บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ได้มีนักวิชาการได้นำเสนอบทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ไว้ดังนี้

Nadler และ Lippitt กล่าวว่านักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีบทบาท ดังต่อไปนี้

1.  เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ (Learning Specialist)  

-   เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator of Learning) ต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) การนำเสนอข้อมูลต่างๆ การใช้เทคนิคในการสอน และการประเมินผล

-   เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมในการเรียนรู้ (Designer of Learning Programs) 

-   เป็นผู้พัฒนากลยุทธ์การสอน (Developer of instructional Strategies)

2.  เป็นผู้จัดการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Manager of HRD) 

-   เป็นผู้กำกับดูแลโปรแกรมการพัฒนา (Supervisor of HRD Program)   

-   เป็นผู้พัฒนาบุคลากรด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Developer of HRD Personnel)

-   เป็นผู้จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกและด้านการเงิน (Arrange of facilitator and finance)

-   เป็นผู้รักษาความสัมพันธ์ (Maintainer of relations)

3. เป็นผู้ให้คำปรึกษา (Consultant) 

-   เป็นผู้เชี่ยวชาญ (Expert)

-   เป็นผู้ให้การสนับสนุน (Advocate)

-   เป็นผู้กระตุ้นการเรียนรู้ (Simulator)

-   เป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)

Pace กล่าวไว้ว่า นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น มีบทบาทดังนี้

1.  บทบาทด้านการวิเคราะห์ (Analytical Role) ต้องวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับคนในองค์กร เช่น

-   เป็นผู้วิเคราะห์ความต้องการ (Need Analysis) 

-   เป็นนักวิจัย (Researcher)  

-   นักประเมินผล (Evaluator)  

2.  บทบาทด้านการพัฒนา (Developer Role) เป็นรากฐานที่สำคัญในการวางแผน เช่น

-   เป็นนักออกแบบโปรแกรม (Program Designer)  

-   เป็นนักพัฒนาอุปกรณ์ (Materials Developer)  

3.  บทบาทด้านการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนา (Instrumental Role) เป็นบทบาทที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ประกอบไปด้วย

-   เป็นผู้สอนหรือผู้อำนวยความสะดวก (Instructor Role)  

-   เป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับองค์กร (Organization Change Agent) 

-   เป็นนักการตลาด (Marketer) หากจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จะต้องสร้างภาพพจน์ของงานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่พนักงานและบุคคลภายนอกเกิดการยอมรับ

4.  บทบาทด้านการประสานความต้องการ (Mediation Role) บทบาทนี้ค่อนข้างต้องเกี่ยวข้องกับผู้อื่นในองค์กร ต้องประสานความต้องการด้านการวางแผนกลยุทธ์องค์กร การวางแผนกำลังคนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยต้องมีทักษะในการแก้ปัญหา มีทักษะในการจูงใจผู้คน มีความเป็นผู้นำ และเป็นผู้ประสานงานในสถานการณ์ที่ยุ่งยากได้เป็นอย่างดี เพื่อให้การประสานความต้องการนี้ประสบความสำเร็จ ต้องประกอบด้วย

-   เป็นผู้จัดการด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Manager of HRD) มีหน้าที่ในการวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การจัดการด้านพนักงาน (Staffing) การสั่งการ (Directing) และการควบคุมงาน (Controlling)  

-   เป็นผู้แนะนำด้านอาชีพแก่บุคคล (Individual career development advisor) 

-   เป็นผู้บริหารโปรแกรม (Program Administrator)  

จากแนวคิดของนักวิชาการทั้ง 3 ท่าน ที่กล่าวถึงบทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปแล้วนั้น ผู้เขียนเองในฐานะที่ทำงานด้านนี้มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง มีความเห็นสอดคล้องกับนักคิดและหลักการดังกล่าว แต่ไม่มีบทบาทไหนที่เรียกว่า เป๊ปซี่ “ดีที่สุด” เพียงแต่คุณต้องเลือกหรือผสมผสานนำมาปรับใช้ให้เข้าและเหมาะสมกับองค์กรของคุณ

 

หมายเลขบันทึก: 300689เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์...ไปพัฒนาคนอื่น อย่าลืมพัฒนาตนเองนะจ๊ะ... นัก HR ทั้งหลาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท