สารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา


สารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ระบบสารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 

อรษา  นนทะเสน

                  ข้อมูลสารสนเทศ  เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสถานศึกษา  เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยในการวางแผนการตัดสินใจดำเนินการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ถ้าเราไม่นำข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการตัดสินใจหรือช่วยในการวางแผน  งานที่ทำนั้นย่อมไม่เกิดประสิทธิผล  มีความเสี่ยงต่อความผิดพลาด  ทำให้เกิดความเสียหายต่อสถานศึกษาไม่มากก็น้อย  สถานศึกษาใดมีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์  ครบถ้วน  เป็นปัจจุบัน  เรียกใช้ได้สะดวกและตรงกับความต้องการ  จะช่วยให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ในบทความนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึง  ความหมายของระบบสารสนเทศ  วัตถุประสงค์ของการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ  องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ  ลักษณะข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ  ประเภทของระบบสารสนเทศ  การใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานในสถานศึกษา  สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  และปัจจัยที่ทำให้การจัดระบบสารสนเทศในสถานศึกษาประสบผลสำเร็จ

1. ความหมายของระบบสารสนเทศ

                  นักการศึกษาและนักบริหารการศึกษา  ได้ให้ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับคำว่า  ระบบสารสนเทศไว้หลากหลาย  พอสรุปได้ดังนี้

                ข้อมูล (Data)  หมายถึง  ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งอาจแสดงเป็นตัวเลข  ตัวหนังสือ  หรือสัญลักษณ์  ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นสิ่งที่เก็บรวบรวมโดยยังไม่ผ่านประมวลผลหรือการวิเคราะห์จัดกระทำ  จึงทำให้ส่วนมากไม่มีความหมายสมบูรณ์พอที่จะนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ  (กรมวิชาการ.  2545 : 20) 

                สารสนเทศ (Information)  หมายถึง  ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือการวิเคราะห์ด้วยวิธีการต่าง ๆ จนอยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย  สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจหรือนำไปใช้ในเรื่องต่าง ๆ ได้ตามวัตถุประสงค์  (กรมวิชาการ.  2545 : 20) 

                สารสนเทศหรือข้อมูลสารสนเทศ (Information) คือข้อมูลซึ่งได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์ หรือมีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นข้อมูลที่สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บิหารได้  ( กรมสามัญศึกษา.  2533 : 13 )

                สารสนเทศ  หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ที่มีความเกี่ยวข้องกันมาจัดกระทำหรือประมวลผล เพื่อให้มีความหมาย หรือมีคุณค่าเพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์การใช้  ( สำนักงานการประถมแห่งชาติ. 2537 )

                  ระบบสารสนเทศ (Information System)  หมายถึง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุด  และการจัดเก็บรักษาอย่างมีระบบสะดวกต่อการนำไปใช้  สารสนเทศที่ถูกจัดเก็บเป็นระบบจะสามารถนำไปใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจได้ในทุกระดับ  (กรมวิชาการ.  2545 : 20)

                ดังนั้น  ระบบสารสนเทศ  หมายถึง  กระบวนการที่เก็บรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงต่าง ๆ  โดยผ่านการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ แล้ว  สามารถนำมาประกอบการวางแผนและการตัดสินใจของผู้บริหาร  ในการกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งในองค์กร  เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

 

2.  วัตถุประสงค์ของการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ

                1.  เพื่อให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและประกอบการตัดสินใจในปีต่อไป

                2.  เพื่อแสดงความรับผิดชอบในผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงาน ต้นสังกัด สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อสิ้นปีการศึกษา

                3.  เพื่อให้สถานศึกษามีข้อมูลสารสนเทศ  เตรียมความพร้อมรอรับการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

 

3.  องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

                การจัดระบบสารสนเทศมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วน ดังภาพ (กรมวิชาการ.  2545 : 20) 

                  ข้อมูล  เป็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ ภายในสถานศึกษาและในบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง  เป็นปัจจัยนำเข้าของระบบสารสนเทศ

                การจัดเก็บข้อมูล  เป็นการรวบรวมและจัดเก็บรักษาข้อมูล  และสารสนเทศที่มีอยู่หรือที่ได้มาอย่างมีระบบ  สะดวกต่อการนำมาประมวลผล  หรือนำมาใช้ประโยชน์ และสามารถแก้ไข ปรับปรุง ให้เป็นปัจจุบันได้ง่าย

                การประมวลผลหรือการวิเคราะห์  เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล  จัดกระทำเพื่อให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้  ซึ่งวิธีการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศมีอยู่มากมาย  เช่น  การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การแจงนับ การทำตารางแจกแจงข้อมูลตัวเลขแบบหมายประเภท (Cross tabulation)  ตลอดจนถึงการใช้สูตรคณิตศาสตร์ต่าง ๆ (คำนวณค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าความแปรปรวน ฯลฯ)

                สารสนเทศ  เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลหรือการวิเคราะห์แล้ว  เป็นผลผลิตของระบบที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

  

4.  ลักษณะข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ

                ข้อมูลและสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นเครื่องชี้นำในการพัฒนาและดำเนินงานทางการศึกษา  ดังนั้นการสร้างระบบสารสนเทศให้มีคุณภาพจึงควรคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้         (กรมวิชาการ.  2545 : 9)

                1.  มีการตรวจสอบความถูกต้อง (Verifiability)

                2.  มีความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)

                3.  มีความสมบูรณ์และครอบคลุม (Comprehensiveness) เพียงพอที่จะใช้ตัดสินใจ

                4.  มีความชัดเจน (Clarity) ไม่ต้องตีความ แต่มีความกะทัดรัดได้ใจความ

                5.  มีความเกี่ยวข้องตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ (Relevance)

                6.  มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ปรับใช้ได้ในหลายสถานการณ์

                7.  ใช้ได้ง่าย รวดเร็ว (Accessibility)

                8.  สามารถจัดระบบตั้งแต่การเตรียมข้อมูลนำเข้า การประมวลผลและนำผลรายงานในเวลาที่ทันต่อเหตุการณ์ (Timeliness)

 

5.  ประเภทของระบบสารสนเทศ

                5.1  ระบบสารสนเทศ สามารถจำแนกตามวิธีดำเนินการออกเป็น 3 ระบบ ซึ่งแต่ละระบบมีจุดเด่นและจุดด้อย (กรมวิชาการ.  2545 : 10)  ดังนี้

                       5.1.1.  ระบบทำด้วยมือ (Manual System) เป็นระบบที่เก็บโดยการใช้เอกสารในรูปแบบต่างๆ ระบบนี้มีข้อดีคือ ค่าใช้จ่ายน้อย ส่วนข้อเสียคือ การเรียกใช้ไม่สะดวกและไม่ทันการ หากจัดระบบแฟ้มเอกสารไม่เหมาะสมเท่าที่ควร

                       5.1.2.  ระบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi - Automation)  ระบบนี้ใช้มือทำส่วนหนึ่ง และใช้เครื่องกลส่วนหนึ่ง  กล่าวคือ  ส่วนที่เป็นเอกสารต่างๆ ทำด้วยมือ และส่วนที่สร้างระบบสารสนเทศใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย ระบบนี้มีข้อดีคือ ค่าใช้จ่ายไม่สูง การฝึกอบรมบุคลากรไม่มากนัก แต่มีข้อเสียคือ ถ้ารูปแบบเอกสารไม่เหมาะสม การปฏิบัติงานไม่เหมาะสม การดำเนินการจะล่าช้า หากข้อมูลจากการกรอกเอกสารผิดพลาด ระบบนี้ทำได้ดีเมื่อส่วนที่ทำด้วยมือทำได้สมบูรณ์แบบ ได้แต่ การกรอกข้อมูลครบ ถูกต้อง มีระบบควบคุม ตรวจสอบอย่างดี

                            5.1.3. ระบบอัตโนมัติ (Full - Automation) เป็นระบบที่ใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ดำเนินงาน ระบบนี้ต้องมีการออกแบบให้เข้ากับลักษณะงานเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างมาจะมีลักษณะและขนาดของเครื่องแตกต่างกัน

                5.2  การจัดระบบสารสนเทศภายในสถานศึกษาเพื่อให้เหมาะกับการนำไปใช้  โดยจำแนกเป็นระบบย่อยๆ ดังนี้

                              5.2.1.  ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา  ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา  สภาพเศรษฐกิจ  การเมือง  สังคม ความต้องการของชุมชน  สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ  เช่น ปฏิทินปฏิบัติงานของสถานศึกษา  กิจกรรมประจำวันของสถานศึกษา  ระบบเอกสารที่จำเป็นในสถานศึกษา เป็นต้น

                                5.2.2.  ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน  เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด  เช่น ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน จำแนกเป็นรายชั้น รายปี ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน รายงานความก้าวหน้าของผู้เรียน  รายงานความประพฤติ / พฤติกรรมผู้เรียน ผลงานของผู้เรียน เทคนิคการเรียนรู้ของผู้เรียน

                                5.2.3.  ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ  เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน  การวัดและการประเมินผลการพัฒนากิจกรรม  แนะแนวและ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  เช่น  การมีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน  บรรยากาศการเรียนการสอน  ความหลากหลายในวิธีการและการใช้เครื่องมือประเมิน  การจัดบริการแนะแนว  ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                                5.2.4.  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  สารสนเทศประเภทนี้ต้องมีการประมวลผลรวม  มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัยจึงจะมีความหมายต่อการจัดการและการบริหารงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ  ตัวอย่างสารสนเทศเพื่อการบริหาร  เช่น  งานธุรการ  การเงิน  งานบุคลากร  งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน งานพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก งานอาคารสถานที่ เป็นต้น

                                5.2.5.  ระบบสารสนเทศเพื่อการรายงาน   สถานศึกษาต้องรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี เพื่อรายงานต่อเขตพื้นที่การศึกษา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรายงานผู้ปกครอง  ชุมชน และสาธารณชน  เป็นการนำข้อมูลและสารสนเทศทุกด้าน สรุปเป็นภาพรวมที่เข้าใจง่าย  กะทัดรัด  ระบุผลสำเร็จตามสภาพและผลการพัฒนาที่เกิดขึ้น  ได้แก่  คุณภาพด้านผู้เรียน   คุณภาพด้านการจัดการเรียนการสอน  คุณภาพด้านการบริหารจัดการ  ด้านความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน  การรายงานควรใช้ภาษา ภาพ หรือตารางที่เข้าใจง่าย

 

6.  การใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานในสถานศึกษา

                ข้อมูลสารสนเทศที่ได้มานั้นสามารถนำมาใช้วางแผนประกอบการตัดสินใจในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ขั้นตอนการบริหารการจัดการระบบสารสนเทศทางการศึกษา

 7.  สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

                สถานศึกษาจำเป็นต้องเตรียมสารสนเทศของสถานศึกษา  สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำแนกได้ ดังนี้

                  1.      สารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

                            1.1  ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา

                            1.2  สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างการบริหารและภารกิจ

                            1.3  ศักยภาพของสถานศึกษา

                            1.4  ความต้องการของสถานศึกษา

                            1.5   แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น

                            1.6   แนวทางการจัดการศึกษา

                            1.7   การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา / คณะกรรมการนักเรียน

                            ตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา 

                               -  รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี

                               ข้อมูลที่ต้องการ

                            -  ข้อมูลพื้นฐาน 

รายละเอียดในข้อมูลทั่วไป จัดไว้ในบทที่  1  ของรายงาน  ประกอบด้วย

                               1.1 ข้อมูลทั่วไป ระบุระดับการศึกษาที่เปิดสอน สถานที่ตั้ง เนื้อที่

ระบบสื่อสารคมนาคมที่สามารถติดต่อได้

                              1.2 ข้อมูลด้านการบริหาร ระบุชื่อบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร วิธี

บริหารจัดการศึกษาโครงสร้างการบริหาร เทคนิคการบริหาร

                               1.3 ข้อมูลนักเรียน ระบุจำนวนเด็กในเขตพื้นที่บริการ จำนวนนักเรียน

ทั้งหมดจำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน นักเรียนเรียนร่วมที่มีความบกพร่องทางร่างกายสติปัญญา นักเรียนปัญญาเลิศ นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ถ้ามี) นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ สัดส่วนครูต่อนักเรียน จำนวนนักเรียนต่อห้องเรียน จำนวนนักเรียนที่ได้รับรางวัล โล่ เกียรติบัตร หรือมีผลงานดีเด่น สถิติการมาเรียน ลาออกกลางคัน และจบหลักสูตร

                               1.4 ข้อมูลบุคลากร ระบุจำนวนครูและบุคลากรจำแนกตามวุฒิทางการ

ศึกษาประสบการณ์การสอน อายุเฉลี่ย จำนวนครูประจำการ ครูอัตราจ้าง สถิติการอบรมและพัฒนาบุคลากร สถิติการมาทำงาน ชั่วโมงสอนโดยเฉลี่ยของครู การได้รับรางวัล เกียรติบัตร และผลงานดีเด่นด้านต่าง ๆ ในภาพรวม

                               1.5 สภาพชุมชนโดยรวม ระบุอาชีพ ศาสนา รายได้ ระดับการศึกษา

ของผู้ปกครองแนวโน้มความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน จุดแข็งและจุดควรพัฒนา โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน การสืบสานประเพณี ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น

                               1.6 โครงสร้างหลักสูตร ระบุโครงสร้างการจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ การจัดเวลาเรียนจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน การกำหนดสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมในแต่ละกลุ่มสาระ

                               1.7 ข้อมูลด้านอาคารสถานที่ ระบุจำนวนอาคารเรียน อาคารประกอบ

ห้องปฏิบัติการพิเศษ

                               1.8 ข้อมูลด้านงบประมาณและทรัพยากร ระบุงบประมาณที่ได้รับและการใช้จ่ายงบประมาณ ข้อมูลเกี่ยวกับอาคารสถานที่ สื่อ อุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวก

                               1.9 แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการใช้ ห้องสมุด (บอกขนาดห้อง) จำนวน/ประเภทหนังสือในห้องสมุด จำนวนคอมพิวเตอร์ (อัตราส่วน จำนวนนักเรียนต่อเครื่อง) แหล่งติดตั้งอินเทอร์เน็ตและอัตราการใช้ แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมสถิติการใช้

                               1.10 ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ระบุผลการดำเนินงาน /โครงการที่ประสบผลสำเร็จและไม่ประสบผลสำเร็จหรือปัญหาอุปสรรคในรอบปีที่ผ่านมาโดยย่อ เช่น โครงการส่งเสริมนักเรียนปัญญาเลิศ โครงการพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ โครงการตามพระราชดำริ ฯลฯ  และผลงานของนักเรียน และบุคลากรที่ได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่าง ๆ

                              1.11 ผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ผ่านมา พร้อมอธิบายผลการนำผลประเมินมาใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างย่อๆ    

                      

การนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

                               การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีทำให้ทราบข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน  ทราบถึงศักยภาพของโรงเรียน  ทราบความต้องการของชุมชน  แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น  แนวทางการจัดการศึกษา  และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา  คณะกรรมการนักเรียน  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนเตรียมการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 

 

2.  สารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

         2.1    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

         2.2     คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

         2.3     ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน

         2.4     รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน

                             ตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

                              -  รายงานผลการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน

                               ข้อมูลที่ต้องการ

                            1. จำนวนผู้เรียนที่สอบผ่านแต่ละกลุ่มสาระ / วิชาแยกตามชั้นเรียน ช่วงชั้น

                            2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                            3. จำนวนผู้เรียนทั้งหมดของช่วงชั้น                             

การนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

                               รายงานผลการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน  ทำให้ทราบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน  และระดับค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แต่ละกลุ่มสาระ แยกตามชั้นเรียน / ช่วงชั้น  นำผลสัมฤทธิ์ที่ได้ไปพัฒนาในกลุ่มสาระที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์  หรือพัฒนาให้มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นในปีต่อไป

 

3.  สารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

         3.1  หลักสูตรและการเรียนการสอน

         3.2  การวัดและการประเมินผลการเรียน

         3.3  การพัฒนากิจกรรมแนะแนว

         3.4  การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

         3.5  การวิจัยในชั้นเรียน

                               ตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ  

                              -  รายงานผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                               ข้อมูลที่ต้องการ

                            1. จำนวนกิจกรรม/ชมรม/ชุมนุมที่จัด

                            2. ความหลากหลายของกิจกรรมที่จัด

                            3. ความสนใจของผู้เรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม (ร้อยละการเข้าร่วมกิจกรรมของแต่ละกิจกรรม)

                            4. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมของสถานศึกษา         

                            5. ผลสำเร็จในการจัดกิจกรรม

การนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

                               รายงานผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ทำให้ทราบผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้เรียน  และผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ว่ามีความสำเร็จมากน้อยเพียงไร  นักเรียนมีความสนใจมากแค่ไหน  มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานอย่างไร  เพื่อที่จะได้แก้ไขให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อผู้เรียนมากที่สุด

 

4.  สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

         4.1  สภาพและบรรยากาศการเรียนรู้

         4.2  ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก

         4.3  การพัฒนาบุคลากร

         4.4  ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน

         4.5  สารสนเทศเกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนา

                               ตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศการบริหารจัดการ

                              -  รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี

                               ข้อมูลที่ต้องการ

                             สาระสำคัญในแต่ละบทให้นำเสนอรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้

                               บทที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานรายละเอียดในข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย

                               1.1 ข้อมูลทั่วไป ระบุระดับการศึกษาที่เปิดสอน สถานที่ตั้ง เนื้อที่ระบบสื่อสารคมนาคมที่สามารถติดต่อได้

                               1.2 ข้อมูลด้านการบริหาร ระบุชื่อบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร วิธี

บริหารจัดการศึกษาโครงสร้างการบริหาร เทคนิคการบริหาร

                               1.3 ข้อมูลนักเรียน ระบุจำนวนเด็กในเขตพื้นที่บริการ จำนวนนักเรียนทั้งหมดจำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน นักเรียนเรียนร่วมที่มีความบกพร่องทางร่างกายสติปัญญา นักเรียนปัญญาเลิศ นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ถ้ามี) นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ สัดส่วนครูต่อนักเรียน จำนวนนักเรียนต่อห้องเรียน จำนวนนักเรียนที่ได้รับรางวัล โล่ เกียรติบัตร หรือมีผลงานดีเด่น สถิติการมาเรียน ลาออกกลางคัน และจบหลักสูตร

                               1.4 ข้อมูลบุคลากร ระบุจำนวนครูและบุคลากรจำแนกตามวุฒิทางการศึกษาประสบการณ์การสอน อายุเฉลี่ย จำนวนครูประจำการ ครูอัตราจ้าง สถิติการอบรมและพัฒนาบุคลากร สถิติการมาทำงาน ชั่วโมงสอนโดยเฉลี่ยของครู การได้รับรางวัล เกียรติบัตร และผลงานดีเด่นด้านต่าง ๆ ในภาพรวม

                               1.5 สภาพชุมชนโดยรวม ระบุอาชีพ ศาสนา รายได้ ระดับการศึกษาของผู้ปกครองแนวโน้มความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน จุดแข็งและจุดควรพัฒนา โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน การสืบสานประเพณี ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น

                               1.6 โครงสร้างหลักสูตร ระบุโครงสร้างการจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ การจัดเวลาเรียนจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน การกำหนดสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมในแต่ละกลุ่มสาระ

                               1.7 ข้อมูลด้านอาคารสถานที่ ระบุจำนวนอาคารเรียน อาคารประกอบห้องปฏิบัติการพิเศษ

                               1.8 ข้อมูลด้านงบประมาณและทรัพยากร ระบุงบประมาณที่ได้รับและการใช้จ่ายงบประมาณ ข้อมูลเกี่ยวกับอาคารสถานที่ สื่อ อุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวก

                               1.9 แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการใช้ ห้องสมุด (บอกขนาดห้อง) จำนวน/ประเภทหนังสือในห้องสมุด จำนวนคอมพิวเตอร์ (อัตราส่วน จำนวนนักเรียนต่อเครื่อง) แหล่งติดตั้งอินเทอร์เน็ตและอัตราการใช้ แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมสถิติการใช้

                               1.10 ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ระบุผลการดำเนินงาน /โครงการที่ประสบผลสำเร็จและไม่ประสบผลสำเร็จหรือปัญหาอุปสรรคในรอบปีที่ผ่านมาโดยย่อ เช่น โครงการส่งเสริมนักเรียนปัญญาเลิศ โครงการพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ โครงการตามพระราชดำริ ฯลฯ และผลงานของนักเรียน และบุคลากรที่ได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่าง ๆ

                               1.11 ผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ผ่านมา พร้อมอธิบายผลการนำผลประเมินมาใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างย่อๆ

                               บทที่ 2 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี

สาระสำคัญในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษาให้ระบุหัวข้อต่อไปนี้

          1)  ปรัชญาและวิสัยทัศน์ ระบุปรัชญา หรือคติพจน์ หรือคำขวัญที่สถานศึกษากำหนดไว้ และระบุวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาที่บ่งบอกถึงเป้าหมายการพัฒนาภายในช่วงเวลา 3 – 4 ปี(เป้าหมายการจัดการศึกษา หมายถึง มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน/ มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย)

          2)  แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี ระบุเป้าหมายการจัดการศึกษาพร้อมทั้งเกณฑ์ที่มุ่งให้บรรลุผล การดำเนินกิจกรรม / โครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ และแผนการดำเนินงานโดยย่อ

                               บทที่ 3 ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในรอบปี

สาระสำคัญในบทนี้ให้เสนอผลการพัฒนาสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน / มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย รวมทั้งมาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และที่สถานศึกษากำหนด โดยรายงานแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่

         1. ด้านคุณภาพผู้เรียน

         2. ด้านการเรียนการสอน

         3. ด้านการบริหารและจัดการศึกษา

         4. ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้

                               บทที่ 4 สรุปผลการพัฒนาและการนำผลไปใช้

สาระสำคัญของการนำเสนอในบทนี้ แ

หมายเลขบันทึก: 300783เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท