ครูสมใจ
ครู ครูสมใจ ครูพณิชยการ เอื้อความดี

ข้อแตกต่างระหว่างการคำนวณกำไรสุทธิตามหลักบัญชี (หน่วยที่ 11)


ข้อแตกต่างระหว่างการคำนวณกำไรสุทธิตามหลักบัญชี

หน่วยที่ 11      ข้อแตกต่างระหว่างการคำนวณกำไรสุทธิตามหลักบัญชีกับกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร   

ข้อแตกต่างระหว่างการคำนวณกำไรสุทธิตามหลักบัญชีกับกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร

1.     หลักเกณฑ์การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชี

ธุรกิจแต่ละประเภทมีลักษณะการประกอบกิจการที่แตกต่างหัน จึงจำเป็นต้องมี การกำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อการบันทึกรายได้และรายจ่ายที่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจ ดังนั้นหลักเกณฑ์ในการบันทึกรายได้และรายจ่ายซึ่งเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปมีดังนี้

1.1  เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) วิธีการบัญชีที่บันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายต่อเมื่อได้รับเงินหรือจ่ายเงินไปจริง ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึงงวดเวลาที่เกี่ยวข้องของเงินที่ได้รับมาหรือจ่ายไปนั้น (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 2538)

ตัวอย่าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด รินคำ ทำโฆษณาให้ลูกค้ารายหนึ่งเป็นเงิน 40,000 บาท ในปี 25X6 ได้ส่งบิลไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้า แต่ลูกค้าจ่ายเงินให้ในปี 25X7 ถ้ากิจการใช้เกณฑ์เงินสดในการบันทึกรายได้จะถือว่ารายได้เป็นของปี 25X7การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์เงินสดนี้นิยมปฏิบัติสำหรับกิจการให้บริการหรือการประกอบวิชาชีพอิสระ เช่น สำนักงานบัญชี ทนายความ การประกอบโรคศิลปะ แต่ไม่เป็น ที่นิยมสำหรับกิจการผลิตกรรมและการขายสินค้า

1.2  เกณฑ์สิทธิหรือเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) วิธีการบัญชีที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงวดเวลาต่าง ๆ โดยคำนึงถึงรายได้ที่พึงรับและค่าใช้จ่ายที่พึงจ่าย เพื่อให้แสดงผลการดำเนินงานของแต่ละงวดเวลานั้นอย่างเหมาะสม ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึงรายรับและรายจ่ายเป็นเงินสดว่าได้เงินมาแล้ว หรือจ่ายเงินไปแล้วหรือไม่ตามเกณฑ์เงินสด (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 2538)

ตัวอย่าง บริษัท รามิล จำกัด ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ 30,000 บาท ในปี 25X8   แต่ได้รับชำระหนี้ในปี 25X9 ถ้าใช้เกณฑ์คงค้างจะบันทึกรายได้ในปี 25X8 และถ้าบริษัท รามิล จำกัด ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ 10,000 บาท ในปี 25X8 แต่ได้จ่ายชำระหนี้ในปี 25X9 จะถือเป็นค่าใช้จ่ายในปี 25X8

การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์คงค้างเป็นการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม โดยไม่คำนึงถึงการรับเงินและจ่ายเงิน ซึ่งเกณฑ์คงค้างเป็นวิธีที่ยอมรับตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เกณฑ์คงค้างจึงเหมาะสมกับกิจการผลิตกรรมและการขายสินค้า

1.3  เกณฑ์การขายผ่อนชำระ (Installment Sale Basis) การขายสินทรัพย์ที่กำหนดให้ จ่ายชำระเป็นงวด ๆ ติดต่อกันในระยะเวลาหนึ่ง ณ ขณะขาย

วิธีการบัญชีการขายผ่อนชำระเป็นวิธีการบัญชีที่บันทึกรายได้จากการขาย ผ่อนชำระ เฉพาะกำไรขั้นต้นที่คำนวณตามส่วนของเงินสดที่ได้รับชำระจากลูกหนี้ในแต่ละปี (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 2538)

ตัวอย่าง บริษัท อัญชิสา จำกัด ขายผ่อนชำระรถยนต์ 4 ปี ราคาตามสัญญา 600,000 บาท ราคาต้นทุน 450,000 บาท ผ่อนชำระปีละเท่า ๆ กัน การคำนวณรายได้เป็นดังนี้

ขายผ่อนชำระ

600,000

บาท

หัก ต้นทุนขายผ่อนชำระ  

450,000

บาท

กำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระ  

150,000

บาท

 

อัตรากำไรขั้นต้น

150,000

× 100

= 25%

 

600,000

 

 

             

ปี

ได้รับชำระเงิน (บาท)

 

อัตรากำไรขั้นต้น (%)

 

รายได้แต่ละปี (บาท)

1

150,000

 

25

 

37,500

2

150,000

 

25

 

37,500

3

150,000

 

25

 

37,500

4

150,000

 

25

 

37,500

รวม

600,000

 

100

 

150,000

       

1.4  เกณฑ์สัญญาระยะยาว (Long-term Contract Basis) สัญญาที่จัดทำเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่มีกำหนดให้ทำเสร็จเกินกว่าหนึ่งปี คำนี้มักใช้กับข้อตกลงที่เกี่ยวกับการผลิตอุปกรณ์ใหญ่ ๆ เช่น สัญญาการผลิตเครื่องจักร การก่อสร้างอาคาร ก่อสร้างเขื่อน การให้บริการดูแลบำรุงรักษา การจัดวางรูประบบองค์กร (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 2538)

หมายเลขบันทึก: 300475เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท