"การจัดการความรู้การเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้"


"การจัดการความรู้การเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้"

เมื่อระหว่างวันที่ 19 - 20 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในชื่อว่า  Enhance HU Culture Change Program  ผู้เขียนได้มีโอกาส เป็นวิทยากรห้องอาจารย์ (แบ่งเป็น 3 ห้อง อาจารย์ เจ้าหน้าที่  ในช่วงการเรียนการสอนและการวิจัย (KM) ที่น่าจะบอก ร่วมกับอาจารย์ 2 ท่าน คือ และส่วนที่ได้รับผิดชอบ เช่นเดิมเรื่องการจัดการความรู้   แล้วผู้เขียนจะพูดเรื่องอะไรให้สอดคล้องกับอาจารย์ทั้งสองท่าน (อ.วิวัฒน์ พูดเรื่องการเรียนการสอน อาจารย์สิริลักษณ์ พูดเรื่องการวิจัย) ผู้เขียนจึงใช้เวลา 1 คืน ก่อนวัน workshop (วันเดียวจริง ๆ เพราะเพิ่งจะทราบว่ามีหน้าที่รับผิดชอบก่อนหน้าแค่ 1 วัน) เพื่อความสอดคล้องจึงใช้ชื่อว่า "การจัดการความรู้การเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้"  ชื่ออลังการน่าดู ใช้เวลาในการเล่าสู่กันฟัง 20 นาที  รายละเอียด คือ

เริ่มด้วยการให้นิยามการจัดการความรู้ สั้น..ง่าย ...........
      การจัดการความรู้  หมายถึง  "วิธีการที่จะทำให้ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกิดเป็นประโยชน์ตามเป้าหมาย"   โดยจะโฟกัสที่  การจัดการ
      การจัดการ  หมายถึง  วิธีการ
      ความรู้        หมายถึง   เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการให้เกิดเป็นประโยชน์
ยกตัวอย่าง  ต้องการทำให้นักศึกษาเข้าถึงสื่อการสอนให้มากยิ่งขึ้น ก็สามารถจัดการความรู้เรื่องการเรียนการสอน  ด้วยวิธีการทางด้านการจัดการความรู้
      ซึ่งการจัดการความรู้ จะให้ความสำคัญกับการจัดการหรือวิธีการ ที่มีด้วยกันมากมายมายหลายวิธี แต่ที่นำมาเล่าให้ฟังประกอบด้วย
      ....การสร้าง การแลกเปลี่ยน การรวบรวม การจัดเก็บ การเผยแพร่ การเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ใช้....
ในการเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้จะนำเอาหัวใจแห่งการจัดการความรู้มาคุยกัน คือ การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ (Sharing & Learning) 
      แลกเปลี่ยน (Sharing) หมายถึง  การให้ เป็นการให้ความรู้ระหว่างอาจารย์ด้วยกัน การให้ความรู้แก่นักศึกษา นั่นก็คือ การสอน การให้คำปรึกษา การตอบข้อซักถาม
      เรียนรู้ (Learning) หมายถึง การรับ เป็นการเรียนรู้ความรู้ที่ถูกกลั่นกรองและถ่ายทอดจากผู้ที่รู้สู่ผู้ไม่รู้  นั่นก็คือ  การที่นักศึกษาเรียนรู้จากอาจารย์ผู้สอน และอาจารย์ผู้ไม่รู้เรียนรู้จากอาจารย์ผู้รู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า นั่นเอง
      ซึ่งทางมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้มีเครื่องมือที่สามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ว่า ได้มีการในส่วนของการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ อย่างไร ด้วยระบบสารสนเทศ 2 ระบบ คือ
      ระบบ eClassroom http://classroom.hu.ac.th (ระบบสารสนเทศสำหรับการเรียนการสอน) ที่สามารถช่วยให้อาจารย์สามารถบันทึกความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับรายวิชาที่สอนไม่ว่าจะเป็น ข่าวสาร แผนการสอน เอกสารและสื่อการสอน ลิงค์เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง  หรือคำถามที่ถูกถามบ่อย  จึงเรียกได้ว่า eClassroom เป็นเครืองมือสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการเรียนการสอน
      ระบบ ePortfolio http://www.hu.ac.th/teacher/index.asp (ระบบสารสนเทศสำหรับการบันทึกประวัติและผลงานของบุคลาการ)  ที่สามารถช่วยให้อาจารย์บันทึกข้อมูลต่าง ๆ ทั้งในส่วนของประวัติส่วนตัวในด้านต่าง ๆ และที่สำคัญและเป็นหน้าที่หลักของระบบ คือ การบันทึกบทความและงานวิจัย จึงเรียกได้ว่า ePortfolio เป็นเครื่องมือสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานวิจัย
      สรุปว่าตอนนี้มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีเครื่องมือในการจัดการความรู้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนการสอนด้วย ระบบ eClassroom และ ด้านบทความและงานวิจัย ระบบ ePortfolio และในส่วนนี้อาจารย์ทุกท่านจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมมือแลกเปลี่ยน (Sharing) ด้วยการบันทึกความรู้เข้าสู่ระบบ จนเกิดเป็น "ฐานข้อมูลความรู้" ทั้งสองด้าน แล้วฐานข้อมูลความรู้เหล่านี้เมื่อมีผู้สนใจเข้ามา เรียนรู้ (Learning) ก็จะเกิดเป็นวัฏจักรแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจุดนี้จะทำให้มหาวิทยาลัย เกิดเป็น "องค์กรแห่งการเรียนรู้"  ตามหัวข้อที่ต้องไว้  "การจัดการความรู้การเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้" ดังรูปนี้

      แต่ถึงอย่างไรองค์กรแห่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับอาจารย์ทุกท่านที่ต้องร่วมมือร่วมใจกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค่ะ          

ขอบคุณ และสวัสดีค่ะ
อัจฉรา  เรืองประทุม

 

หมายเลขบันทึก: 30126เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท