ครูสมใจ
ครู ครูสมใจ ครูพณิชยการ เอื้อความดี

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลและการบันทึกบัญชี (หน่วยที่ 13)


การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลและการบันทึกบัญชี

หน่วยที่ 13 การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลและการบันทึกบัญชี

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลและการบันทึกบัญชี 

 

1. การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี 

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมีรายละเอียดดังนี้

1.1  การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีจากประมาณการกำไรสุทธิ ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร คำนวณกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามที่กล่าวในข้อ 2 จัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้คำนวณและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

ตัวอย่าง บริษัท สุนารี จำกัด ได้ประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเท่ากับ  7,000,000 บาท บริษัทจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากประมาณการกำไรสุทธิดังนี้                 

ประมาณการกำไรสุทธิทั้งรอบระยะเวลาบัญชี

 

7,000,000

บาท

กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี

 

3,500,000

บาท

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

=

3,500,000×30%

บาท

 

=

1,050,000

บาท

 ข้อสังเกต

   ถ้าบริษัท สุนารี จำกัด มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้

ภาษีเงินได้นิติบุคคล = (1,000,000×20%) + (2,000,000×25%) +(500,000×35%)  = 875,000 บาท

   ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากประมาณการกำไรสุทธินี้ให้ถือเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี คือ นำไปหักออกจากภาษีที่จะต้องเสียจากกำไรสุทธิของทั้งรอบระยะเวลาบัญชี และในกรณีที่ภาษีที่เสียจากประมาณการกำไรสุทธิสูงกว่าภาษีที่จะต้องเสียทั้งรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลก็มีสิทธิขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินได้

   การบันทึกบัญชีภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำสำเนา ภ.ง.ด. 51 และใบเสร็จรับเงินที่กรมสรรพากรออกให้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีเป็นดังนี้  เดบิต      ภาษีเงินได้จ่ายล่วงหน้า 1,050,000

เครดิต    เงินสดหรือธนาคาร     1,050,000

   เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยประมาณการกำไรสุทธิน้อยกว่าที่ควร ประมวลรัษฎากรได้มีบทบัญญัติตามมาตรา 67 ตรี ลงโทษบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในกรณีดังต่อไปนี้

1.    ไม่ยื่นรายการและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ

2.    ยื่นรายการและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิโดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำใน รอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทำดังกล่าวจะถูกลงโทษโดยต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระจากประมาณการกำไรสุทธิ หรือกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้วแต่กรณี

ตัวอย่าง บริษัท สันติ จำกัด ได้ประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2550 เท่ากับ 6,000,000 บาท บริษัทจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากประมาณการกำไรสุทธิ ดังนี้ 

ประมาณการกำไรสุทธิทั้งรอบระยะเวลาบัญชี

 

6,000,000

บาท

กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี

 

3,000,000

บาท

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

=

3,000,000×30%

บาท

 

=

900,000

บาท

เดบิต      ภาษีเงินได้นิติบุคคล                      900,000

เครดิต    เงินสด                                        900,000

จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล

 ตัวอย่าง รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 25X7 บริษัทยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิไว้ 140,000 บาท แต่กำไรสุทธิที่บริษัทยื่นรายการชำระเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 200,000 บาท

ประมาณกำไรสุทธิขาดไป (200,000 – 140,000)

60,000 บาท

กำไรสุทธิ 200,000 บาท ประมาณการกำไรสุทธิขาดไป

60,000 บาท

กำไรสุทธิ 100 บาท ประมาณการกำไรสุทธิขาดไป 60,000/200,000×100 = 30%

 

บริษัทแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไป 30% ของกำไรสุทธิจริง

 

ประมาณการกำไรสุทธิ 1 รอบระยะเวลาบัญชี

140,000 บาท

กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ

70,000 บาท

(1) คำนวณภาษี (70,000×30%)

21,000 บาท

กำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

200,000 บาท

กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิ

100,000 บาท

(2) คำนวณภาษี (100,000×30%)

30,000 บาท

บริษัทชำระภาษีขาดไป (2) – (1)

9,000 บาท

ต้องเสียภาษีเพิ่ม 20% ของภาษีที่ชำระขาด (9,000×20%)

1,800 บาท

 

1.2  การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาหกเดือน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะต้องคำนวณภาษีและชำระภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรได้แก่

1.2.1  บริษัทจดทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์

1.2.2  ธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์

1.2.3  บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

1.2.4  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรได้กำหนดตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 43)  เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร (แก้ไขเพิ่มเติมดูประกาศฯ (ฉบับที่ 49) พ.ศ. 2536 และ (ฉบับที่ 67)           พ.ศ. 2540)

ข้อสังเกต

1. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นที่ไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1) ถึงข้อ 4) จะต้องจัดทำประมาณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ และเสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิตามที่กล่าวในข้อ 1

2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อ 1 และข้อ 2 มีรอบระยะเวลาบัญชีแรกหรือรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายน้อยกว่า 12 เดือน ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

3. ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวขอเปลี่ยนรอบระยะเวลาบัญชีจากอธิบดีกรมสรรพากร และอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรอบระยะเวลาบัญชี ทำให้รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 6 เดือนหรือ 6 เดือนพอดี ก็ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี แต่ถ้าเปลี่ยนแล้วรอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 6 เดือนก็ต้องยื่นด้วย

2.     การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้คำนวณกำไรสุทธิตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรแล้ว ให้นำกำไรสุทธิดังกล่าวคูณกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จะได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระ ถ้าคำนวณกำไรสุทธิออกมาแล้วปรากฏว่าไม่มีกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ บริษัทไม่ต้องคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล กล่าวคือ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั่นเอง ซึ่งในการคำนวณกำไรสุทธิตามหลักกฎหมายภาษีอากรนั้น กิจการจะต้องปรับปรุงรายการในส่วนที่เกี่ยวกับรายได้และรายจ่าย เฉพาะรายการที่มีการบันทึกรายการตามหลักการบัญชีที่รับรอบทั่วไป ซึ่งแตกต่างไปจากที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎหมายภาษีอากร

การปรับปรุงบัญชีการเงินให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎหมายภาษีอากร สามารถแสดงได้ดังนี้

กำไรสุทธิทางบัญชีการเงิน

 

XX

บวก รายจ่ายที่ต้องห้ามหรือส่วนที่เกินเงื่อนไข

XX

 

        รายจ่ายที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดขึ้น

XX

 

        รายได้ฝ่ายทุน (Capital Gain)

XX

 

         เงินบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์

XX

 

         เงินบริจาคเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา

XX

XX

         รวม

 

XX

หัก    รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี

XX

 

          ผลขาดทุนสุทธิย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี

XX

XX

กำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเงินบริจาค

 

XX

หัก    เงินบริจาคเพื่อการกุศลฯ (2/104×กำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเงินบริจาค)

XX

 

         เงินบริจาคเพื่อการศึกษาฯ (2/104×กำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเงินบริจาค)

XX

XX

         (กรณีมีรายจ่ายเงินบริจาคประเภทเดียวจะคูณด้วย 2/102)

 

 

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

XX

ภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 30% ของกำไรสุทธิ

 

XX

ตัวอย่าง บริษัท ณัฐมน จำกัด เป็นบริษัทตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แสดงผลดำเนินงาน        รอบระยะเวลาบัญชีเริ่ม 1 มกราคม 25X8 ถึง 31 ธันวาคม 25X8 มีกำไรสุทธิ 2,000,000 บาท แต่เมื่อตรวจสอบบัญชีแล้วพบข้อผิดพลาดดังนี้

1. บริษัทได้ขายอุปกรณ์สำนักงานที่ใช้ในสำนักงานได้เงินมา 15,000 บาท รายการดังกล่าว สมุห์บัญชีไม่ได้นำมารวมคำนวณกำไรสุทธิ เพราะเห็นว่าเป็นรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการ

2. บริษัทมีกำไรและขาดทุนสุทธิตามประมวลรัษฎากรยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อนถึงระยะเวลาบัญชีปัจจุบันตามรายละเอียดดังนี้

ปี 25X0

ขาดทุนสุทธิ

500,000 บาท

ปี 25X1

ขาดทุนสุทธิ

500,000บาท

ปี 25X2

กำไรสุทธิ

200,000บาท

ปี 25X3

กำไรสุทธิ

100,000บาท

ปี 25X4

กำไรสุทธิ

300,000บาท

ปี 25X5

ขาดทุนสุทธิ

200,000บาท

1. สินค้าต้นปีส่วนหนึ่งยกมาตามราคาทุน 300,000 บาท แค่สมุห์บัญชีเห็นว่าราคาตลาดซึ่งอาจขายได้ 400,000 บาท จึงได้ใช้ราคาตลาดดังกล่าวเป็นสินค้าต้นปี 25X8 ส่วนสินค้าปลายปีส่วนหนึ่งราคาทุน 500,000 บาท ราคาตลาด 700,000 บาท จึงได้ใช้ราคาตลาดดังกล่าวเป็นสินค้าปลายปี

2.ในปี 25X8 เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว                ของปีใหม่ บริษัทต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก 100,000 บาท พร้อมเสียเบี้ยปรับ 100,000 บาท สมุห์บัญชีได้นำเงินค่าภาษีและเบี้ยปรับทั้งหมดไปเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนในปี 25X8t

3. บริษัทได้ซื้อรถยนต์นั่ง 1 คัน ราคา 1,200,000 บาท ภาษีซื้อ 84,000 บาท เมื่อ 20 ตุลาคม 25X8 โดยคิดค่าเสื่อมราคา 66,00 บาท และได้บันทึกบัญชีไว้ตอนสิ้นปี

4. บริษัทได้ซื้อเครื่องปรับอากาศ 40,000 บาท เสียค่าติดตั้ง 12,000 บาท เมื่อ 15 มีนาคม 25X6 บันทึกบัญชีไว้ดังนี้

เครื่องใช้สำนักงาน                     40,000

ค่าแรง                                   12,000

เงินสด                                   52,000

1. ในวันที่ 19 ธันวาคม 25X8 บริษัทได้ซื้อสินค้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา 5,000 ดอลลาร์ และบริษัทมิได้จ่ายชำระหนี้เมื่อวันสิ้นงวดบัญชี

(ณ วันที่ซื้อ : อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์ขาย 1 ดอลลาร์ = 45.40 บาท)

อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ 1 ดอลลาร์ = 46.60 บาท)

(ณ วันสิ้นงวด : อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์ขาย 1 ดอลลาร์ = 45.65 บาท)

อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ 1 ดอลลาร์ = 45.85 บาท)

2. บริษัทจ่ายค่าการกุศล 30,000 บาท ซึ่งเป็นการบริจาคให้

โรงพยาบาลพญาไท 2                                17,000 บาท

โรงพยาบาลศิริราช                                     13,000 บาท

โดยบริษัทได้บันทึกบัญชีไว้ดังนี้

ค่าการกุศล            30,000

เงินสด           30,000

3. บริษัทได้จ่ายค่ารับรองซึ่งมีหลักฐานถูกต้องครบถ้วน 7,000 บาท และไม่มีหลักฐาน 5,000 บาท บริษัทได้ขายสินค้าไปในปีนี้ 4,500,000 บาท บริษัทได้บันทึกค่ารับรองซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้วดังนี้

ค่ารับรอง            12,000

เงินสด               12,000

4. บริษัทชำระภาษี 6 เดือนแรก 250,000 บาท

จากรายการข้างต้น ให้คำนวณกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีในปี 25X8 และให้วิเคราะห์รายการข้างต้นว่ามีผลต่อกำไรสุทธิอย่างไร

รายการดังกล่าวต้องนำมาปรับปรุงเพื่อคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้

1. รายได้จาการขายอุปกรณ์สำนักงาน 15,000 บาท เป็นรายได้เนื่องจากกิจการ จึงต้องปรับปรุงโดยบวกเพิ่มในกำไรสุทธิ 15,000 บาท

2. ขาดทุนสุทธิที่ยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี จำนวนเงิน 600,000 บาทตามมาตรา 65 ตรี (12) ถือเป็นค่าใช้จ่าย จึงต้องปรับปรุงโดยหักออกจากกำไรสุทธิ 600,000 บาท

3. ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า และให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมาสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วยตามาตรา 65 ทวิ (6) ซึ่งบริษัทมีสินค้าต้นปียกมาราคาทุน 300,000 บาท ราคาตลาด  400,000 บาท และสินค้าปลายปีราคาทุน 500,000 บาท ราคาตลาด 700,000 บาท บริษัทได้ใช้ราคาตลาดทั้งสินค้าต้นปีและปลายปี จึงมีผลทำให้

สินค้าต้นปีราคาตลาด

400,000

บาท

สินค้าต้นปีราคาทุน

300,000

บาท

สินค้าต้นปีบันทึกบัญชีสูงไป

100,000

บาท

สินค้าต้นปีสูงไป กำไรสุทธิต่ำไป จึงต้องปรับปรุงโดยบวกเพิ่มในกำไรสุทธิ 100,000 บาท

สินค้าปลายปีราคาตลาด

700,000

บาท

สินค้าปลายปีราคาทุน

500,000

บาท

สินค้าปลายปีบันทึกสูงไป

200,000

บาท

สินค้าปลายปีสูงไป กำไรสุทธิสูงไป จึงต้องปรับปรุงโดยหักออกจากกำไรสุทธิ 200,000 บาท

1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าปรับอาญา ห้ามหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (6) และ (6ทวิ) จำนวนเงินที่หักเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้จึงต้องปรับปรุงโดยบวกเพิ่มในกำไรสุทธิ 200,000 บาท

2. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) กรณีรถยนต์นั่งจะ          หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาท และเนื่องจากรถยนต์ได้มาระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี จึงต้องเฉลี่ยเป็นวันระยะเวลาที่ได้มา

ค่าเสื่อมราคาตามประมวลรัษฎากร

1,000,000

×

20

×

73

40,000

บาท

 

 

100

365

 

 

ค่าเสื่อมราคาที่บันทึกบัญชีไว้

 

 

 

 

 

66,000

บาท

ค่าเสื่อมราคาบันทึกบัญชีสูงไป

 

 

 

 

 

26,000

บาท

ค่าเสื่อมราคาบันทึกบัญชีสูงไป กำไรสุทธิต่ำไป จึงต้องปรับปรุงโดยบวกเพิ่มในกำไรสุทธิ 26,000 บาท

1. รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) กรมสรรพากรถือตามหลักการบัญชีว่ารายจ่ายใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีให้ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนห้ามหักเป็นค่าใช้จ่าย โดยให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) บริษัทได้บันทึกค่าติดตั้งไว้ในบัญชีค่าแรงงาน ซึ่งค่าติดตั้งถือเป็นต้นทุนของเครื่องใช้สำนักงานและจะถือเป็นรายจ่ายโดยให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา

12,000

×

20

×

292

1,920

บาท

 

100

365

 

 

เพราะฉะนั้นค่าแรงบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายสูงไป จึงต้องปรับปรุงโดยบวกเพิ่มในกำไรสุทธิ 12,000 บาท และค่าเสื่อมราคาบันทึกต่ำไป

สรุปได้ว่าต้องปรับปรุงโดยบวกเพิ่มในกำไรสุทธิ 10,080 บาท

1. การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินหรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 65 ทวิ (5)

เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทย โดยคำนวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยคำนวณไว้ และคำนวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารไทยคำนวณไว้

บริษัทได้ซื้อสินค้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาและยังมิได้จ่ายชำระหนี้ เมื่อวันสิ้นงวดบัญชีจึงต้องใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย

ณ วันซื้อ (5,000×45.40)  

227,000

บาท

ณ วันสิ้นงวด (5,000×45.65)

228,250

บาท

ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

1,250

บาท

ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,250 บาท จึงต้องปรับปรุงโดยหักออกจากกำไรสุทธิ 1,250 บาท

2. การบริจาคต้องบวกกลับกำไรสุทธิก่อน 30,000 บาท แล้วหักได้ร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ โดยบริจาคให้โรงพยาบาลศิริราชเป็นเงินบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณะ 13,000 บาท

การคำนวณเงินบริจาคที่หักได้ 1,584,830×2/102 = 31}075.10 บาท แต่บริจาคจริง 13,000 บาท ดังนั้นจะหักบริจาคให้โรงพยาบาลศิริราชได้ 13,000 บาท

3. ค่ารับรองเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (4) นั้นเท่ากับ 4,500,000×.03%              =  13,500 บาท แต่ได้บันทึกค่ารับรองไว้ 12,000 บาท ซึ่งในจำนวนนี้ไม่มีหลักฐาน 5,000 บาท             ค่ารับรองที่บันทึกไว้ไม่เกินกฎกระทรวง แต่ไม่มีหลักฐาน 5,000 บาท ดังนั้นบริษัทบันทึกเป็นรายจ่ายสูงไป         จึงต้องปรับปรุงโดยบวกเพิ่มในกำไรสุทธิ 5,000 บาท

คำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กำไรสุทธิทางบัญชีการเงิน

 

 

2,000,000

บวก ขายอุปกรณ์สำนักงาน

15,000

 

 

         สินค้าต้นปีสูงไป

100,000

 

 

         ภาษีเงินได้นิติบุคคลและเบี้ยปรับ

200,000

 

 

         ค่าเสื่อมราคารถยนต์นั่งบันทึกสูงไป

26,000

 

 

         บันทึกค่าแรงงานเป็นสินทรัพย์

12,000

 

 

         ค่าการกุศล

30,000

 

 

         ค่ารับรองไม่มีหลักฐาน

5,000

 

388,000

รวม

 

 

2,388,000

หัก    ขาดทุนย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี

600,000

 

 

          สินค้าปลายปีสูงไป

200,000

 

 

          ค่าเสื่อมราคาเครื่องปรับอากาศบันทึกบัญชีต่ำไป

1,920

 

 

         ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

1,250

 

803,170

          กำไรสุทธิก่อนหักค่าการกุศลสาธารณะ

 

 

1,584,830

หัก    เงินบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณะ

 

 

 

          (2/102×1,584,830 = 31,075.10 บาท)

 

 

13,000

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

 

1,571,830

ภาษีเงินได้นิติบุคคล (1,571,830×30%)

 

 

471,549

หัก     ภาษีเงินได้นิติบุคคลชำระ 6 เดือนแรก

 

 

250,000

           ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระเพิ่ม

 

 

221,549

 

กำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษี 471,549 บาท และได้เครดิตภาษีไว้ 250,000 บาท การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล                      471,549

 ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย           221,549

ภาษีเงินได้นิติบุคคลจ่ายล่วงหน้า       250,000

*สมมุติ ทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาทจึงไม่ได้รับส่วนลดภาษี

3.     การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีจากฐานกำไรสุทธิ

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิจะต้องยื่นแบบ          แสดงรายการและชำระภาษีภายในกำหนดเวลาดังนี้

รายการ

กำหนดเวลา

แบบแสดงรายการที่ยื่น

  1. กำหนดเวลาภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

ภายใน 2 เดือน นับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

ภ.ง.ด. 51

  1. การเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

ภ.ง.ด. 50

ข้อสังเกต ตามคำสั่งกรมสรรพกรที่ ป. 62/2539 กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจต้องแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50 ภ.ง.ด. 51) พร้อมงบดุล กระดาษทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนของแต่ละกิจการตามอัตราภาษี    ร้อยละ 10 หรือร้อยละ 30 แล้วแต่กรณี เสมือนหนึ่งเป็นคนละนิติบุคคล ทั้งนี้ไม่ว่าจะได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดด้วยหรือไม่ก็ตาม

หมายเลขบันทึก: 300492เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณนะค่ะ

ขอบคุณมากๆเลยครับ

ขอบคุณครูมากค่ะ

กำลังหาข้อมูลทำรายงานอยู่พอดี

ช่วยหนูได้มากเลยค่ะ...ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณนะคร๊><

ได้ความรู้มากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะมากเลยค่ะ ยังไงก็ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลที่ให้ความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท