ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ MIS หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประกอบผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วย สนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ โดยที่เราจะเห็นว่า MIS จะประกอบไปด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการ ต่อไปนี้
1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การมาไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ
2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงาน และการบริหารงานของผู้บริหาร
ดังนั้น ถ้าระบบใดประกอบด้วยหน้าที่หลักสองประการตลอดจนสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่หลักทั้งสองได้ อย่างครบถ้วน และสมบูรณ์ ระบบนั้นก็สามารถถูกจัดเป็นระบบ MIS อย่างไรก็ดีเมื่อกล่าวถึง MIS คนส่วนใหญ่ จะมีความเข้าใจว่า เป็นระบบจัดการข้อมูลที่พัฒนาขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ แท้จริงแล้ว MISไม่จำเป็นที่จะต้องสร้าง ขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ MIS อาจสร้างขึ้นมาจากอุปกรณ์อะไรก็ได้แต่ต้องสามารถ ปฏิบัติหน้าที่หลักทั้งสอง ประการได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์แต่เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการ ข้อมูลมากกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่นโดยที่คอมพิวเตอร์สามารถทำการบันทึกข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ในปริมาณมาก หลายรูปแบบและอย่างเป็นระบบนอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังสามารถเรียกข้อมูลที่มีอยู่กลับมาทำการประมวลผลได้ อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ดังนั้น เมื่อผู้ใช้เกิดความต้องการที่จะออกแบบและพัฒนา MIS นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer)จะต้องออกแบบระบบสารสนเทศให้มีคอมพิวเตอร์เป็น อุปกรณ์หลักในการจัดการสารสนเทศในอนาคตถ้ามีผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ชนิดใหม่ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่หลัก ในการจัดเก็บจัดระเบียบประมวลผล และนำเสนอข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่เรียกอุปกรณ์ชนิดนั้นว่า คอมพิวเตอร์แล้วนำอุปกรณ์นั้นมาเป็นอุปกรณ์หลักในการสร้างระบบที่เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระเบียบตลอดจน สามารถเรียกข้อมูลกลับมาประมวลผลเป็นสารสนเทศอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ระบบดังกล่าวสามารถนับได้ว่าเป็น MIS
ถ้าเราพิจารณาย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่า MISได้เกิดขึ้นและนำมาใช้งานมานานแล้วแต่อาจจะอยู่ในรูปแบบอื่น เช่น การบันทึกข้อมูล การจัดทำทะเบียนประวัติเนื่องจากขอบเขตของการดำเนินธุรกิจยังจำกัดอยู่ในพื้นที่ไม่กว้าง ธุรกิจจะเกี่ยวข้องกับปริมาณข้อมูลที่ไม่มากและไม่ต้องการความรวดเร็วในการดำเนินการซึ่งสามารถจัดการได้ โดยการบันทึกลงกระดาษและประมวลผล โดยใช้แรงงานมนุษย์ก็สามารถทำให้ธุรกิจที่กระทำอยู่ดำเนินไปด้วยดี และประสบผลสำเร็จได้ ในขณะนั้นต่อมาเมื่อการค้าขายได้ขยายตัวมากขึ้นจากระดับท้องถิ่นออกไปสู่ระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติ ประกอบกับผู้ขายวัตถุดิบ ลูกค้าและคู่แข่งขันทางการค้าที่ทวีจำนวนมากขึ้น ทำให้ปริมาณ ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจมีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการสารสนเทศที่รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้นทำให้การสร้างและการพัฒนาMISมีความจำเป็น ที่จะต้องมองหาอุปกรณ์ชนิดใหม่เข้ามาใช้เพื่อที่จะปฏิบัติงานกับข้อมูลในปริมาณที่มากและการประมวลผลที่รวดเร็ว ทำให้รูปแบบและอุปกรณ์ที่นำมาใช้กับระบบสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไป
ปัจจุบันขอบเขตของการทำงานของระบบสารสนเทศขยายตัวจากการรวบรวมข้อมูลที่มาจากภายในองค์การ ไปสู่การเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งจากภายในท้องถิ่นประเทศและระดับนานาชาติ ปัจจุบันธุรกิจต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีศักยภาพสูงขึ้นเพื่อสร้างMISให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจและขีดความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหาร ในยุคปัจจุบันแต่ปัญหาที่น่าเป็นห่วงคือคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในศักยภาพและขอบเขตของการใช้งานระบบสารสนเทศ นอกจากนี้บุคลากรบางส่วนที่ขาดความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้งาน ระบบสารสนเทศไม่ยอมเรียนรู้และเปิดรับการเปลี่ยนแปลงจึงให้ความสนใจหรือความสำคัญกับการปรับตัวเข้ากับ MIS น้อยกว่าที่ควร
ได้ทราบถึงว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการคือเป็นการรวบรวมมข้อมูลทั้งภายในและภายนอก แล้วนำมาประกอบให้เป็นสารสนเทศ
สวัสดีครับ
ผมได้เข้าใจความหมายของระบบสารสนเทศ อย่างละเอียดก็วันนี้เอง ขอขอบคุณ สุกัญญา ย่านส้ม เป็นอย่างมากนะครับ ผมจะนำความรู้นี้ไปสอนนักเรียน เพื่อให้เข้าใจ ความหมายของ MIS อย่างแท้จริง