การจัดการรายกรณี ER


การจัดการรายกรณี ER

  การจัดการดูแลผู้ป่วย (Case Management) ER

  กระบวนการความร่วมมือในการประเมิน วางแผน จัดการ และให้คำปรึกษา ในการเลือกหนทางรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามความต้องการที่จำเป็นอย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการสื่อสาร และการจัดการทรัพยากรที่ดี

ชื่อหน่วยงาน            งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

กลุ่มเป้าหมาย          การบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุถือเป็นภาวะเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต กลุ่มผู้บาดเจ็บที่ศีรษะที่เข้ารับการตรวจรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลขอนแก่น ที่พบมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 80 เป็นผู้ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่ามีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ เล็กน้อยหรือไม่รุนแรง (Mild head injury or cerebral concussion) โดยใช้ค่าคะแนน  กลาสโกว์ โคม่า (Glasgow coma scale) เท่ากับ 15 คะแนน และไม่สลบ

              เมื่อผู้บาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรงและญาติ รับทราบว่าต้องไปดูแลและสังเกตอาการต่อที่บ้าน มักไม่ปรารถนาจะกลับไปดูแลผู้บาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรงที่บ้าน ด้วยเหตุผลว่าไม่มั่นใจในการดูแลและสังเกตอาการความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น  แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จึงเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องหารูปแบบในการให้คำแนะนำแก่ผู้บาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรงและญาติ ให้มีประสิทธิภาพ และสามารถกลับไปดูแลตนเองที่บ้านได้ โดยเฉพาะเมื่อมีเหตุฉุกเฉินจากภาวะแทรกซ้อนและเกิดความปลอดภัย

             จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีความต้องการในการดูแลอย่างต่อเนื่องและเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งหากเกิดภาวะแทรกซ้อนและกลับมารักษาในโรงพยาบาลได้ทันเวลาจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลดลง ตลอดจนลดวันนอนในโรงพยาบาลได้อีกด้วย

ระบบบริการรักษาพยาบาลที่จะกำหนดในระบบ case management

1. ศึกษาประวัติ กลุ่มเป้าหมายผู้บาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรงที่แพทย์พิจารณาให้กลับบ้านเพื่อสังเกตอาการต่อเนื่อง ซึ่งไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือาการบาดเจ็บอื่นๆ

2. ศึกษาเรื่องสถิติ ข้อมูล การกลับมารักษาซ้ำด้วยอาการรบกวน ซึ่งไม่พบภาวะผิดปกติจากการที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บไม่รุนแรงของแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

3. ค้นคว้าคู่มือในการให้คำแนะนำ การสอน การสังเกตอาการผู้บาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรง จากหลักฐานเชิงประจักษ์ งานวิจัย ต่างๆ

4. จัดทำแนบทางการจัดการรายกรณี สำหรับผู้บาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรง  จัดทำคู่มือการสังเกตอาการภายหลังได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรง

5. จัดประชุม  แนวทางการจัดการรายกรณี สำหรับผู้บาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรง โดยสหสาขาวิชาชีพมีส่วนร่วม ในการดูแล

6. ดำเนินการประเมินภาวะสุขภาพและให้การพยาบาลตามสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย ตามรูปแบบการจัดการรายกรณี ก่อนการ จำหน่ายกลุ่มเป้าหมายจาก แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

7.  ประสานงานสถานบริการใกล้บ้าน เช่น ศูนย์แพทย์ หรือสถานีอนามัย เพื่อการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยใช้รูปแบบการส่งต่อข้อมูล

8.  ประสานงานเพื่อการติดตามเยี่ยม อาการทางโทรศัพท์ภายใน 48 ชั่วโมง โดยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็นผู้รับผิดชอบ

 

 รูปแบบการจัดการรายกรณี เป็นเรื่องที่น่าสนใจในรูปแบบการพัฒนางานที่น่าสนใจสำหรับ ER   โดยพยาบาล ER จะทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่าง ผู้ป่วย เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่า ภายใต้ระยะเวลาที่เหมาะสม

 

หมายเลขบันทึก: 300370เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท