การจัดการระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา


ระบบสารสนเทศ

       1. การจัดการระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

        สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่ประกอบด้วย

     1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

    2) ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

    3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

    4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

1.1ความหมายของระบบสารสนเทศ

 1.1.1. ความหมายของระบบ

        ระบบ(System) หมายถึง การนำปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ คน  (People) ทรัพยากร (Resource) แนวคิด (Concept) และกระบวนการ (Process) มาผสมผสานการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้วางแผนไว้ โดยภายในระบบอาจประกอบไปด้วยระบบย่อย (Subsystem) ต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน

      ระบบ (System) :

(1) สภาวะหรือสิ่งที่เกิดจากการรวมตัวกันขององค์ประกอบ (components) ที่มีความเชื่อมโยงกัน (interconnectedness) โดยมีรูปแบบ (pattern) หรือโครงสร้าง (structure) ที่ชัดเจน องค์ประกอบเหล่านี้ต่างมีหน้าที่ (function) ของตนเอง พร้อมกับมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) และการประสาน (co-ordination) การทำงานกับองค์ประกอบอื่นๆ

(2) กระบวนการ (processes) หรือระเบียบปฏิบัติ (procedure) ที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระเบียบ มีรูปแบบ (pattern) หรือโครงสร้าง (structure) ที่ชัดเจน

 

 1.1.2. ความหมายของสารสนเทศ

     สารสนเทศหรือข้อสนเทศ (Information) คือข้อมูลซึ่งได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์ หรือมีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นข้อมูลที่สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บิหารได้ (กรมสามัญศึกษา (2533,13))

      สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ที่มีความเกี่ยวข้องกันมาจัดกระทำหรือประมวลผล เพื่อให้มีความหมาย หรือมีคุณค่าเพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์การใช้           (สำนักงานการประถมแห่งชาติ (2537))

     สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ มาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ

   สารสนเทศ (Information)  หมายถึง  ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือการวิเคราะห์ด้วยวิธีการต่าง ๆ จนอยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย  สามารถนำไปใช้ประกอบ        การตัดสินใจหรือนำไปใช้ในเรื่องต่าง ๆ ได้ตามวัตถุประสงค์

        สรุป เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน แล้ว ระบบสารสนเทศ มีความหมายดังนี้

                ระบบสารสนเทศ (Information System)  หมายถึง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุด  และการจัดเก็บรักษาอย่างมีระบบสะดวกต่อการนำไปใช้  สารสนเทศที่ถูกจัดเก็บเป็นระบบจะสามารถนำไปใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจได้ในทุกระดับ

                ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) คือ กระบวนการจัดการข้อมูลให้มีสถานภาพเป็นสารสนเทศ เริ่มตั้งแต่การจัดหา การรวบรวม การประมวลผล การสืบคืน  การแสดงผล ตลอดจนการเผยแพร่ หรือถ่ายทอดสารสนเทศแก่ผู้ที่ต้องการ เพื่อให้สารสนเทศนั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การโดยกระบวนการจัดทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานนั้น

 

1.2 สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

       1.2.1  ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา เป็นการจัดการข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา  สภาพเศรษฐกิจ  การเมือง  สังคม ความต้องการของชุมชน  สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ  เช่น ปฏิทินปฏิบัติงานของสถานศึกษา  กิจกรรมประจำวันของสถานศึกษา  ระบบเอกสารที่จำเป็นในสถานศึกษา เป็นต้น  เพื่อใช้เป็นข้อมูลให้การบริหารจัดการสถานศึกษา

        1.2.2  ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน  เป็นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด  เช่น ประวัตินักเรียน  ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน จำแนกเป็นรายชั้น รายปี ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน รายงานความก้าวหน้าของผู้เรียน  รายงานความประพฤติ / พฤติกรรมผู้เรียน ผลงานของผู้เรียน เทคนิคการเรียนรู้ของผู้เรียน

        1.2.3 ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ  เป็นการจัดระบบสารสนเทศที่ช่วยในการบริหารวิชาการหลักสูตรและการเรียนการสอน  การวัดและการประเมินผลการพัฒนากิจกรรม  แนะแนวและ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  เช่น  การมีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน  บรรยากาศการเรียนการสอน  ความหลากหลายในวิธีการและการใช้เครื่องมือประเมิน   การจัดบริการแนะแนว  ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวกับขอบข่ายงานบริหารวิชาการด้วย

        1.2.4  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  สารสนเทศประเภทนี้ต้องมีการประมวลผลรวม  มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัยจึงจะมีความหมายต่อการจัดการและการบริหารงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ  ตัวอย่างสารสนเทศเพื่อการบริหาร  เช่น  งานธุรการ  การเงิน  งานบุคลากร  งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน งานพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก งานอาคารสถานที่ เป็นต้น

 

1.3 ข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำสารสนเทศ

     1.3.1 ข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

             -ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา

            -สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้าง

             การบริหารและภารกิจ

            -ศักยภาพของสถานศึกษา

            -ความต้องการของสถานศึกษา

            -แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น

            -แนวทางการจัดการศึกษา

            -การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา /

             คณะกรรมการนักเรียน

 

     1.3.2 ข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

            -ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

            -คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

            -ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน

            -รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน

           -ผลงานนักเรียน

           -การศึกษาต่อและการทำงาน

      1.3.3 ข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

          -หลักสูตรและการเรียนการสอน

          -การวัดและการประเมินผลการเรียน

          -การพัฒนากิจกรรมแนะแนว

          -การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

         -การวิจัยในชั้นเรียน

 

       1.3.4 ข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

          -สภาพและบรรยากาศการเรียนรู้

          -ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก

          -การพัฒนาบุคลากร

          -ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง

           และชุมชน

          -สารสนเทศเกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนา

               

1.4 การนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาได้ดังนี้

 

      1.4.1 นำข้อมูลไปจัดองค์การ และจัดเก็บข้อมูลแต่ละอย่างให้เป็นระบบ และมีมาตรฐานเดียวกัน ช่วยขจัดความซ้ำซ้อนและลดภาระของหน่วยงาน

       1.4.2  เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ในสามารถเรียกใช้สารสนเทศได้ตลอดเวลา

       1.4.3  ทำให้ผู้บริหารมีสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ สั่งการ และวางแผนด้านการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      1.4.4  สามารถนำเอาสารสนเทศไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ ขององค์การได้ เช่น การจัดทำรายงานประจำปี การจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์องค์การ เป็นต้น

 1.5 ตัวอย่างการจัดทำสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง  294/1 ถนนฉัตรไชย  ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง 52100

  

 

                               อ้างอิง 

สุชาดา  กีระนันทน์.   เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ : ข้อมูลใน 

           ระบบสารสนเทศ.  กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์

           มหาวิทยาลัย,  2541. 

วิชาการ,กรม. (2539).  การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของ

           สถานศึกษา.   คู่มือการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐาน

           การศึกษา.  (พิมพ์ครั้งที่ 1).  กรุงเทพฯ : คุรุสภา

          ลาดพร้าว.

“ความหมายของสารสนเทศ.”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: 

           http://www.itdestination.com/resources/tech/

          showtech.php?00001.

“สารสนเทศโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง.”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:        

           http://www.acl.ac.th/.

“การจัดการสารสนเทศ.”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:  

           http://www.acl.ac.th/.

“เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ.”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:

          http://tsl.tsu.ac.th/file.php/1/courseware/aa_2/lesson02/lesson2-1.htm

 

หมายเลขบันทึก: 300740เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท