หมอจิ๋ว
นาย ธวัชชัย หมอจิ๋ว แสงจันทร์

29-9-2552 ประชุมสัมมนาการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพปี ๒๕๕๓


โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ คือ จุดแตกหักของระบบสุขภาพในอนาคต

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ คือ จุดแตกหักของระบบสุขภาพในอนาคต

วันที่ ๒๙ กันยายน ๕๒ เข้าประชุมสรุปประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ที่ห้องประชุมร่มโพธิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
เริ่มประชุม ๐๙.๓๐ น.  คุณมารดี วิทยาดำรงชัย บรรยายแนวทางการดำเนินงาน

นำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนเีรียนรู้กันดังนี้

  • อำเภอเมือง ได้รับงบประมาณจาก PP.Areabase ดำเนินการ จำนวน ๔๐,๐๐๐ กว่าบาท
  • อำเภอเรณููนคร  มีกิจกรรม การประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้บริหาร / การอบรมครูอนามัยโรงเรียน แกนนำเด็กไทยทำได้ / การออกประเมินโรงเรียน  /  การออกประกวด เด็กไทยทำได้ โดยมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยเครือข่ายของท้องถิ่น ครู จนท.สาธารณสุข โดยใช้เกณฑ์ชี้วัดมาตรฐาน  / องค์ประกอบที่ไม่ผ่าน ส่วนใหญ่ได้แก่ องค์ประกอบที่ ๑ และ องค์ประกอบที่ ๘  ปัญหาและการแก้ไขปัญหา ส่วนใหญ่โรงเรียนแก้ไขปัญหาเอง อปท. ช่วยสนับสนุน
  • อำเภอปลาปาก กิจกรรม การประชุมชี้แจงแก่ครูอนามัยโรงเรียน เจ้าหน้าที่ โดยใช้งบ PP.com ของสถานีอนามัย ปัญหาอุปสรรค ขาดการนิเทศติดตามประเมินผล
  • อำเภอธาตุำพนม  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการออกประกวดผลการดำเนินงานเด็กไทยทำได้และโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยแต่ละสถานีอนามัยร่วมกับโรงเรียนได้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยในปี ๒๕๕๒ มีการพัฒนาขึ้นมา โดยขึ้นได้ระดับเพชร ระดับทอง มากขึ้น  / ด้านสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนามากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องส้วมและความปลอดภัยของอาหาร /ด้านทันตสุขภาพ ปัญหาทันตสุขภาพลดลง   โรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ มีปัญหาเรื่องขนมกรุ๊ปกรอบในโรงเรียน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ  คือ การรับทราบนโยบายไปสู่การปฏิบัติ  การวิเคราะห์สภาพปัญหา การยกย่องชมเชยให้กำลังใจ   นโยบายของผู้บริหารในทุกระดับ ปัญหาอุปสรรค  โรงเรียนขาดงบประมาณในการพัฒนา / การจำหน่ายเครื่องดื่ม อาหาร ในโรงเรียน  (บางแห่งมีการทำสัญญาระหว่างแม่ค้ากับโรงเรียน ) ข้อเสนอแนะ ขอสนับสนุนจากท้องถิ่น บางแห่งก็สนับสนุนดี /ให้ผู้บริหารระดับ สพท. มีหนังสือแจ้งหรือกำหนดระเบียบข้อบังคับต่างๆ
  • อำเภอนาแก  ปัญหา คือ ความเข้าใจในระบบการทำงาน  การไม่บันทึกข้อมูล  การไม่ได้ทำ  มีโครงการ คือ โครงการพัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลผ่านเวบไซต์  โครงการพัฒนา อย.น้อย  ในพื้นที่มีโครงการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน/ชุมชน ทำให้ ๑  เครือข่าย PCU นำร่อง  โครงการเตรียมความพร้อมก่อนออกเป็นเยาวชน  โครงการออกบริการทันตกรรมในโรงเรียน  โครงการป้องกันไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙ มีการซ้อมแผน การตรวจสุขภาพนักเรียนโดยเจ้าหน้าที่ตามเกณฑ์  ปัญหา  ตัวเจ้าหน้าที่ในเรื่องของการเปลี่ยนงาน  ศักยภาพความรู้ทักษะในการทำงาน ปัญหาในโรงเรียน ครู อาจารย์เปลี่ยนใหม่/เปลี่ยนผู้รับผิดชอบ ครูอนามัยโรงเรียน   ปัญหาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขย้ายเปลี่ยนเนื่องจากได้รับตำแหน่งสูงขึ้น   สิทธิ์เสรีภาพส่วนบุคคล    มีการร้องเรียนด้านทันตกรรม การฉีดวัคซีนในโรงเรียน ต้องมีการทำหนังสือแจ้งผู้ปกครอง การประสานงานกับโรงเรียน  งบประมาณ  การสนับสนุนจากท้องถิ่น แนวทางแก้ไขปัญหา  งบประมาณ  การกำหนดกิจกรรมที่บูรณาการกัน  มีคู่มือแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน  อบรมชี้แจงต้นปีงบประมาณ  สนับสนุนการจัดกิจกรรม อบรมผู้นำนักเรียน
  • อำเภอวังยาง ปัญหา  โรงเรียนเปลี่ยนผู้รับผิดชอบงานบ่อย / งบประมาณล่าช้า  /ข้อเสนอแนะ สิ่งสนับสนุนจากจังหวัด  ในส่วนโครงการเด็กไทยทำได้ มีการจัดทำโครงการ ประสานงาน ออกดำเนินการ  สรุปผลการประเมินให้ สสจ. ผลการประเมิน สรุปว่า ระดับทองทั้ง  ๑๖  แห่ง เคล็ดลับ  นำครูอนามัยโรงเรียนและพาไปศึกษาดูงานโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน / มีการบูรณาการทุกงานเข้าสู่การอบรมในโรงเรียน ข้อเสนอแนะ  สสจ. ควรจัดงบในการออกประเมินด้วย เพราะผู้ที่ออกประเมิน คือ ผู้บริหารในโรงเรียน ด้วย
  • อำเภอโพนสวรรค์    ขั้นตอนดำเนินงาน จัดทำโครงการ แต่งตั้งกรรมการ ประชุม จัดทำแผนประเมิน ดำเนินการประเมิน  รายงานผล   ระดับทอง  ๖  แห่ง  ทองแดง ๑๖ แห่ง ปัญหาอุปสรรค บุคลากรโยกย้ายบ่อย ขาดความต่อเนื่อง ครูให้ความสนใจน้อย ประสานงานล่าช้า ผู้ประเมินเข้าใจเกณฑ์น้อย  มีการจัดอบรมให้เจ้าหน้าที่ ครู ให้เข้าใจตรงกัน
  • อำเภอท่าอุเทน    ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกแห่ง ไม่มีระดับทอง  โรงเรียนมัธยมจะส่งเข้าประเมินในระดับเพชร/ เด็กไทยทำได้ ยังเป็นปัญหา แต่ ร้อยละ ๓๖.๕  ปัญหาอุปสรรค  สิ่งแวดล้อม  ส้วมไม่ได้มาตรฐาน  โรงอาหารห้องครัว  ไม่ได้มาตรฐาน มีการโยกย้ายครูที่รับผิดชอบงาน เพราะเกณฑ์เยอะ ยาก ไม่เข้าใจ บางโรงเรียน ครูทำงานดี แต่ผู้บริหารไม่ WORK  ส่วนของงานระดับอำเภอ งานเยอะ ดูแลไม่เต็มที่ ข้อเสนอแนะ   พาครูไปศึกษาดูงาน (ผู้บริหารไม่สนับสนุน)  ยอมรับว่าไม่ได้ออกประเมินเอง
  • อำเภอศรีสงคราม  มีการติดตามประเมินผล โดยทีม คปสอ.ศรีสงคราม และ มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นจากระดับเงิน เป็นทอง การประกวดจังหวัด รองชนะเลิศ อันดับ ๑ โรงเรียนประถมศึกษาระดับกลาง / ปัญหา มีโรงเรียนจำนวนมาก ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญ  / ปี ๒๕๕๓  จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการทุกภาคส่วนออกร่วมดำเนินการประเมินผล  (ให้มีการประเมินไขว้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มีเวทีนำเสนอผลงานเด่นของเครือข่าย)
  • อำเภอนาหว้า ปัญหาอุปสรรค ขาดความกระตือรือล้นในระดับพื้นที่  / งบประมาณโอนที่ CUP ไม่สามารถนำไปสนับสนุนการดำเนินงานได้ / ภาระงานที่มากขึ้น โดยเฉพาะคนทำงานที่ สสอ. / โรงเรียนไม่สนใจโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จะไปสนใจการทำอาจารย์ ๓ เพราะค่าตอบแทนได้มาก / เจ้าหน้าที่มีน้อย / ขาดแรงจูงใจเช่น รางวัล ประกาศนียบัตร / ฝากงบประมาณ การกระตุ้นระดับนโยบาย

  • อำเภอบ้านแพง มีการประชุมครูอนามัยโรงเรียนทุกปี / มีการประเมินงานอนามัยโรงเรียนโดยทีมของอำเภอ  มีการกำหนดนโยบายให้มีระดับทองอย่างน้อย สอ.ละ  ๑  แห่ง  ทำให้มีระดับทองสูงถถึงร้อยละ ๓๐  มีกิจกรรมอื่นๆ ในการสนับสนุน เช่น การอบรมแกนนำนักเรียนด้านอาหารปลอดภัย การประกวดโรงเรียนด้านอาหารปลอดภัยในโรงเรียน สนับสนุนโรงเรียนในเรื่องรางวัลของการประกวด ปัญหาอุปสรรค เหมือนกันกับทุกแห่ง  งานโรงเรียนส่งเสิรมสุขภาพเป็นงานเล็กๆ เท่านั้น
  • อำเภอนาทม ดำเนินการแล้วไม่ค่อย Work แต่มีตำบลที่ทำได้ดี ที่เป็นตัวอย่างในเรื่อง การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  / กิจกรรม ประชุมแต่งตั้งคณทำงานโดยได้รับการสนับสนุนจากสถานีอนามัยและ อบต. โดย อบต.สนับสนุนหลายแสน ในการประกวดมีงบสนับสนุนล่วงหน้า ๒๐๐๐ บาท และมีการประเมิน ๒ รอบ ต้นปีงบประมาณ ประเมินและให้คำแนะนำ ครั้งที่  ๒  ในวันที่ ๑๔-๑๕ กรกฏาคม ๒๕๕๒ /กิจกรรมมหกรรมสุขภาพของตำบล  กิจกรรมการประกวดอาหาร เมนูชูสุขภาพ โรงเรียนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้  การประกวดออกกำลังกายประกอบดนตรี  การตอบคำถามในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ทั้ง  ๕  หมวด ปัญหาอุปสรรค งบประมาณ /ภาระงานของครู / ผู้บริหารสนใจน้อย / การประสานงานกิจกรรมยังไม่ครอบคลุม ข้อเสนอแนะ อยากให้ถือเป็นภาระกิจของโรงเรียน   สสอ. ไม่มีงบประมาณ  สื่อ การสนับสนุนไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 การวิเคราะห์สถานการณ์ภาพรวมจังหวัด

โอกาส

  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระราชดำริส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนวัยเรียนมีสุขภาพดี มีพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและมีคุณภาพชีวิตที่ีดี
  • การทรวงสาธารณสุขทำ MOU ถึงกระทรวงศึกษาธิการด้านโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเพื่อขยายผลให้ครอบคลุม
  • กรระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดมาตรฐานหลักสูตรแกนกลางปี ๒๕๕๑ แและเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาท้องถิ่นโดยประยุกต์ภูมิปัญญา บทเรียนการพัฒนา/วิถีการชุมชน ทุกภาคส่วนเข้าสู่หลักสูตรและหน่วยการเรียนรู้ในท้องถิ่น
  • มีมาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับประเทศ แและกำหนดรางวัลเป็นแรงจูงใจแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการหลายระดับ เช่น ทองแดง เงิน ทอง และระดับเพชร
  • มีคณะกรรมการกำกับละติดตามผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเขตมีการบูรณาการร่วมมือทุกภาคส่วน

อุปสรรค

  • กระแสภายใต้การพัฒนาภายใต้โลกาภิวัฒน์  ค่านิยมด้านวัตถุ  มีผลกระทบต่อการปรับตัวและทักษะชีวิตของเยาวชน เช่น พฤติกรรมการบริโภค การใช้อินเตอร์เน็ท การรับรู้ส่งต่อข้อมูลข่าวสาร ภาวะเสี่ยงด้านสังคมวัฒนธรรม
  • มีการเปลียนแปลงนโยบาย มาตรฐานตัวชี้วัด ระดับกระทรวง ส่งผลต่อการรับรู้และนำไปปฏิบัติ
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาาดการสนับสนุนแผนงาน/งบประมาณ และเชื่อมโยงกับระเบียบที่ดำเนินการได้ยุ่งยากมาก
  • ชุมชนขาดการเรียนรู้และเข้ามาสนับสนุน หรืออมีส่วนร่วมจริงจังเพราะเข้าใจว่าโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นภาระของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  • ชุมชนขาดการสนับสนุนและเรียนรู้ หรือมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง

จุดอ่อน

  • ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดดความเข้าใจ ควบคุมกำกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
  • หลักสูตรของสถานศึกษาไม่สอดคล้องกับระบบการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง ตลอดจนครูผู้สอนขาดความรู้ไม่ใช่ภาระกิจโดยตรง
  • นโยบายระดับจังหวัดและหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น สพท. ไม่เชื่อมโยง ยุทธ กับ งานไปด้วยกัน

จุดแข็ง

  • สสจ.นครพนม มีแผนยุทธ ที่กำหนดชัดและมีฝ่าย จนท.ผู้รับผิดชอบชัดเจน
  • มีการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง สพท.เขต ๑ / ๒
  • มีกรรมการติดตามผลการประเมินระดับจังหวัด
  • มีทีมวิทยากรครอบคลุมทุกอำเภอ
  • มีการจัดทำ/พัฒนาระบบรายงานที่สามารถวิเคราะห์/ประเมินผลแยกรายโรงเรียน
  • มีเครือข่ายการทำงาน
  • โรงเรียนมีคณะกรรมการสถานศึกษา ที่ครอบคลุม

 

หลังงานไหลเรือไฟ จะจัดประชุมในภาพรวมของจังหวัด โดยทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม 

กลับไปขอให้ไป CHECK ระบบรายงานใน E-report  ด้วย ข้อมูลตรงไหนไม่มีให้ดำเนินการ

 

ยังมีต่อนะ

หมายเลขบันทึก: 301694เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นันทวัน ยันตะดิลก

ดิฉันเคยทำงานที่สำนักโรคเอดส์ ฯ กระทรวงสาธารณสุขมาก่อน ตอนนี้ผันตัวมาเป็นอาจารย์ภาควิชาการสื่อสารสุขภาพ คณะนิเทศศาสตร์ ม.หัวเฉียว ฯ ดีจังเลยค่ะที่เป็นคนทำงานด้านสุขภาพใช้เทคโนโลยี่การสื่อสารเพื่อการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และขยายผลการทำงานให้รวดเร็วขึ้น และจะยิ่งดีขึ้นนะคะถ้าจะมีคนมาร่วมวงมาก ๆ และช่วยกันสังเคราะห์ รวมทั้งให้ข้อเสนอในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ในครั้งนี้เห็นแค่การวิเคราะห์สถานการณ์ อยากให้ลองดูเรื่องการเสนอแนะแนวทางการทำงานด้วย การหลอมรวมทรัพยากร (ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่เงินเท่านั้น) ทั้งคน เวลา อุปกรณ์ มาร่วมกันแบบลงแขก คงจะทำให้เราร่วมด้วยช่วยกัน ทำงานสำเร็จลุล่วงได้ดีแน่ ๆ ค่ะ และจะคอยติดตามนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท