   52

  1. ประชาสัมพันธ์ให้พยาบาล และหัวหน้าผู้ปฎิบัติงานทันตกรรมและผู้ปฏิบัติงานทันตกรรม 

ก.ย. – ต.ค. 52

  1. ติดต่อ ทพ. พิชิต งามวรรณกุล และกลุ่มสำหรับเป็นกลุ่มวิทยากร              

ส.ค. – ก.ย. 52

  1. จัดโครงการอบรมสุนทรียสนทนาสำหรับพยาบาล และหัวหน้าผู้ปฏิบัติงานทันตกรรม  ผู้ปฏิบัติงานทันตกรรม

ต.ค. – ธ.ค. 52

 

หมายเลขบันทึก: 301838เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

แบบสรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

โครงการ ........ .สนทนาภาษาศิลป์สำหรับพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานทันตกรรม..........วันที่สรุปผลการประเมิน …18 ต.ค. 52…...

 

 

ประเด็นพิจารณา

ผลการพิจารณา

 ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

คำชี้แจง / การแก้ไขของหัวหน้าโครงการ (ในลักษณะข้อต่อข้อ)

  1. หลักการและเหตุผลโครงการ

(สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์  เป็นไปได้ ฯลฯ)

ดีแล้ว

1.1 แผนงานฯ ระยะที่สองได้จัดสรรงบสมทบสำหรับกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านสุขภาพองค์รวมเอาไว้แล้ว (ไม่เกินคณะละ 50,000 บาท) แต่หากจะขอรับทุนเป็นโครงการอิสระ จำเป็นต้องมีการทดลองนำความรู้จากการอบรมไปใช้ต่ออีกระยะหนึ่ง  (2-3 เดือน) แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนกันอีกครั้ง เหมือนเป็นแบบฝึกหัดที่ผู้เข้าอบรมจะได้มีโอกาสทดลองนำความรู้ไปใช้จริงๆ

 

  1. วัตถุประสงค์ของโครงการ

(เป็นไปได้  วัดได้  สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

2.1  เพิ่มวัตถุประสงค์ในการให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองนำความรู้ไปใช้กับการทำงานจริง และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ได้เพิ่มวัตถุประสงค์ตามข้อเสนอแนะแล้ว

  1. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน

(สมเหตุสมผล  ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

3.1 โปรดปรับเพิ่มเติมตามวัตถุประสงค์ที่เพิ่มขึ้น

ได้ปรับเพิ่มเรียบร้อยแล้ว

  1. วิธีการดำเนินโครงการ

(เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

4.1 เนื่องจากการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านจิตใจและนำไปสู่การแสดงออกนั้น อาจต้องใช้เวลาที่นานพอสมควร อย่างไรก็ตาม หากสามารถเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมทดลองนำความรู้ที่ได้ไปใช้นอกเหนือจากกิจกรรมสองวันสัก 2-3 เดือน โดยอาจมอบหมายเป็นแบบฝึกหัดที่ต้องทำ  แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  น่าจะเกิดประโยชน์มากขึ้น

ได้เปลี่ยนแปลงตามข้อเสนอแนะแล้ว

  1. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้

(ใช้วิจัย  KM  ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

5.1 ให้นำผลการแลกเปลี่ยนจากการทำกิจกรรมแบบฝึกหัดเขียนเล่าใน gotoknow.org/blog/ismile เพื่อเผยแพร่ในวงกว้าง

ได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะแล้ว

  1. งบประมาณ

(ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

6.1 โปรดระบุรายละเอียดค่าวิทยากร ตามเกณฑ์ของ ทพ.สส. (ศึกษาได้จากคู่มือฯ ที่แจกให้ประธานกรรมการ)  

ได้ปรับปรุงแล้ว

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท